ReadyPlanet.com
dot dot
bulletHorasaadRevision.com
dot
ห้องโหรแว่นทิพย์
dot
bulletWelcome to foreigners
bulletกำเนิดจักรราศี*
bulletประวัติของวิชาโหราศาสตร์*
bulletวิชาโหราศาสตร์ไทยเบื้องต้น*
bulletกฎเกณฑ์วิชาโหราศาสตร์ไทย*
bulletอันโตนาที*
bulletอายนางศ์*
bulletวิธีคำนวนสมผุสลัคนา*
bulletนัยยะแห่งเรือนราศี*
bulletนัยยะแห่งเรือนชะตา*
bulletนัยยะแห่งดวงดาว*
bulletนัยยะแห่งตำแหน่งดาว*
bulletทิศาพยากรณ์*
bulletโรคาพยากรณ์*
bulletทักษาพยากรณ์*
bullet๑๐๘นวางค์รอบจักรวาล*
bulletวรโคตรนวางค์*
bulletตรียางค์พิษ*
bulletโหรปัตนิและดาวพระศุกร์*
bulletนานาปกรณ์เกี่ยวกับฤกษ์*
bulletเกร็ดโหราศาสตร์*
bulletเคล็ดวิชาต่างๆ*
bulletการทำนายฝันและเคล็ดลับการแก้ฝัน*
bulletพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา*
bulletพระคาถาชินบัญชร*
dot
โหราศาสตร์ไทย ฉบับหอมรดกไทย
dot
bulletตำนานดาวพระเคราะห์
bulletการแบ่งจักรราศี
bulletตำรามหาทักษา
bulletคัมภีร์กาลโยค
bulletลัคนากับดวงชะตา
bulletมาตรฐานดาวเคราะห์
dot
หน้าแบบฟอร์มต่างๆของเว็บไซด์
dot
bulletแบบฟอร์มตั้งชื่อ-นามสกุล
bulletแบบฟอร์มฤกษ์พิธีมงคลต่างๆ
bulletแบบฟอร์มฤกษ์คลอดบุตร
bulletแบบฟอร์มฤกษ์มงคลสมรส
bulletแบบฟอร์มฤกษ์เปลี่ยนชื่อ
bulletแบบฟอร์มห้องเรียนโหร
bulletสมุดเยี่ยม
dot
เกร็ดพยากรณ์..เพื่อความบันเทิง
dot
bulletนิสัยสาว 12 ราศี
bulletทายนิสัยจากเดือนเกิด
bulletจุดร้อนตามราศี
bulletความรักตามวันเกิด
bulletทายนิสัยจากการใส่แหวน
bulletผลไม้ทายนิสัย
bulletความรักตามกรุ๊ปเลือด
bulletอ่านใจหนุ่ม 12 ราศี
bulletผู้ชายเพอร์เฟค
bulletน้ำหอมกับราศี
bulletวิธีมัดใจหนุ่ม-สาวราศีต่างๆ
bulletพยากรณ์ ช-ญ ตามวันเกิด
bulletวันเกิดบอกนิสัยเนื้อคู่ ช-ญ
bulletทำนายเซ็กส์กับราศี
bulletความลับบนเตียง 12 ราศี
bulletเคล็ดลับดูไฝบนกายสาว
bulletทำนายผู้เกิดใน 12 นักษัตร
bulletคู่แต่ง คู่รัก คู่ขา?
bulletทายนิสัยคนใกล้ตัว 17 เรื่อง
bulletดวงของผู้หญิงตามวันเกิด
bulletดู ตัวตน,ชอบ,ยี้ หนุ่มสาว
bulletต้นไม้มงคลกับราศีเกิด
dot
เว็บวาไรตี้ยอดนิยม
dot
bulletwww.sanook.com
bulletwww.kapook.com
bulletwww.mthai.com
bulletwww.ragnarog.in.th
bulletwww.hunsa.com
bulletwww.teenee.com
bulletwww.365jukebox.com
bulletwww.dek-d.com
bulletwww.zuzaa.com
bulletwww.wanjai.com
bulletwww.narak.com
bulletwww.jorjae.com
bulletwww.aromdee.com
bulletwww.deedeejang.com
bulletwww.funwhan.com
bulletwww.saranair.com
bulletwww.madoo.com
dot
หนังสือพิมพ์ไทย-เทศ
dot
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletข่าวสด
bulletคม ชัด ลึก
bulletฐานเศรษฐกิจ
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletไทยโพสท์
bulletแนวหน้า
bulletประชาชาติธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
bulletมติชน
bulletโพสท์ทูเดย์
bulletสยามธุรกิจ
bulletสยามกีฬา
bulletสยามรัฐ
bulletBangkok Post
bulletThe Nation
bulletVoice of America
bulletBBC Thai
dot
Foreign newspaper
dot
bulletNew Straits Time MY
bulletThe Straits Time SG
bulletVientiane Times LAOS
bulletNew Light of Myanmar
bulletThe Daily Tribune PH
bulletThe Manila Times PH
bulletThe Jakarta Post
bulletS. China Morning Post
bulletChina Daily CN
bulletTaipei Times TW
bulletYomiuri Shimbun JP
bulletThe Asahi Shimbun JP
bulletThe times of India
bulletAl Jazeera
bulletThe Guardian UK
bulletThe Times UK
bulletBBC News UK
bulletLe Monde FR
bulletDie Welt DE
bulletLa Nacion Line AR
bulletThe New York Time
bullet USA today
bulletThe Washington Post
bulletThe wall street Journal
bulletOnline Newspaper Di.tory
dot
ธนาคารต่างๆ
dot
bulletธ.กรุงเทพ
bulletธ.กรุงไทย
bulletธ.กรุงไทย ชาริอะฮ์
bulletธ.กรุงศรีอยุธยา
bulletธ.กสิกรไทย
bulletธ.ซิติ้แบงค์
bulletธ.ดีบีเอส ไทยทนุ
bulletธ.ทหารไทย
bulletธ.ธนชาต
bulletธ.นครหลวงไทย
bulletธ.ยูโอบี รัตนสิน
bulletธ.สแตนดาร์ด ช. นครธน
bulletธ.อิสลามแห่งประเทศไทย
bulletธ.เอเซีย
bulletธ.ไทยธนาคาร
bulletธ.ไทยพาณิชย์
bulletพระคาถาชินบัญชร*
bulletพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา*


