๑๐๘ นวางค์รอบจักรวาล
ดวงจักรราศีวิภาค

ดวงจักรราศีวิภาค ได้จำลองปรากฎการณ์จริงของระบบสุริยจักรวาลเอาไว้ อันได้แก่ โลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ซึ่งถูกต้องกับความเป็นจริงบนท้องฟ้าทุกอย่าง (ถ้าไม่อยากปวดศรีษะ ขอให้ทำความเข้าใจอย่างช้าๆ ก่อนอื่นพริ้นท์ใบดวงจักรราศีวิภาคออกมาก่อน พริ้นท์เยอะๆ ขณะทำความเข้าใจ กรอกลัคน์และดาวด้วยดินสอก่อน ดวงจักรราศีวิภาค เมื่อใส่ลัคน์และดาวลงไป จะกลายเป็นดวงพิชัยสงคราม)
1ราศี = 30 องศา มี 9 นวางค์ (ช่องเล็กๆในราศี 9 ช่อง) โลกใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 120 นาที ต่อ 1 ราศี , 13 นาที 20 วินาที ต่อ 1 นวางค์ ( 1 นวางค์ = 3 องศา 20 ลิบดา) 1 รอบจักรราศี = 12 ราศี = 108 นวางค์
1 นักษัตรฤกษ์ = 4 บาทฤกษ์ ดวงจันทร์ใช้เวลาโคจร 24 ช.ม.ต่อ 1 นักษัตรฤกษ์ , ใช้เวลาโคจร 6 ช.ม.ต่อ 1 บาทฤกษ์ (1 บาทฤกษ์ = 3 องศา 20 ลิบดา นวางค์กับบาทฤกษ์มีระยะทางเท่ากัน) 1 รอบจักรราศี = 27 นักษัตรฤกษ์ 1 นักษัตรฤกษ์ = 1 ค่ำ ข้างขึ้นหรือแรม
1 จักรราศี = 360 องศา โลกใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365 วัน ต่อ 1 รอบจักรราศี , 1 เดือน ต่อ 1 ราศี (วิชาโหราศาสตร์เรียกการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เป็น การโคจรของดวงอาทิตย์ เรียกว่า สุริยวิถีหรือระวิมรรค)
1 ตรียางค์ = 10 องศา มี 3 นวางค์ 1 รอบจักรราศีมี 36 ตรียางค์ (เรื่องตรียางค์ไม่ใช่ปรากฎการณ์จริงในระบบสุริยจักรวาล แต่เป็นเรื่องของธาตุประจำราศีต่างๆ ได้แก่ ธาตุไฟ ดิน ลมและน้ำ แบ่งธาตุประจำราศีออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ราศีต้นธาตุ กลางธาตุและปลายธาตุ)
เมื่อทราบสมผุสของลัคนาและดาวทุกดวงแล้ว ให้กรอกลงไปในช่องนวางค์ตามองศาของลัคน์และดาว ดังต่อไปนี้
นวางค์ที่ 1 = 0˚00’ - 3˚20’
นวางค์ที่ 2 = 3˚21’ - 6˚40’
นวางค์ที่ 3 = 6˚41’ - 10˚00’
นวางค์ที่ 4 = 10˚01’ - 13˚20’
นวางค์ที่ 5 = 13˚21’ - 16˚40’
นวางค์ที่ 6 = 16˚41’ - 20˚00’
นวางค์ที่ 7 = 20˚01’ - 23˚20’
นวางค์ที่ 8 = 23˚21’ - 26˚40’
นวางค์ที่ 9 = 26˚41’ - 30˚00’
จะทราบได้ว่าลัคนาและดาวสถิตนวางค์บริสุทธิ์ หรือนวางค์พิษ
