วิธีคำนวณสมผุสลัคนา
ลัคนา คือ จุดอาทิตย์อุทัย หรือจุดที่พระอาทิตย์ขึ้นทางขอบฟ้าทิศตะวันออก ไม่ว่าดาวอาทิตย์จะสถิตอยู่ราศีอะไร มีสมผุสที่เท่าไรก็ตาม จุดที่พระอาทิตย์ขึ้น จะเคลื่อนตัวไปตามอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลก เมื่อจุดนี้เคลื่อนตัวไปตรงกับเวลาเกิดของบุคคลใดบนโลก ลัคนาของบุคคลคนนั้นจะสถิตอยู่ที่ราศีนั้น จุดอาทิตย์อุทัยตรงกับกี่องศากี่ลิบดาของราศีนั้น ลัคนาก็จะมีสมผุสองศาและลิบดาตรงกับราศีนั้น
สมมุติว่า พระอาทิตย์ขึ้นที่เวลา 06.00 น.จากทางทิศตะวันออก ตรงกับเส้นแวงที่ 105° ตะวันออก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่กำหนดเวลาอัตรา(เวลานาฬิกา)ของประเทศไทย เจ้าชะตาเกิดที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นแวง 100°30’ ลิบดาตะวันออก จุดอาทิตย์อุทัยที่เคลื่อนตัวตามอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลก จากเส้นแวง 105° ตะวันออกถึงแส้นแวงที่ 100°30’ ตะวันออก ต่างกัน 4°30’ คำนวณด้วยอัตราการหนุนรอบตัวเองของโลก 4 นาทีต่อ 1 องศา จุดอาทิตย์อุทัยต้องใช้เวลาเคลื่อนตัวอีก 18 นาที จากเส้นแวงที่ 105° ตะวันออก (จ.อุบลราชธานี) ถึงเส้นแวงที่ 100°30’ ตะวันออก (กรุงเทพมหานคร) ต้องนำ 18 นาทีไปบวกกับเวลาอัตราหรือเวลานาฬิกา จึงจะได้เวลาเกิดที่แท้จริง คือ เวลาท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร
**เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำราโหราศาสตร์ไทยทุกเล่ม ได้กำหนดให้นำส่วนต่างของเวลาอัตราหรือเวลานาฬิกา ไปลบออกจากเวลาเกิด จึงจะได้เวลาเกิดท้องถิ่น คือ เวลาของกรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่ถูกต้อง และเราคำนวณผิดพลาดมาเป็นร้อยๆปี เนื่องจากการเคลื่อนตัวของจุดอาทิตย์อุทัยตามอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลก ต้องใช้เวลา 18 นาที (4 องศา 30 ลิบดา) ต้องนำเวลา 18 นาทีไปบวกกับเวลาเกิดตามนาฬิกา จึงจะได้เวลาเกิดท้องถิ่น คือ กรุงเทพมหานคร
คนโบราณเข้าใจว่า คำนวณจากเส้นแวงที่มากกว่าไปหาเส้นแวงที่น้อยกว่า ควรต้องนำไปลบออก แต่ความเป็นจริงไม่เกี่ยวกับเส้นแวงมากหรือน้อย เกี่ยวกับการหมุนรอบตัวเองของโลก จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ต้องมีช่วงเวลาที่เพิ่มมากขึ้น จึงต้องนำไปบวก
ในปัจจุบันนี้ เรามีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพียงแต่ใส่เวลาเกิดตามเวลานาฬิกา แล้วกรอกจังหวัดที่เกิด โปรแกรมจะนำไปบวกให้เอง ก็จะได้สมผุสของลัคนาที่แท้จริงตามเวลาท้องถิ่นของกทม.
เนื่องจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆใช้ saurce เป็นเวลาอันโตนาที ซึ่งอาณาเขตของราศีจะไม่ใช่ 30 องศาหรือ 120 นาทีเป๊ะๆ ถ้าใช้การคำนวณอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลกด้วยอัตรา 4 นาทีต่อ 1 องศา การคำนวณจากจุดอาทิตย์อุทัยไปยังเวลาเกิด ถ้าคำนวณด้วยมือจะไม่ได้สมผุสลัคนาที่ตรงกัน จะแตกต่างกันเล็กน้อย ปัจจุบันเราไม่ใช้การคำนวณด้วยมืออีกต่อไป เพราะต้องเสียเวลามาก ก็ต้องเชื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ก่อนว่า สมผุสลัคนาถูกต้องทุกอย่าง

ความแตกต่างของสมผุสลัคนาระหว่างปฏิทินระบบสุริยยาตร์และปฏิทินระบบลาหิรี ก็คงยังไม่ตรงกัน และจะไม่ตรงกันตลอดไป ด้วยแนวคิดของนักโหราศาสตร์ยุคปัจจุบันที่เชื่อว่า ปฏิทินระบบสากลมีการคำนวณสมผุสของลัคนาและดาวเคราะห์ต่างๆถูกต้องกับความเป็นจริงบนท้องฟ้ามากกว่าปฏิทินระบบสุริยยาตร์ จึงได้นำปฏิทินสากลมาตัดค่าอายนางศ์ เพื่อให้ดวงอาทิตย์โคจรเข้าสู่จุดวิษุวัตตรงกับวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์ท้องฟ้า ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เม.ย.ของทุกปี บางปีจะแตกต่างกันเล็กน้อย ดวงอาทิตย์อาจจะจรเข้าสู่จุด 0 องศาของราศีเมษอาจช้าหรือเร็วก็ได้
วิธีคำนวณสมผุสลัคนา
ตัวอย่างวิธีคำนวน
เด็กเกิด วันที่ 18 ก.ค. 2547 เวลา 08.00 น. ที่กทม.