เชิญค่ะ


 ดูหนังสือ สอบถาม
 สั่งซื้อ

eXTReMe Tracker

 ชาติ                                           

นานาทรรศนะ 
เสนอร่างรัฐธรรมนูญ
ปกิณกะ
เหตุการณ์ในอดีต 
เรื่องของไทยในอดีต 
เรื่องของชนชาติไทย
ภูมิศาสตร์ของไทย 
ก่อนสมัยสุโขทัย 
กรุงสุโขทัย
กรุงศรีอยุธยา
กรุงเทพมหานคร
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
อุทยานประวัติศาสตร์
เมืองเก่าของไทย
ทำเนียบหัวเมือง
การทหารของไทย
ธงชัยเฉลิมพล
ทหารรักษาพระองค์
ทหารอาสาต่างชาติ 
รู้เรื่องเมืองสยาม 
ประเทศเพื่อนบ้านของไทย()
ความสัมพันธ์ไทย-อเมริกัน 
เหตุการณ์ปี ร.ศ.๑๑๒
เหตุการณ์ปี ๒๔๗๕
กรณีพิพาทอินโดจีน
การรบที่กาะช้าง
สงครามมหาเอเซียบูรพา
สงครามเกาหลี 
สงครามเวียตนาม 
กรณีปราสาทพระวิหาร
กรณีโรฮิงยา
ความไม่สงบชายแดนภาคใต้
อนุสาวรีย์วีรชน 
สารานุกรมฉบับย่อ()
ตัวหนังสือไทย
เรียนหนังสือไทยสมัยก่อน 
รามเกียรติ์ 
ขุนช้าง ขุนแผน
พระอภัยมณี
นิราศ
กาพย์เห่เรือ
สุภาษิตไทย
ธรรมเนียมประเพณีไทย 
โหราศาสตร์ไทย 
เพลงไทยให้สาระ
เงินตราไทย
เครื่องดนตรีไทย
หมากรุกไทย
มวยไทย
สมุนไพรไทย
พันธุ์ไม้ดอกไทย
นกในประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติ
 