นวางค์พิษมี 3 ลักษณะ คือ
1..เกาะตรียางค์พิษ
2..เกาะนวางค์หัวต่อตรงกับฤกษ์นักษัตรพิษ
3..เกาะนวางค์ตรงกับฤกษ์คาบเกี่ยว 2 ราศี (หรือฤกษ์นักษัตรพิษ)
จะทราบได้ว่าลัคนาและดาวสถิตฤกษ์บริสุทธิ์ หรือ ฤกษ์นักษัตรพิษ
ฤกษ์นักษัตรพิษมี 2 ลักษณะ ได้แก่
1..ฤกษ์คาบเกี่ยว 2 ราศี หรือฤกษ์แตก
2..ฤกษ์ที่เกาะตรียางค์พิษ
นวางค์ หรือ ลูกนวางค์
|
ราศีหนึ่งๆมี 9 นวางค์ รอบจักรวาล มี 12 ราศี = มีลูกนวางค์อยู่รอบจักรวาล 108 นวางค์
นวางค์ลูกที่ 1 กำหนดตั้งแต่ดาวอังคาร เกษตรราศีเมษ ไปสิ้นสุดที่นวางค์ลูกที่ 108 ดาวพฤหัส เกษตรราศีมีน |
การแบ่งภาคของลูกนวางค์ |
ลูกนวางค์ 108 นวางค์นี้ แบ่งออกเป็น 3 ภาคๆละ 4 ราศี ดังนี้ |
ภาคที่ 1 ตั้งแต่ราศีเมษ ถึง ราศีกรกฎ มี 36 นวางค์
ภาคที่ 2 ตั้งแต่ราศีสิงห์ ถึง ราศีพิจิก มี 36 นวางค์
ภาคที่ 3 ตั้งแต่ราศีธนู ถึง ราศีมีน มี 36 นวางค์ |
การกำหนดภาคของฤดูกาลของลูกนวางค์ |
ภาคที่ 1 เป็นลูกนวางค์ทางเดินของ โคณวิถี ตั้งแต่ฤกษ์ที่ 1 ถึง 9
ภาคที่ 2 เป็นลูกนวางค์ทางเดินของ นาควิถี ตั้งแต่ฤกษ์ที่ 10 ถึง 18
ภาคที่ 3 เป็นลูกนวางค์ทางเดินของ อัชชะวิถี ตั้งแต่ฤกษ์ที่ 19 ถึง 27 |
กฎไตรวิถี
|
กฎเกณฑ์ลูกนวางค์ให้โทษให้คุณ |
โทษของลูกนวางค์
กฎที่ 1 ลูกนวางค์ขาด
กฎที่ 2 ลูกนวางค์เกี่ยว 2 ราศี
กฎที่ 3 ลูกนวางค์เกาะเกี่ยวตรียางค์พิษ |
กฎที่ 1 นวางค์ขาด |
ก. นวางค์ลูกที่ 1 ในราศีเมษ สิงห์ ธนู ได้แก่ ดาวอังคาร เรียกว่า ปฐมนวางค์ คือ อยู่ในช่วงระหว่าง 2 ราศี คาบเกี่ยวกัน มีชื่อว่า พยกริขัง เป็นลูกนวางค์ที่ให้โทษ
1..เจ็บป่วย สังขารไม่สมบูรณ์
2..มีครอบครัว มักจะไม่ค่อยเป็นปกติสุข
3..มียศ ตำแหน่ง หน้าที่การงาน จะต้องถูกผู้อื่นแย่งเอาไป (อย่าทายอุบัติเหตุอย่างตรียางค์พิษ) |
ข. นวางค์ลูกที่ 9 ในราศีกรกฎ พิจิก มีน ได้แก่ดาวพฤหัส เรียกว่า นวนวางค์ กำหนดอย่างเดียวกับข้อ ก. กฎเกณฑ์ของลูกนวางค์นี้ แม้จะอยู่ในภพที่เด่นก็จะทรุดลง คือ เด่นไม่ตลอด หรือ เด่นไม่สูงนัก แต่ไม่เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต คือ |
๑ กุมลัคน์ |
การดำเนินชีวิตมักมีอุปสรรค จะไม่ค่อยราบรื่นต่อกัน หรือพึ่งพาญาติพี่น้องไม่ได้ตลอด |
๒ เป็นบริวาร |