(เวลา 08.00 น. เป็นเวลานาฬิกาของประเทศไทย ซึ่งกำหนดโดยศูนย์เวลาสากล โดยใช้เขตเวลาที่เส้นแวง 105°ตะวันออก [จ.อุบล] กรุงเทพตั้งอยู่บนเส้นแวงที่ 100°30´ตะวันออก โลกต้องหมุนรอบตัวเองอีก 4° 30´ จากเส้นแวง 105° ถึง 100° 30´ เทียบอัตราโลกหมุน 4 นาทีต่อ 1 องศา = โลกต้องหมุนรอบตัวเองอีก 18 นาที [จากจ.อุบล ถึง กทม.])
นำผลต่าง 18 นาทีมาบวกกับเวลาอัตรา = เวลาท้องถิ่น ดังนี้ 00.18 + 08.00 = 08.18 น.
ผลลัพธ์ คือ เวลาเกิดท้องถิ่นของ กทม.
วันที่ 18 ก.ค.47 อาทิตย์ขึ้น 6.03 น. สมผุสอาทิตย์ = 1° 45´ ราศีกรกฎ
เวลาเกิดท้องถิ่น ลบ เวลาอาทิตย์ขึ้น 8.18 - 6.03 = 2 ช.ม.15 นาที กระจายเป็นนาที = 135 นาที
ใช้สูตร 4 องศา = 1 นาที / 135 ÷ 4 ผลลัพธ์ = 33° 45´ (ได้ผลต่างของเวลาอาทิตย์ขึ้นกับเวลาเกิด)
ณ.วันเกิด ดวงอาทิตย์สถิตราศีกรกฎ
ราศีกรกฎเริ่มต้นที่ 90° + สมผุสอาทิตย์ 1° 45´
ผลลัพธ์ = 91° 45´ + ผลต่างเวลาอาทิตย์ขึ้นกับเวลาเกิด 33° 45´
ผลลัพธ์ = 125° 30´ - เริ่มต้นราศีสิงห์ที่ 120°
ผลลัพธ์ = 5° 30´ คือ สมผุสลัคนา สถิตราศีสิงห์ นวางค์ ๖ ตรียางค์ ๑ เสวยฤกษ์ มาฆะ นักษัตรฤกษ์ที่ ๑๐ ประกอบด้วย ทลิทโท แห่งฤกษ์
คำนวณด้วยโปรแกรมระบบนิรายนะ(ลาหิรี) ลัคนาสถิตราศีสิงห์ สมผุส 3° 11´
ท่านที่ใช้แผ่นหมุนในการหาลัคนา ให้ทำดังนี้
หาดวงจักรราศีวิพากษ์ ที่กำหนด 1 ราศี = 30 องศา หรือ 120 นาที แล้วถ่ายเอกสารปรับขนาดให้เท่ากับแผ่นบนของแผ่นลัคนา ตัดออกเป็นแผ่นวงกลม นำมาปิดทับบนแผ่นลัคนาด้านบน ท่านก็จะได้แผ่นหมุนหาสมผุสลัคนา โดยใช้อัตราส่วนโลกหมุน 4 นาที ต่อ 1 องศา ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
แสดงส่วนต่างระหว่างเวลาอัตรา(เวลานาฬิกา) กับเวลาท้องถิ่นต่าง ๆ
ให้นำส่วนต่างบวกด้วยเวลานาฬิกา
เริ่มใช้ สำหรับผู้ที่เกิดตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นต้นมา
จังหวัด
|
นาที
|
จังหวัด
|
นาที
|
กรุงเทพมหานคร
กระบี่
กาญจนบุรี
กำแพงเพชร
ขอนแก่น
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ชัยภูมิ
ชุมพร
เชียงราย
เชียงใหม่
ปัตตานี
อยุธยา
พังงา
พัทลุง
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบุรี
เพชรบูรณ์
แพร่
ภูเก็ต
มหาสารคาม
แม่ฮ่องสอน
ยะลา
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
ระนอง
ตรัง
ตราด
ตาก
นครนายก
นครปฐม
นครพนม
นครราชสีมา
นครศรีธรรมราช
|
18
24
21
22
9
11
15
16
19
12
23
21
24
15
17
25
19
18
19
20
15
19
26
6
27
15
-
5
25
21
10
23
15
19
1
11
20
|
นครสวรรค์
นนทบุรี
นราธิวาส
น่าน
บุรีรัมย์
ปทุมธานี
ประจวบคีรีขันธ์
ปราจีนบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
ลำปาง
ลำพูน
เลย
ศรีสะเกษ
สกลนคร
สงขลา
สตูล
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม
สระบุรี
สระแก้ว
สิงห์บุรี
สุโขทัย
สุพรรณบุรี
สุราษฎร์ธานี
สุรินทร์
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อ่างทอง
อุดรธานี
อุตรดิตถ์
อุทัยธานี
อุบลราชธานี
|
19
18
12
16
7
17
20
14
14
20
17
22
23
13
2
3
17
19
17
18
20
16
14
18
20
19
22
6
9
-
18
9
19
19
-
|