ทางบก
 ทางทะเล
เที่ยวทั่วไทย 
เที่ยวไปชมไป

 ศาสนา                                     

การบริหารคณะสงฆ์
การศึกษาพระปริยัติธรรม
กฎหมายพระสงฆ์ของไทย
สมเด็จพระสังฆราช
ทำเนียบสมณศักดิ์
พัดยศสมณศักดิ์
คณะสงฆ์จีนนิกาย
คณะสงฆ์อนัมนิกาย
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปประจำวัน
พระธาตุเจดีย์
พระพุทธบาท
พระแท่น
พระไตรปิฎก
การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
การบัญญัติพระวินัย
โสพัสปัญหา
พุทธประวัติ
พระอสีติมหาสาวก
พุทธศาสนสุภาษิต
พุทธานุวัตร
วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนพิธี
พระป่าและวัดป่า
พุทธศาสนาในปัจจุบัน
ภัยแห่งพุทธศาสนา
ศาสนาต่างๆในไทย)

  พระมหากษัตริย์                      

พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย
พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
พระมหากษัตริย์สมัยธนบุรี
พระบรมราชจักรีวงศ์
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล
พระราชลัญจกร
เครื่องราชกกุธภัณฑ์
ธงในองค์พระมหากษัตริย์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
น้ำอภิเษก
พระราชพิธีสิบสองเดือน
พระราชานุกิจ
จอมทัพไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เหรียญอันเนื่องจากการรบ
พระบรมมหาราชวัง
ประชุมพงศาวดาร
ราชการสงครามฯ
งานกู้ชาติฯ
ประชุมพระราชปุจฉา
พระราชหัตถเลขา ใน ร.๔
พระบรมราโชบายฯ ร.๕
พระราชดำรัส ใน ร.๕
พระราชนิพนธ์ ใน ร.๖
ร.๖ กับการป้องกันประเทศ
พระราชดำริใน ร.๗
พระบรมราโชวาท

 มุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทย์และเทคโน
ศูนย์เทคโนอีเลคทรอนิกส์และคอมแห่งชาติ
เว็บการเรียนรู้วิทย์และเทคโนร.ร.ในชนบท
ดาราศาสตร์สำหรับคนไทย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ
แหล่งความรู้วิศวโยธา,เครื่องกลและขนส่ง
โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ[lesa]
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนแห่งไทย
องค์การพิพธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดูดาวดอทคอม
รวมบทความด้านวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
นิยายวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์น่ารู้

 

 มุมศาสนาต่างๆ                      

สำนักข่าวชาวพุทธ
มุสลิมไทยไซเบอร์เน็ต
หนังสือธรรมะออนไลน์
ธรรมะไทย
มุสลิมแคมปัสดอทคอม
โบสถ์คริสเตียนไทยอเมริกา
กัลยาณมิตร
เสขิยธรรม
มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
หลวงตามหาบัว
พุทธทาสศึกษา
พระรัตนตรัย
เครือข่ายสาระธรรมอิสลาม
มูลนิธิศุภนิมิตไทย
พระคริสตธรรมไทย

 10 อันดับเว็บข้อมูล อ้างอิง        

 www.google.co.th สุดยอดเว็บในการหาข้อมูล
 
www.glo.or.th สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
 
www.siamguru.com บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ
 
www.truehits.net เว็บแสดงสถิติการเยี่ยมชม
 
lexitron.nectec.or.th ดิกชันนารีออนไลน์
 
www.yellowpages.co.th สมุดหน้าเหลืองออนไลน์
 
www.police.go.th สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 
phonebook.tot.or.th ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์
 
www.trainingthai.com ข่าว,ข้อมูลการฝึกอบรมสัมมนาต่างๆ
 
www.khonthai.com แหล่งข้อมูลด้านทะเบียนราษฎร์ต่างๆ



กำเนิดจักรราศี*

   กำเนิดจักรราศี


 