วงศ์วารญาติพี่น้อง จะไม่ค่อยราบรื่นต่อกัน หรือจะพึ่งญาติพี่น้องไม่ได้ตลอด |
๓ เป็นอายุ |
สังขารจะไม่ค่อยแข็งแรง หรือมักมีโรคภัยเบียดเบียน |
๔ เป็นเดช |
อำนาจ หรือยศ ตำแหน่งหน้าที่จะเสื่อมลง |
๕ เป็นศรี |
การเงินมักขลุกขลัก หรือวุ่นวายการเงิน |
๖ เป็นมูละ |
ที่อยู่อาศัย หรือหน้าที่การงานไม่ค่อยราบรื่น |
๗ เป็นอุตสาหะ |
การศึกษา หรือความพยายามไม่ค่อยเต็มผล |
๘ เป็นมนตรี |
ไร้ที่พึ่งผู้อุปการะ หรือมีผู้อุปการะอยู่ไม่นาน |
๙ เป็นกาลกิณี |
เดือดร้อนอยู่เป็นนิจ หาเลี้ยงชีพไม่พอกิน มักเร่ร่อน |
ในคัมภีร์ทักษาสังคหะปกรณ์ กล่าวยืนยันไว้ ดังนี้ |
๑ บริวาร กุมลัคน์ |
มีพี่น้องพงษามาก และเป็นที่พึ่ง |
๒ อายุ กุมลัคน์ |
มักขี้โรค ร่างกายอ่อนแอ |
๓ เดช กุมลัคน์ |
มียศ ตำแหน่งหน้าสูง มีอำนาจ |
๔ ศรี กุมลัคน์ |
สมบูรณ์ด้วยโภคาทรัพย์ เงินทองสมบูรณ์ |
๕ มูละ กุมลัคน์ |
มีมรดก และหลักฐานดี |
๖ อุตสาหะ กุมลัคน์
....................... |
เป็นคนขยันในการประกอบอาชีพ |
๗ มนตรี กุมลัคน์ |
มีวาสนา มีผู้อุปถัมภ์ช่วยเหลือ |
๘ กาลกิณี กุมลัคน์ |
อาภัพ ทำการใดไม่ปรากฎผลดี |
นี่เป็นปกรณ์หนึ่งในคัมภีร์ทักษา แต่ถ้าพระเคราะห์ทักษาเป็นดาววิบัติก็จะเปลี่ยนแปลงไป เช่น ดาวบริวารกุมลัคน์ แต่ถ้าเป็นลูกนวางค์ขาด ก็พึ่งญาติพี่น้องไม่ได้ หรือถ้าเป็นตรียางค์ลูกพิษ พี่น้องกลับจะก่อความหายนะให้แก่ตน ดาวศรีกุมลัคน์ ก็เช่นเดียวกัน ทรัพย์สินก็ไม่ค่อยราบรื่น |
กฎที่ ๒ นวางค์เกี่ยว ๒ ราศี |
นวางค์เกี่ยว ๒ ราศี แบ่งเป็น ๓ ภาค คือ
ภาคที่ ๑ ระหว่างราศีเมษ กับ พฤษภ เกาะโจโรฤกษ์............หมวดที่ ๑
ระหว่างราศีพฤษภ กับ มิถุน เกาะเทศาตรีฤกษ์.......หมวดที่ ๑
ระหว่างราศีมิถุน กับ กรกฎ เกาะเพชฌฆาต...........หมวดที่ ๑
ภาคที่ ๒ ระหว่างราศีสิงห์ กับ กันย์ เกาะโจโรฤกษ์.............หมวดที่ ๒
ระหว่างราศีกันย์ กับ ตุลย์ เกาะเทศาตรีฤกษ์.......หมวดที่ ๒
ระหว่างราศีตุลย์ กับ พิจิก เกาะเพชฌฆาตฤกษ์...หมวดที่ ๒
ภาคที่ ๓ ระหว่างราศีธนู กับ มังกร เกาะโจโรฤกษ์.............หมวดที่ ๓
ระหว่างราศีมังกร กับ กุมภ์ เกาะเทศาตรีฤกษ์........หมวดที่ ๓
ระหว่างราศีกุมภ์ กับ มีน เกาะเพชฌฆาตฤกษ์....หมวดที่ ๓ |
นวางค์คาบเกี่ยว ๒ ราศีนี้
..................
