อายนางศ์
โดย พล.อ.ต.สุกษม เกษมสันต์
“อยนางศ” หรือที่สมาคมโหรแห่งประเทศไทย ใช้ว่า “อายนางศ” เป็นคำค่อนข้างใหม่สำหรับวงการโหราศาสตร์ไทย เชื่อได้ว่ายังมีผู้อ่าน “พยากรณสาร” จำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ใคร่ทราบเรื่องราวดี ฉะนั้นผู้เขียนจึงได้เรียบเรียงเรื่องนี้ขึ้น เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
ก่อนอื่น ผู้เขียนจำต้องขออภัยต่อสมาคมโหรแห่งประเทศไทย (ซึ่งผู้เขียนก็เป็นสมาชิกด้วยผู้หนึ่ง) ในการที่มาริอ่านใช้คำ “อยนางศ” แทนคำที่สมาคมฯ ใช้เป็นบรรทัดฐานอยู่แล้ว เหตุผลก็มีอยู่เพียงประการเดียว กล่าวคือ ใคร่จะรักษารูปศัพท์เดิมในภาษาสันสกฤตไว้ จาก A Sanskrit English Dictionanry ของ Sir Monier-Williams ผู้เขียนได้ตรวจพบว่าคำนี้ต้องเขียนว่า “อยนางศ” จึงจะเป็นการถอดภาษาสันสกฤตที่ถูกต้อง ผู้เขียนขอถือโอกาสนี้เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการของสมาคมโหรแห่งประเทศไทยว่า ถ้าหากจะพิจารณาการเขียนคำสันสกฤตต่างๆ ที่ใช้กันเสียใหม่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่นักศีกษาวิชานี้มาก
คำ “อยนางศ” มาจากคำสันสกฤตสองคำคือ “อยน” กับ “อํศ” สำหรับ “อยน” นั้นแปลได้หลายอย่าง ถ้าเป็นภาษาธรรมดาก็อาจแปลได้ว่า การเดิน หรือถนน หรือทางเดิน ส่วนในทางดาราศาสตร์อาจแปลได้ว่า การเดินล่วงหน้า, การร่น (ของวิษุวัต) (Precession); วิถีของดวงอาทิตย์ทางเหนือหรือทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรฟ้า (กล่าวคือ อุตตรายน และทักษิณายน); ครึ่งปี; จุดกลางวันกลางคืนเท่ากัน และจุดปัดเหนือสุดและใต้สุดของดวงอาทิตย์ ส่วนคำ “อยนางศ” ก็แปลว่า “ปริมาณการร่น (ของวิษุวัต)”
คำแปลที่ให้ไว้ข้างบนนี้ บางทีจะยังไม่ชัดเจนนักสำหรับท่านผู้อ่านทั่วๆ ไป เพื่อให้เป็นที่เข้าใจดีขึ้นอีก จึงขออธิบายเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
เมื่อเรามองไปในฟากฟ้า เราเห็นคล้ายกับว่าดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ฯลฯ ทั้งหลายนั้นติดอยู่กับด้านในของลูกกลมกลวงขนาดมหึมาซึ่งล้อมอยู่รอบโลก ลูกกลมสมมุตินี้ฝรั่งเขาเรียก Celestial Sphere) และในภาษาไทยอาจเรียกว่า ทรงกลมฟ้า หรือทรงกลมสวรรค์ก็ได้ ถ้าต่อแกนของโลกออกไปจนถึงทรงกลมฟ้า แกนโลกก็จะไปพบกับขั้วเหนือและขั้วใต้ของทรงกลมฟ้าพอดี และถ้าต่อพื้นราบหรือระนาบที่บรรจุเส้นศูนย์สูตรของโลกออกไปก็จะตัดกับทรงกลมฟ้าตรงเส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดีเหมือนกัน
โลกเราเดินรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา แต่โดยที่เราอยู่บนโลก จึงเห็นเสมือนกับว่าดวงอาทิตย์นั้นเดินรอบโลก มีขึ้นมีตกเป็นประจำวัน และนอกจากนั้นยังเคลื่อนที่ไปในระหว่างดวงดาวอีกด้วย เส้นทางที่เราเห็นดวงอาทิตย์เดินไปในระหว่างดวงดาวนี้ ทางดาราศาสตร์สากลเรียกว่า “Ecliptic” ซึ่งในภาษาไทยจะเรียกว่า “ทางเดินปรากฏของดวงอาทิตย์” หรือจะเรียกให้สั้นลงอีกหน่อยว่า “สุริยวิถี” ก็คงจะได้ เราเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางโค้งนี้วันละประมาณหนึ่งองศาโดยเฉลี่ย และดวงอาทิตย์จะเดินบรรจบครบรอบ คือกลับมาถึงจุดเดิมในฟากฟ้าอีกครั้งหนึ่งในเวลา ๓๖๕ วันเศษ
ในบริเวณใกล้เคียงกับสุริยวิถีนี้ เราจะเห็นมีดาวฤกษ์และดาวเคราะห์เรียงรายกันอยู่มาก โดยเฉพาะดาวเคราะห์สำคัญๆ จะอยู่ห่างเส้นทางเดินปรากฏของดาวอาทิตย์ไม่เกิน ๘ หรือ ๙ องศา ดังนั้นนักดารา-โหราศาสตร์ตั้งแต่สมัยโบราณจึงได้สมมุติแถบฟ้าขึ้นแถบหนึ่ง กว้าง ๑๖ หรือ ๑๘ องศา (แล้วแต่ตำราของใคร) โดยกำหนดให้สุริยวิถีอยู่ตรงกลางแถบฟ้านี้พอดี ฝรั่งเขาเรียกแถบฟ้สมมุตินี้ว่า Zodiac เป็นคำมีรากมาจากภาษากรีก ซึ่งถ้าจะแปลก็ได้ความว่า “วงกลมแห่งสัตว์” ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่า นักปราชญ์โบราณแบ่งกลุ่มดาวในแถบฟ้านี้ออกเป็น ๑๒ กลุ่ม (Constellations) และเอาชื่อสัตว์ (และมนุษย์) ไปตั้งให้กับกลุ่มดาวเหล่านี้ ยกเว้นแต่กลุ่มเดียวเท่านั้นที่ให้ชื่อว่า Libra แปลว่า “ตราชู” * คำ Zodiac นี้ ทางฮินดูเรียกเป็นภาษาสันสกฤตว่า “ภาจักร” แปลว่า “วงกลมแห่งแสง” ส่วนทางไทยเรียกกันว่า “จักรราศี” เป็นการจัดเรียงคำตามหลักภาษาไทย หมายถึงจักรหรือวงกลมแห่งราศี ไม่ใช่ราศีแห่งจักร อย่างไรก็ดี คำจักรราศีนี้อาจไปปะปนกับ “ราศีจักร” ซึ่งสมัยนี้นิยมใช้ หมายถึงดวงที่ผูกขึ้นแสดงตำแหน่งของดาวเคราะห์ในราศี ฉะนั้นผู้เขียนจึงขอเรียกแถบฟ้าสมมุตินี้ว่า “นักษัตรจักร”
เนื่องจาก นักษัตรจักร เป็นแถบฟ้าสมมติซึ่งอาศัยสุริยวิถีเป็นแนวกึ่งกลาง ฉะนั้นจึงมีรูปเป็นวงกลมตามสุริยวิถีไปด้วย และเมื่อเป็นวงกลมก็เท่ากับว่าไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดปลายที่แท้จริง ดังนั้นนักดาราศาสตร์ก็ดี นักโหราศาสตร์ก็ดี จึงจำเป็นต้องกำหนดจุดหนึ่งจุดใดขึ้นเป็นจุดอ้างอิงเพื่อจะได้วัดระยะต่างๆ จากจุดที่กล่าวนี้ได้
ในการ “เดิน” ของดวงอาทิตย์ไปตามสุริยวิถีนั้น เส้นทางจะไปตัดกับแนวศูนย์สูตรฟ้า ณ ตำบล ๒ แห่ง ทั้งนี้ก็เพราะว่าพื้นราบหรือระนาบที่บรรจุสุริยวิถี กับพื้นราบหรือระนาบที่บรรจุเส้นศูนย์สูตรฟ้านั้นทำมุมกันอยู่ประมาณ ๒๓ ๑/๒ องศา จุดตัดกันทั้ง ๒ แห่งนี้ แต่ละจุดเรียกว่า Equinox หมายความว่าเมื่อดวงอาทิตย์มาถึงจุดหนึ่งจุดใดที่กล่าวนั้นแล้ว