จักรวาล ถ้าเราแหงนหน้าขึ้นมองดูบนท้องฟ้า จะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายรูปครึ่งวงกลมครอบตัวเราอยู่ ท้องฟ้าที่เรามองเห็นอยู่นี้ เรียกว่า ท้องฟ้าเบื้องบน ใต้เราลงไปยังมีท้องฟ้าอีกครึ่งหนึ่งที่เรามองไม่เห็น เรียกว่า ท้องฟ้าเบื้องล่าง ทั้งสองประกบกันเป็นลูกทรงกลมที่ใหญ่มหึมา มีปริมณฑลกว้างใหญ่ไพศาลโดยไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า จักรวาล และตัวเราสมมุติว่า อยู่ที่จุดศูนย์กลางของลูกทรงกลมนี้ตลอดเวลา เมื่อทรรศนะในท้องฟ้ามีความกว้างไกลโดยไม่มีที่สิ้นสุด ทางดาราศาสตร์ จึงได้แบ่งท้องฟ้าออกเป็นส่วนๆ เรียกส่วนหนึ่งๆ นั้นว่า เอกภพ
เอกภพ หมายถึง การรวมเอากลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ เข้าเป็นดาราจักร แต่ละดาราจักรต่างก็มีดาวฤกษ์รวมกันอยู่มากกว่าแสนล้านดวง

นอกจากจำนวนดาวฤกษ์ดังกล่าวแล้ว มวลสารและเทหวัตถุอื่นๆทุกชนิด ที่อยู่ในดาราจักรของดาวฤกษ์เหล่านี้ นับเป็นวัตถุในเอกภพเดียวกันทั้งสิ้น เฉพาะในเอกภพของเรานี้ ดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวฤกษ์ดวงเล็กๆดวงหนึ่ง ในจำนวนดาวฤกษ์กว่าแสนล้านดวง จำนวนเอกภพเชื่อกันว่าไม่มีที่สิ้นสุด และอยู่เรียงรายสลับซับซ้อนกันไป จนไม่สามารถที่จะบอกความแน่นอนอะไรได้ ทั้งๆที่โลกเราได้พัฒนาก้าวไกลในทางวิทยาศาสตร์ จนถึงยุควิทยาศาสตร์แห่งพลังงานเหนือธรรมชาติแล้วก็ตาม

ทางช้างเผือก เป็นสัญญลักษณ์ที่สำคัญของเอกภพของเรา ในขณะเดือนมืดไม่เห็นแสงจันทร์ ถ้าท้องฟ้าโปร่ง จะเห็นวงแสงสีขาวเป็นรูปโค้งใหญ่คาดอยู่บนท้องฟ้า วงแสงมหึมาบนท้องฟ้าเรียกว่า ทางช้างเผือก เป็นแถบของแสงสว่างคาดอยู่บนท้องฟ้า เป็นวงกลมจากทางทิศเหนือไปทางทิศใต้ มีความกว้างและความสว่างของแสงไม่เท่ากันตลอด แสงต่างๆเกิดจากดาวที่มีแสงน้อย แต่มีจำนวนมากมายหลายพันล้านดวง แถบนี้มีความกว้างคิดเป็นระยะเชิงมุมตั้งแต่ 5 องศา ถึง 50 องศา โดยเฉลี่ยประมาณ 20 องศา
เส้นผ่าศูนย์กลางของทางช้างเผือก ถือว่าเป็นเส้นศูนย์สูตรของเอกภพ ซึ่งทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรโลกประมาณ 62 องศา และขั้วเหนือขั้วใต้ของเอกภพ ก็จะมีการเอียงไปทางเหนือและไปทางใต้ จากเส้นศูนย์สูตรประมาณ 28 องศา บริเวณที่มองเห็นทางช้างเผือกได้ชัดเจนที่สุด คือ บริเวณราศีธนู จากการศึกษาเรื่องทางช้างเผือกนี้ ช่วยให้เราได้รู้จักโครงสร้างของเอกภพดียิ่งขึ้น
สุริยจักรวาล ดวงอาทิตย์ของเราเป็นดาวฤกษ์ดวงเล็กๆดวงหนึ่งในเอกภพ สุริยจักรวาล หมายถึง อาณาเขตโดยเฉพาะของดวงอาทิตย์ ซึ่งในดาราจักรน้อยๆนี้ มีดวงอาทิตย์เป็นประธานอยู่ท่ามกลาง มีดาวเคราะห์ต่างๆรวมทั้งดาวบริวารของดาวเคราะห์นั้นๆ ดาวหาง รวมถึงวัตถุอื่นๆ ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก ซึ่งต่างก็โคจรอยู่รอบๆดวงอาทิตย์ อาณาเขตของสุริยจักรวาลของเรายังไม่ทราบแน่ชัดในขณะนี้