|
โหรทั่วไปเรียกว่า...นวางค์ขาด ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด จึงได้เรียกกันผิดๆ ที่ถูกเรียกว่า "นวางค์ภินทุบาทว์" คือ นวางค์ให้โทษ เพราะเกาะฤกษ์ภินทุบาทว์ใน ๓ ฤกษ์ คือ โจโร เทศาตรี เพชฌฆาต และภินทฤกษ์ทั้ง ๓ นี้มิใช่จะให้โทษเสมอไป ก็มีส่วนดีให้คุณแก่พื้นชะตาให้เด่นรุ่งเรืองได้ เช่น |
โจโรฤกษ์ |
เป็นจอมทัพ ปราบปรามเหล่าทุจริต หรือปราบโจร |
เทศาตรีฤกษ์ |
เป็นสายลับ กองสอดแนม สืบเสาะหาซ่องโสณทุจริต |
เพชฌฆาตฤกษ์ |
เป็นฝ่ายปกครอง คุมกองทัพ บุกทลาย เข่นฆ่าเหล่าไพรี |
กฎที่ ๓ นวางค์เกี่ยวตรียางค์พิษ |
ท่านกำหนดให้ใช้ดาวเคราะห์ในนวางค์ที่ ๒ ของตรียางค์เป็นเกณฑ์ให้โทษ |
กฎที่ ๑ นวางค์ขาด |
ทาย....เอกโทษ |
กฎที่ ๒ นวางค์เกี่ยว ๒ราศี |
ทาย....ทุวันโทษ |
กฎที่ ๓ นวางค์เกี่ยวตรียางค์ลูกพิษ |
ทาย....ตรีโทษ |
พิจารณาทายลูกนวางค์ |
ลัคน์เกาะนวางค์ลูกใด ก็ให้เอานวางค์ลูกนั้นมาประกอบทายชะตา แต่อย่าได้กำหนดเอาเป็นดาวเจ้าการ ส่วนดาวเจ้าการนั้นให้กำหนดเอาตนุลัคน์ และอย่าเอาดาวลูกนวางค์ทายนิสัย พฤติกรรม กำหนดเอาดาวลูกนวางค์นั้นๆให้คุณหรือเสื่อมเท่านั้น แต่เมื่อลูกนวางค์อยู่ใน ๓ กฎนี้ก็ทายได้ว่า...เป็นลูกนวางค์เสื่อม ถึงจะดีก็ดีอย่างตุปัดตุเป๋ เพราะเป็นลูกนวางค์ที่อ่อนกำลัง เปรียบเสมือนคนแขนขาชา |
หลักการทายกฎที่ ๑ |
ลูกนวางค์ดาว ๑ |
ไม่มีภูมิวิทยาการใดๆ ถึงแม่จะมีก็ไม่เด่น ไม่มีเกียรติภูมิ |
ถ้ากุมลัคน์มักจะขี้เท่อ |
ลูกนวางค์ดาว ๒ |
ไร้ผู้อุปการะที่ดี หาความสุขสบายมิได้ |
ถ้ากุมลัคน์อับเฉาเศร้าโศรก |
ลูกนวางค์ดาว ๓ |
ทำการใดมิเป็นผลดี ท้อแท้และอ่อนแอ |
ถ้ากุมลัคน์เกียจคร้าน หรือทำงานไม่แน่นอน |
ลูกนวางค์ดาว ๔ |
การพูดจาไร้คนเชื่อถือ |
ถ้ากุมลัคน์มักพูดเพ้อเจ้อ |
ลูกนวางค์ดาว ๕ |
คิดการใดขาดๆเป็นห้วงๆ ไม่มีใครไว้วางใจ และมักจะเผลอเรอ |
ถ้ากุมลัคน์สติ ปัญญา ความคิดผิดเรื่อง |
ลูกนวางค์ดาว ๖ |
ไร้ศิลปวิทยาการใดๆ ใจบกพร่อง |
ถ้ากุมลัคน์อาภัพ |
ลูกนวางค์ดาว ๗
.................. |
กรรมกรชั้นต่ำ สัปเหร่อ
............................................... |
ถ้ากุมลัคน์ต้องนอนศาลาวัด |
หมายเหตุ ในกรณีลัคน์เกาะลูกนวางค์ดาว ๗ เป็นนวางค์เสื่อมด้วยกฎใดๆก็ดี พิจารณาว่า...ในวัยต้นถึงกึ่งหนึ่งของวัยกลางเสื่อม |
ดาว ๗ ไปเกาะ เป็นวรโคตรนวางค์ พิจารณาว่า...กึ่งหลังของวัยกลางและวัยปลายเข้มแข็ง วิชาการ กิจการ ความคิดประเสริฐ มักจะได้เป็นใหญ่ในสายงานของตน กุมลัคน์เกียรติเด่น
ในกรณีดาวอื่นๆ ก็ให้พิจารณาแบบเดียวกัน |
ลูกนวางค์ดาว ๘ |
ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารแก่ตน |
ถ้ากุมลัคน์คนเจนตะราง ขี้คุก |
หลักการทายกฎที่ ๒ |
ลูกนวางค์เป็นบริวาร |
มีญาติพี่น้องมักไม่ปรองดองกัน |
ลูกนวางค์เป็นอายุ |
ความนึกคิดและสุขภาพไม่ผ่องใส |
ลูกนวางค์เป็นเดช |
ยศและตำแหน่งหน้าที่ไม่สูง |
ลูกนวางค์เป็นศรี |
มีทรัพย์สินเงินทองกระพร่องกระแพร่ง |
ลูกนวางค์เป็นมูละ |
ที่อยู่อาศัยไม่ราบรื่น |
ลูกนวางค์เป็นอุตสาหะ |
ทำการใดสำเร็จครึ่งๆกลางๆ |
ลูกนวางค์เป็นมนตรี |
คู่ครองและครอบครัวไม่มีความสุข |
ลูกนวางค์เป็นกาลกิณี |
มีทุกข์นิรันดร์ วิถีชีวิตอลเวง |
หลักการทายกฎที่ ๓
|
ลูกนวางค์เป็นเกษตร
|
ความมั่นคงในหลักทรัพย์,อาชีพไม่มั่นคง |
ลูกนวางค์เป็นมหาอุจ
|
ความแข็งแกร่งในกิจการงานและหน้าที่ไม่มั่นคง |
ลูกนวางค์เป็นมหาจักรมหาจักร......................... .....