ระยะเวลากลางวันจะเท่ากับระยะเวลากลางคืน สำหรับจุดที่ดวงอาทิตย์ผ่านขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้ามีชื่อกำหนดไว้ว่า Vernal Equinox หรือ Spring Equinox ซึ่งฮินดูและไทยเรียกว่า “วสันตวิษุวัต” ส่วนจุดที่ดวงอาทิตย์ผ่านลงไปทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรฟ้ามีชื่อเรียกว่า Autumnal Equinox ซึ่งฮินดูและไทยเรียกว่า “ศราทวิษุวัต”
จุดวสันตวิษุวัตเป็นจุดสำคัญมากสำหรับโหราศาสตร์สากลแบบมาตรฐาน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของราศีเมษ (เอรีส์) ของเขา จุดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า First Point of Aries กล่าวคือ จุดแรกแห่งเอรีส์ โหราศาสตร์สากลแบบมาตรฐานแบ่งนักษัตรออกเป็น ๑๒ ส่วน ๆ ละ ๓๐ องศา และเรียกแต่ละส่วนที่แบ่งนั้นว่า Sign ซึ่งเทียบได้กับราศีของฮินดูและไทย ระยะ ๓๐ องศาแรกนับจากจุดแรกแห่งเอรีส์ก็คือราศี Aries (เอรีส์) ระยะ ๓๐ องศาต่อๆ ไปก็คือราศีพฤษภ Taurus เมถุน Gemini ฯลฯ จนกระทั่งถึงมีน Pisces อันเป็นราศีที่ ๑๒ นี่ก็เป็นการตั้งชื่อราศีตามชื่อกลุ่มดาวในนักษัตรจักรนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะว่าในสมัยที่ทำการตั้งชื่อนั้น ราศีดังกล่าวอยู่ตรงกับกลุ่มดาวชื่อเดียวกันนั้นพอดี ส่วนทางโหราศาสตร์ฮินดูก็แบ่งภาจักรของเขาออกเป็น ๑๒ ราศีเท่าๆ กันเหมือนกัน เรียกตามภาษาสันสกฤตว่า ราศีเมษ พฤษภ มิถุน กรกฏ สิงห์ กันยา ตุลา พฤศจิก ธนุส มกร กุมภ และมีน ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังจัดแบ่งกลุ่มดาวในภาจักรเป็น ๒๗ กลุ่ม หรือนักษัตร โดยกำหนดให้นักษัตรหนึ่งๆ มีระยะ ๑๓ องศา ๒๐ ลิปดาอีกด้วย แต่ว่าโหราศาสตร์ฮินดูมิได้ใช้จุดวสันตวิษุวัตเป็นที่หมายของจุดเริ่มแรกของภาจักร หากแต่ได้กำหนดเอาจุดๆ หนึ่งในฟากฟ้า ซึ่งกล่าวว่าตรงกับจุดแรกของกลุ่มดาวอัศวินีเป็นที่เริ่มต้นจุดที่ว่านี้เรียกกันว่า “จุดแรกแห่งเมษ” ซึ่งในสมัยโบราณเชื่อกันว่าเป็นจุดคงที่ไม่มีวันเลื่อนไปอยู่ที่อื่น เพราะได้โยงยึดไว้กับดาวฤกษ์ซึ่งถือกันว่าไม่มีการเคลื่อนที่ไปทางไหน ในสมัยหนึ่งในอดีตจุดแรกแห่งเอรีส์ได้เคยอยู่ ณ จุดเดียวกันกับจุดแรกแห่งเมษอยู่นั่นเอง และในขณะที่อยู่ด้วยกันนั้นราศีเอรีส์ถึงบิสซีสของโหราศาสตร์สากลแบบมาตรฐาน ก็อยู่ตรงกับราศีเมษถึงมีนของโหราศาสตร์ฮินดูพอดี หมายความว่าครั้งหนึ่งในอดีตนักษัตรจักรแบบสากลกับฮินดูไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย
สิ่งที่ทำให้นักษัตรทั้งสองแบบเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นก็คือ การที่วสันตวิษุวัตไม่อยู่คงที่ แต่มีการร่นไปทางตะวันตกอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะเป็นปีละเล็กน้อยก็ตาม สาเหตุก็เนื่องมาจากว่าในขณะที่โลกโคจรไปรอบดวงอาทิตย์นั้น โลกมีการหมุนรอบแกนของตัวเองด้วย แต่แกนของโลกทำมุมเอียงอยู่กับแนวดิ่งประมาณ ๒๓ ๑/๒ องศา ฉะนั้นในขณะที่หมุนไปรอบแกนจึงมิได้หมุนอย่างที่เรียกว่านอนวัน แต่มีอาการควงคล้ายๆ ลูกข่างเวลาอ่อนแรง อาการควงนี้ทำให้แกนของโลกวาดรูปวงกลมขึ้นในท้องฟ้า แต่ว่าเป็นการวาดอย่างช้าๆ กล่าวคือ ๒๕,๘๐๐ ปีจึงจะวาดได้บรรจบครบรอบหนึ่ง การที่แกนของโลกมีอาการควงนี่เองจึงทำให้ขั้วทรงกลมฟ้าเปลี่ยนที่ไปด้วย เพราะขั้วทรงกลมฟ้าก็คือ จุดซึ่งแกนของโลกเมื่อต่อออกไปจะไปทิ่มถูกทรงกลมฟ้าดังที่กล่าวข้างต้น และเมื่อขั้วทรงกลมฟ้าเปลี่ยนที่เส้นศูนย์สูตรฟ้าก็เปลี่ยนที่ไปด้วย เป็นผลให้สุริยวิถีไปตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเร็วขึ้นกว่าควร หรืออีกนัยหนึ่งจุดวิษุวัตจะร่นไปข้างหลังที่เดิมทุกขณะ ซึ่งหมายความว่าจุดแรกแห่งเอรีส์จะถอยห่างออกไปจากจุดแรกแห่งเมษทุกขณะด้วย ปริมาณการร่นของวิษุวัตไปจากที่เดิมก็คือ “อยนางศ” ซึ่งในทางโหราศาสตร์จะกล่าวว่าเป็นระยะห่างกันที่วัดเป็นองศาระหว่างจุดแรกของเมษ กับจุดแรกของเอรีส์ก็ได้
โดยที่โหราศาสตร์สากลแบบมาตรฐานใช้ระบบนักษัตรจักร ซึ่งมีจุดแรกแห่งเอรีส์เปลี่ยนที่อยู่เป็นนิจนี่แหละ จึงทำให้เกิดการเรียกชื่อระบบนั้นว่าระบบนักษัตรจักรเคลื่อนที่ หรือระบบนักษัตรจักรแบบสายน (ส + อยน = สายน หมายความว่ามีการคำนึงถึงการร่นถอยของวิษุวัตด้วย) ส่วนระบบนักษัตรจักรซึ่งตรึงไว้กับกลุ่มดาว ก็กลายเป็นระบบนักษัตรจักรคงที่ หรือระบบนักษัตรจักรแบบนิรายน (นิร + อยน = นิรายน หมายความว่าไม่เอาอาการร่นถอยของวิษุวัตมาคำนึงถึง)
แต่เดิมทางฮินดูคำนวณตำแหน่งของอาทิตย์ จันทร์ และดาวเคราะห์ต่างๆ จากบรรดาคัมภีร์สิทธานต ซึ่งมีขึ้นชื่ออยู่ ๕ คัมภีร์ แต่มาในสมัยหลังๆ ปรากฏว่าการคำนวณตามวิธีในสิทธานตต่างๆ นั้น ได้ผลไม่ละเอียดแน่นอนเท่าวิธีคำนวณแบบดาราศาสตร์สากล ซึ่งมีเครื่องมือทันสมัยกว่า ฉะนั้นจึงได้หันมาใช้วิธีหลังนี้ แล้วหักหรือตัด “อยนางศ” ออกให้ได้ตำแหน่งดาวเคราะห์ตามระบบนักษัตรจักรนิรายน ส่วนทางไทยแต่เดิมก็ใช้วิธีคำนวณโดยอาศัยคัมภีร์พระสุริยยาตร ซึ่งสันนิษฐานว่าได้หลักเกณฑ์มาจากสิทธานตต่างๆ ของฝ่ายฮินดูเหมือนกัน ฉะนั้น ทางสมาคมโหรแห่งประเทศไทยจึงได้หันมาใช้วิธีตัดอยนางศ จากปฏิทินดาราศาสตร์สากลในการทำปฏิทินโหรประจำปีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๑