โลก ในบรรดาดาวเคราะห์ต่างๆในสุริยจักรวาล เราถือว่า โลกเป็นดาวเคราะห์ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นที่ให้กำเนิดแก่มนุษย์ มนุษย์ได้อาศัยอยู่เป็นเวลานานมาแล้ว และคงจะอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน โลกที่เราอาศัยอยู่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8,000 ไมล์ เมื่อนำเอาไปเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์แล้ว โลกเรามีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ 108 เท่า เพราะฉะนั้น จำนวน 108 จึงมีความหมายที่สำคัญในหลายทรรศนะในวิชาโหราศาสตร์ โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก รอบแกนซึ่งต่อระหว่างขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ การหมุนรอบตัวเองของโลกในลักษณะนี้ ทำให้เรามองเห็นท้องฟ้า รวมทั้งดวงอาทิตย์ ตลอดจนดวงดาวต่างๆ ค่อยๆเคลี่ยนที่จากทางทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกอยู่ตลอดเวลา ทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่า ท้องฟ้าหมุนรอบโลก ถ้าเราอยู่ ณ เส้นศูนย์สูตรโลกซึ่งมีความยาวประมาณ 25,000 ไมล์ ในการที่โลกหมุนรอบตัวเอง ณ จุดที่เราอยู่บนพื้นโลกจะมีอัตราความเร็วประมาณ 1,040 ไมล์ต่อ 1 ช.ม. การที่โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ เราใช้กำหนดเป็นมาตรฐานของ 1 วัน มาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามหลักฐานทางดาราศาสตร์พบว่า การหมุนรอบตัวเองของโลกจะไม่สม่ำเสมอเท่ากันตลอด ยิ่งนานวันเข้า โลกจะหมุนรอบตัวเองช้าลงทุกที ยังผลให้เวลาในวันหนึ่งๆ เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการแกว่งส่ายของโลก และเกิดจากการเสียดสีของน้ำในมหาสมุทรกับพื้นผิวโลก