|
ความคล่องแคล่ว ความสง่าไม่มี |
ลูกนวางค์เป็นราชาโชค
|
วาสนา ผู้อุปถัมภ์ช่วยเหลือไม่มั่นคง |
ลูกนวางค์เป็นประ
|
วิถีชีวิตแปรปรวน ผันผวน |
ลูกนวางค์เป็นนิจ
|
เสื่อมผล อับเฉา |
หลักการทายกฎที่ ๔ |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๒ |
มีทรัพย์สินเงินทองไม่สมบูรณ์ เศรษฐีกลับยากจน |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๓ |
ไม่มีเพื่อนสนิท มีมิตรพึ่งไม่ได้ ไร้ผู้ช่วยเหลือ |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๔ |
มีพี่น้องวงศ์วารไม่เป็นถูกใจกัน แตกแยก |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๕ |
มีบุตร คู่ครอง ไม่เป็นที่สุขใจ |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๖ |
มีภัย มีคนรังเกลียดมาก ทั้งคนไกลคนใกล้ |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๗ |
การติดต่อธุรกิจการต่างๆ ความสัมพันธ์ ข้อตกลง สับปลับ |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๘ |
จะประสบเคราะห์กรรม |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๙ |
ครอบครัว วงศ์ตระกูล วาสนา ไม่ถาวร |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๑๐ |
ผลกิจการต่างๆ ไม่เป็นผลดี เจริญไม่ตลอด |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๑๑ |
ผลรายได้ไม่น่าชื่นชม |
ลูกนวางค์สถิตภพที่ ๑๒ |
เกณฑ์กาลทัณฑ์ จะประสบความยุ่วยาก หายนะ |
หลักการทายกฎที่ ๕ |
ลูกนวางค์เป็นโยค ทำมุม ๖๐ º |
ไม่เด่นรุ่งโรจน์นัก เป็นไปอย่างพื้นๆ |
ลูกนวางค์เป็นจตุโกณ ทำมุม ๙๐ º |
ผลงานไม่ได้ดี เป็นไปอย่างพื้นๆ |
ลูกนวางค์เป็นตรีโกณ ทำมุม ๑๒๐ º |
สภาพความเป็นอยู่ไม่มีความสุข วิถีชีวิตเป็นไปอย่างพื้น |
นวางค์ที่ให้คุณก็ส่งผล
|
กฎที่ ๑ ลัคน์เกาะวรโคตรนวางค์ |
กฎที่ ๒ ลัคน์เกาะบูรณะนวางค์ |
กฎที่ ๓ ลัคน์เกาะนวางค์พิสุทธิฤกษ์ |
ราศีหนึ่งๆกำหนดนวางค์ไว้ ๙ ลูก
|
นวางค์ลูกที่ ๑ |
เรียกว่า...ปฐมนวางค์ |
นวางค์ลูกที่ ๒ |
เรียกว่า...ทุติยะนวางค์ |
นวางค์ลูกที่ ๓ |
เรียกว่า...ตติยะนวางค์ |
นวางค์ลูกที่ ๔ |
เรียกว่า...จตุตถะนวางค์ |
นวางค์ลูกที่ ๕ |
เรียกว่า...ปัญจมะนวางค์ |
นวางค์ลูกที่ ๖ |
เรียกว่า...ฉฎฐะนวางค์ |
นวางค์ลูกที่ ๗ |
เรียกว่า...สัตตมะนวางค์ |
นวางค์ลูกที่ ๘ |
เรียกว่า...อัฎฐะนวางค์ |
นวางค์ลูกที่ ๙ |
เรียกว่า...นวะนวางค์ |