การหาว่าในปีใด จะมีวันใดเป็นวันธงชัย วันอธิบดี วันอุบาทว์ วันโลกาวินาศ มีการคำนวณตามคัมภีร์กาลโยคดังนี้
ธงชัย ถ้าต้องการรู้ว่าในแต่ละปี ราศีใด วันใด ยามใด ดิถีใด และฤกษ์ใด จะเป็นธงชัย ให้ตั้งจุลศักราชของปีนั้นลง เอา ๑๐ คูณ เอา ๓ บวก ได้ผลลัพธ์เท่าใดเป็นเกณฑ์ตราไว้ แล้วตั้งเกณฑ์ดังกล่าวลงเป็น ๕ ฐาน เอาเลข ๕ จำนวนได้แก่ ๗, ๘, ๑๒, ๓๐, และ ๒๗ หารเกณฑ์จำนวนละฐาน เหลือเศษเท่าใด จะเป็นผลดังนี้
๗ หารเกณฑ์ เศษเป็นวันธงชัย
๘ หารเกณฑ์ เศษเป็นยามธงชัย
๑๒ หารเกณฑ์ เศษเป็นราศี ธงชัย
๓๐ หารเกณฑ์ เศษเป็นดิถี ธงชัย
๒๗ หารเกณฑ์ เศษเป็น ฤกษ์ ธงชัย
อธิบดี ให้ตั้งจุลศักราชของปีนั้นลง เอา ๔๙๘ หาร ได้เศษเท่าใดเป็นเกณฑ์ตราไว้ แล้วตั้งเกณฑ์ เป็น ๕ ฐาน เอาเลข ๕ จำนวนหารเกณฑ์จำนวนละฐาน เหลือเศษเท่าใด จะได้ผลดังนี้
๗ หารเกณฑ์ เศษเป็นวันอธิบดี
๘ หารเกณฑ์ เศษเป็นยามอธิบดี
๑๒ หารเกณฑ์ เศษเป็นราศีอธิบดี
๓๐ หารเกณฑ์ เศษเป็นฤกษ์อธิบดี
อุบาทว์ ให้ตั้งจุลศักราชปีนั้นลง เอา ๑๐ คูณ เอา ๒ บวก ได้ผลลัพธ์เท่าใดเป็นเกณฑ์ตราไว้ แล้วตั้งเกณฑ์เป็น ๕ ฐาน เอาเลข ๕ จำนวน หารเกณฑ์จำนวนละฐาน เหลือเศษเท่าใด จะได้ผลดังนี้
๗ หารเกณฑ์ เศษเป็นวันอุบาทว์
๘ หารเกณฑ์ เศษเป็นยามอุบาทว์
๑๒ หารเกณฑ์ เศษเป็นราศีอุบาทว์
๓๐ หารเกณฑ์ เศษเป็นดิถีอุบาทว์
๒๗ หารเกณฑ์ เศษเป็นฤกษ์อุบาทว์
โลกาวินาศ ให้ตั้งจุลศักราชปีนั้นลง เอา ๑๑๒๐ บวก ได้ผลลัพธ์เท่าใด เป็นเกณฑ์ตราไว้ แล้วตั้งเกณฑ์เป็น ๕ ฐาน เอาเลข ๕ จำนวน หารเกณฑ์จำนวนละฐาน เหลือเศษเท่าใด จะได้ผลดังนี้
๗ หารเกณฑ์ เศษเป็นวันโลกาวินาศ
๘ หารเกณฑ์ เศษเป็นวันยามโลกาวินาศ
๑๒ หารเกณฑ์ เศษเป็นวันราศีโลกาวินาศ
๓๐ หารเกณฑ์ เศษเป็นวันดิถีโลกาวินาศ
๒๗ หารเกณฑ์ เศษเป็นวันฤกษ์โลกาวินาศ
ในทุกกรณีที่กล่าวมาแล้วถ้าหารได้เศษ ๐ ให้นับเศษเท่ากับจำนวนที่ใช้หารนั้น ๆ
ธงชัย - วันที่สำเร็จในผลดี หรือความดีทั้งหลาย ชัยชนะ มิ่งขวัญ ของหมู่คณะ
- เวลา ประกอบด้วยโชค ชัยชนะ หมายถึงชัยโชค
- ใช้กับสิ่งของ วัตถุ สถานที่
อธิบดี - วันที่เป็นใหญ่ มีอำนาจในการปกครอง ควบคุมดูแล
- เวลา ประกอบด้วยโชค ความเป็นใหญ่
- ใช้กับบุคคล
อุบาทว์ - วันที่ตกอยู่ในบ่วงกรรมอุปสรรค ทำการค้าไม่ขึ้น โชคร้าย
- เวลา ประกอบด้วยอุบัติเหตุ เคราะห์ร้าย สิ่งที่ไม่เป็นมงคล
- ใช้กับบุคคล
โลกาวินาศ - วันที่วุ่นวาย ยุ่งยาก ระส่ำระสาย ความหายนะ สูญเสีย
- เวลา เข้าไปสู่อันตราย หรืออุปัทวันตราย ไม่เป็นมงคลต่อชุมชน หมู่คณะเป็นส่วนรวม
- ใช้กับสิ่งของ วัตถุ สถานที่
กาลโยคประจำปี ๒๕๖๔ (๑๖ เม.ย.๒๕๖๔ – ๑๕ เม.ย.๒๕๖๕)
กาลโยค คือกาลอันพึงมีตามกำหนด อันประกอบด้วยผล คือคราวดี คราวร้าย สืบเนื่องกันมาตามลำดับ จากวัน ยาม ราศี ดิถี ฤกษ์ หมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกปี เริ่มจากวันเถลิงศกของแต่ละปี ซึ่งเป็นการนับแบบของวันขึ้นปีใหม่ไทยโบราณ ซึ่งกาลโยคนี้ ถือกันว่าเป็นการใช้ฤกษ์ระดับชาวบ้านทั่วไป กรณีไม่สามารถหาโหร วางฤกษ์พานาทีได้ตามหลักการโดยละเอียด ก็ให้พิจารณาใช้วัน เวลา ขึ้นแรมตามกาลโยคประจำปี ก็พอที่จะเกิดความเป็นสิริมงคลได้ในระดับหนึ่ง สำหรับปีนี้ กาลโยคใหม่จะเริ่มใช้วันที่ ๑๖ เม.ย.๒๕๖๔ ซึ่งตรงกับวันศุกร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู โดยมีวันเวลาดีร้ายดังนี้

เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ (ห้องโหรแว่นทิพย์ ไม่ใช้ฤกษ์กาลโยค)