การที่โลกหมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกัน เป็นผลให้เรามองเห็นดวงอาทิตย์โคจรเคลี่ยนที่ไปปรากฎอยู่ตามกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ซึ่งมีความบูดเบี้ยวน้อยมาก ระยะทางเฉลี่ยระหว่างจุดศูนย์กลางของโลกกับดวงอาทิตย์ ประมาณ 92 ล้าน 9 แสนไมล์ หน่วยดาราศาสตร์ Astronomical unit
เนื่องจากโลกโคจรเป็นรูปวงรี ในประมาณต้นเดือน ม.ค.ของทุกปี ราววันที่ 3 ม.ค. โลกจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด ณ จุดนี้เรียกว่า perihelion โลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์น้อยกว่าระยะทางเฉลี่ยประมาณ 1 ล้าน 5 แสนไมล์ ดังนั้นโลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 91 ล้าน 4 แสนไมล์ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในปฎิทินดาราศาสตร์ระบบนิรายนะ จะอยู่ที่ราศีธนูประมาณ 19 องศา ดวงอาทิตย์จะโคจรบ่ายเบนไปทางทิศใต้ประมาณ 22 องศา 50 ลิบดา จากเส้นศูนย์สูตรฟ้า ในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะโคจรเร็วที่สุดในอัตรา 61 ลิบดา 9 ฟิลิบดา ต่อ 1 วัน คิดตามเวลามาตรฐานที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 6.45 น. ตกเวลาประมาณ 17.59 น. เวลากลางวันน้อยกว่ากลางคืนประมาณ 46 นาฑี
ในประมาณต้นเดือน ก.ค.ของทุกปี ราววันที่ 5 ก.ค. โลกจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ณ จุดนี้เรียกว่า aphelion โลกจะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าระยะทางเฉลี่ยประมาณ 1 ล้าน 5 แสนไมล์ ดังนั้นโลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ประมาณ 94 ล้าน 4 แสนไมล์ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะอยู่ที่ราศีมิถุน ประมาณ 19 องศา (จะเห็นได้ว่า จุดที่โลกใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด กับจุดที่โลกไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดนั้น จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี) ดวงอาทิตย์จะโคจรบ่ายเบนไปทางทิศเหนือประมาณ 22 องศา 50 ลิบดา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรช้าที่สุดในอัตรา 57 ลิบดา 11 ฟิลิบดา ซึ่งช้ากว่าวันที่โลกโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ประมาณ 3 ลิบดา 58 ฟิลิบดา คิดตามเวลามาตรฐานที่กรุงเทพ ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 5.59 น. ตกเวลาประมาณ 18.45 น. เวลากลางวันมากกว่ากลางคืนประมาณ 46 นาฑี
ปีนักษัตร การโคจรของโลกครบหนึ่งรอบพอดี เรียกว่า หนึ่งปีนักษัตร การสังเกตหนึ่งปีนักษัตรครบหนึ่งรอบพอดี เราต้องสมมุติดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งขึ้นเป็นจุดมาตรฐาน ถ้าเราเห็นดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดนี้ 2 ครั้งติดต่อกันเมื่อใด นับเป็นเวลา 1 ปีนักษัตรเมื่อนั้น การนับปีทางวิธีนี้ เป็นปีที่แท้จริงทางดาราศาสตร์ ซึ่งมีเวลาคงที่ โดยคิดตามเวลาพระอาทิตย์เฉลี่ย คือ ปีนักษัตร = 365.25636042 วัน หรือ = 365 วัน 6 ช.ม. 9 นาฑี 9.5 วินาฑี ในปัจจุบันนี้ทางดาราศาสตร์ได้พบว่า เวลาของปีนักษัตรจะค่อยๆเพิ่มขึ้นในอัตรา 0.01 วินาฑีทุกๆปี โลกมีอัตราความเร็วในการโคจรรอบดวงอาทิตย์คิดเฉลี่ยประมาณ 18.5 ไมล์ต่อ 1 วินาฑี หรือประมาณ 66,600 ไมล์ต่อชั่วโมง ถ้าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 26 ไมล์ต่อ 1 วินาฑี หรือ 93,600 ไมล์ต่อชั่วโมง โลกจะโคจรหลุดออกไปจากบริเวณที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ และโลกก็จะมีระบบโคจรเช่นเดียวกันกับดาวหางต่างๆ
โลกหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกัน การโคจรของโลกแบบนี้ ทำให้แกนของโลกหมุนแกว่งส่ายไปเป็นรูปกรวยกลมรอบแนวดิ่ง ไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับที่โลกหมุน แกนของโลกเอียงทำมุมประมาณ 23.5 องศา กับแนวดิ่งที่ตั้งฉากกับระนาบของการโคจรของโลก ปรากฏการณ์อันนี้ทำให้แกนของโลกเคลื่อนที่เป็นกรวยกลม โดยจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโลกหมุน จะครบรอบหรือครบคาบพอดี กินเวลาประมาณ 25,791 ปี

สุริยวิถี Ecliptic การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเรามองเห็นเสมือนหนึ่งว่า ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก เราจะเห็นว่า ดวงอาทิตย์โคจรไปตามวิถีทางของมันตายตัวเป็นประจำทุกๆปี ทางโคจรของจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ที่เห็นในท้องฟ้านี้ เรียกว่า รวิมรรค เป็นวงกลมรีสมมุติที่ใหญ่โตมาก เป็นวงรีที่เหมือนกับวงโคจรของโลกทุกประการ แต่ได้ขยายใหญ่ออกไปไม่มีที่สิ้นสุด เพระฉะนั้น รวิมรรค หรือ สุริยวิถี จึงใหญ่กว่าวงโคจรของโลกมากมายหลายแสนหลายล้านเท่า เป็นวงโคจรที่นักดาราศาสตร์ได้สมมุติขึ้น เพื่อคำนวนพิกัด และอัตราความเร็วของการโคจรของดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ รวมถึงจุดคราสพระอาทิตย์ และจุดคราสพระจันทร์ นักดาราศาสตร์สมมุติเอาว่า ดวงดาวต่างๆโคจรอยู่บนเส้นระนาบสุริยวิถีด้วยกันทั้งสิ้น

เราสมมุติว่า สุริยวิถีเป็นที่สิ้นสุดของอาณาเขตฟ้า เส้นต่างๆที่กำหนดขึ้นบนผิวโลกทุกๆเส้น ต่างก็ขยายไปอยู่ในอาณาเขตอันเดียวกันกับเส้นสุริยวิถีทั้งหมด ดังนั้นเส้นศูนย์สูตรโลกก็กลายเป็นเส้นศูนย์สูตรฟ้า เส้นรุ้งและเส้นแวงของโลกก็ไปเป็นเส้นรุ้งเส้นแวงฟ้า จุดขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ก็เป็นจุดขั้วเหนือและขั้วใต้ของฟ้าตามลำดับ
ท้องฟ้าที่กำหนดขึ้นนี้ จะเต็มไปด้วยเส้นต่างๆ เช่นเดียวกันกับบนผิวโลกทุกอย่าง และมีอาณาเขตไม่มีที่สิ้นสุด วัตถุทุกชนิดที่เรามองเห็นบนฟ้าต่างก็ปรากฎอยู่บนระนาบรูปทรงกลมใหญ่ที่เราสมมุติขึ้นทั้งสิ้น เราถือเอาว่า จุดศูนย์กลางของท้องฟ้าอยู่ ณ จุดของผู้ที่ดูท้องฟ้านั่นเอง เส้นขนานต่างๆ ไม่ว่าจะมีระยะห่างกันสักเท่าใด จะมีทิศทางตรงไปยังจุดเดียวกันบนรูปทรงกลมสมมุตินี้ ดังนั้นเราจะมองเห็นดาวทุกๆดวง ต่างก็มีตำแหน่งเป็นภาพลวงตา อยู่บนระนาบพื้นผิวทรงกลมใหญ่วงนี้ทั้งหมด ตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ จึงไม่ใช่ตำแหน่งที่แท้จริง เป็นแต่เพียงทิศทางของดวงดาวเท่านั้นเอง ด้วยประการเช่นนี้ เราจึงมีการกำหนดระยะของดวงดาวต่างๆเป็นจำนวนองศา ไม่ใช่วัดเป็นจำนวนไมล์ และเราเรียกระยะมุมของดาวต่างๆเป็นระยะเชิงมุม จากกฎเกณฑ์อันนี้เอง เราจึงวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ได้เท่าๆกัน คือ ประมาณครึ่งองศาเท่านั้น โดยทำนองเดียวกัน ระยะที่เรามองเห็นระหว่างดาว 2 ดวง ก็คือ มุมระหว่างแนวทิศทางของดาวทั้ง 2 ดวงนั่นเอง ซึ่งวัดเป็นองศาบนเส้นวงกลมสมมุตินี้

วิษุวัต equinox เส้นสุริยวิถี(Ecliptic)และเส้นศูนย์สูตรฟ้า(Celestial Equator)จะตัดกัน 2 จุด และจุดทั้งสองนี้จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี ถ้าโลกโคจรมาถึงจุดนี้ จากการมองเห็นด้วยตาเปล่า เราจะเห็นดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ จะมีปรากฎการณ์พิเศษบนพื้นโลก คือ ในวันนี้ ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก เวลากลางวันจะเท่ากับเวลากลางคืนพอดี จุดตัดทั้งสองนี้ เรียกว่า จุด วิษุวัต หรือ Equinox

จุดวิษุวัตซึ่งดวงอาทิตย์โคจรผ่านแล้ว ดวงอาทิตย์จะปัดไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรฟ้า เรียกว่า อุตรวิษุวัต vernal equinox เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่เส้นศูนย์ฟ้าพอดี คือ ไม่ไม่ปัดไปทางไหนอีก ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก ในเวลาเที่ยงวันในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ตรงกับศรีษะของเราพอดี ในวันนี้ดวงอาทิตย์มี กรันติ declination = 0 องศา ต่อจากวันนี้ไป ดวงอาทิตย์จะค่อยๆปัดไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าวันละเล็กวันละน้อย
ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันนี้ จะตรงกับประมาณวันที่ 21 มี..ของทุกๆปี ตามปฏิทินดาราศาสตร์ในระบบนิรายนะ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่ราศีมีนประมาณ 6 องศา 37 ลิบดา กรันติของดวงอาทิตย์ = 0 องศา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรวันละ 59 ลิบดา 35 ฟิลิบดา คิดตามเวลาที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.22 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18.29 น. ในวันนี้ที่กทม. เวลาในภาคกลางวันจะมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนประมาณ 7 นาฑี ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุว่า ที่ตั้งของกรุงเทพฯอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรประมาณ 13 องศา 46 ลิบดา ประมาณวันที่ 12 มี.ค.ของทุกปี สำหรับในวันนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นที่กทม.เวลา 06.28 น. และตกเวลา 18.28 น. เวลาในภาคกลางวันจะเท่ากับภาคกลางคืนพอดี

จุดวิษุวัตเมื่อดวงอาทิตย์โคจรผ่านแล้ว ดวงอาทิตย์จะปัดไปทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรฟ้า เรียกว่า ทักษิณวิษุวัต autumnal equinox เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี คือ ไม่ปัดไปทางไหนอีก ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก ในเวลาเที่ยงวันของวันนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่บนศรีษะของเราพอดี ในวันนี้ดวงอาทิตย์มี declination = 0 องศา ต่อจากวันนี้ไป ดวงอาทิตย์จะค่อยๆปัดไปทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าวันละเล็กวันละน้อย
ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันนี้ จะตรงกับประมาณวันที่ 23 ..ของทุกปี ตามปฏิทินดาราศาสตร์ในระบบนิรายนะ ดวงอาทิตย์จะอยู่ในราศีกันย์ประมาณ 6 องศา 37 ลิบดา กรันติของดวงอาทิตย์ = 0 องศา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรวันละประมาณ 58 ลิบดา 44 ฟิลิบดา คิดตามเวลามาตรฐานที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.17 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18.14 น. จะเห็นได้ว่าในวันนี้ที่กทม. เวลาในภาคกลางวันมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนประมาณ 7 นาฑี ประมาณวันที่ 1 ต.ค.ของทุกปี ที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.08 นาฑี ตกเวลา 08.08 นาฑี เวลาในภาคกลางวันจะเท่ากับภาคกลางคืนพอดี

เส้นสุริยวิถีและเส้นศูนย์สูตรฟ้า มีระนาบต่างกัน โดยทำมุมเอียงประมาณ 23.5 องศา จุดบนเส้นสุริยวิถีที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามีอยู่ 2 จุด เรียกว่า มหากรันติ solstice จุด 2 จุดนี้ จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี และต่างก็อยู่ห่างจากจุดวิษุวัต 90 องศาพอดี ถ้าดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดทั้งสองนี้ เราจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุด

จุดบนเส้นสุริยวิถีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด เรียกว่า อุตรายัน summer solstice ณ จุดนี้จะมีปรากฎการณ์พิเศษเกิดขึ้นบนพื้นโลก คือ เวลาในภาคกลางวันจะมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนมากที่สุด (เป็นวันที่มีเวลากลางวันนานที่สุด และเวลากลางคืนน้อยที่สุด) จะตรงกับประมาณวันที่ 22 มิ.. ของทุกๆปี ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดอุตรายัน ฤดูกาลในเมืองไทยเราจะเริ่มเข้าฤดูฝน

จุดบนเส้นสุริยวิถีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศใต้มากที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน winter solstice ณ จุดนี้จะมีปรากฎการณ์เกิดขึ้น คือ เวลาในภาคกลางคืนจะมากกว่าในภาคกลางวันมากที่สุด (เป็นวันที่มีเวลากลางคืนนานที่สุด มีเวลากลางวันน้อยที่สุด) จะตรงกับประมาณวันที่ 22 .. ของทุกๆปี ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดทักษิณายัน เป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาว ฤดูนี้ดวงอาทิตย์จะอยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า และขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว"

จักรราศี Zodiac การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ นักปราชญ์ในสมัยโบราณ ได้กำหนดให้การโคจรของดวงอาทิตย์บนระนาบเส้นสุริยวิถี ซึ่งโคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ ออกเป็น 12 กลุ่ม โดยใช้การโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปี เป็นเกณฑ์ในการคำนวน โดยกำหนดว่า ดวงอาทิตย์โคจร 1 ปี 365 วัน ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้เวลาโคจรประมาณ 1 เดือน และกำหนด 1 กลุ่มดาวฤกษ์ เรียกว่า 1 ราศี รวมทั้งหมดเป็น 12 เดือน 12 ราศี เรียกว่า จักรราศี แต่ละราศีมีอาณาเขต 30 องศา

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.