วิธีตัดอยนางศเป็นวิธีที่รัดกุมดี แต่สิ่งที่ไม่รัดกุมอยู่ตรงทีว่า อยนางศที่ถูกต้องในขณะหนึ่งขณะใดนั้นมีค่าเท่าไร นักโหราศาสตร์ระบบนักษัตรจักรนิรายนทุกชาติทุกภาษายังไม่ค่อยลงรอยกันดี ทั้งนี้ก็เพราะยังตกลงกันไม่ได้ว่า จุดแรกแห่งเมษแต่ดั้งเดิมนั้นอยู่ที่ตรงไหน หรือว่านักษัตรจักรแบบนิรายนกับสายนนั้นทับกันสนิทเมื่อใด ดังนั้นอยนางศที่มีใช้กันอยู่สำหรับปีปัจจุบันจึงมีค่าตั้งแต่ ๑๙ องศาไปจนถึง ๒๘ องศา สำหรับในประเทศอินเดียรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น และได้กำหนดการคำนวณขึ้นเป็นมาตรฐาน แต่กระนั้นก็มีหลายคณะที่ไม่ยอมใช้อยนางศตามที่ทางการกำหนด แต่ปฏิทินซึ่งนายลาหิรีจัดพิมพ์และมีแพร่หลายในประเทศไทยนั้นใช้อยนางศแบบทางการ สมาคมโหรแห่งประเทศไทยก็ใช้อยนางศตามแบบเดียวกันนี้เอง
ปัญหาว่าอะไรเป็นอยนางศที่ถูกต้องนั้น ยังเป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่แม้กระทั่งบัดนี้ ถ้ามีโอกาสจะได้เขียนมาสู่กันอ่านอีก
ขอขอบคุณเว็บ อ.โรจน์ มา ณ ที่นี้ด้วย บทความนี้ผมได้นำมาจากเว็บของอ.โรจน์
Ayanamsa is the sanskrit term for the longitudinal difference between the tropical or Sayana and sidereal or Nirayana zodiacs. It is defined as the angle by which the sidereal ecliptic longitude of a celestial body is less than its tropical ecliptic longitude.
- The sidereal ecliptic longitude of a celestial body is its longitude on the ecliptic defined with respect to the "fixed" stars.
- The tropical ecliptic longitude of a celestial body is its longitude on the ecliptic defined with respect to the vernal equinox point.
Since the vernal equinox point precesses westwards at a rate of 50".29 per year with respect to the fixed stars, the longitude of a fixed body defined with respect to it will increase slowly. On the other hand, since the stars "do not move" (this ignores the effect of proper motion) the longitude of a fixed body defined with respect to them will never change.
Today's astronomical calculations always use tropical longitudes, but certain schools of astrology, notably the Vedic school of astrology use sidereal longitude. Hence, when the proponents of these schools of astrology use modern astronomical calculations to determine the position of celestial bodies, they need to take into account the difference caused by the different reference point used in specifying the longitude, and this they call the ayanamsha.
From the Hindu word ayana which means the arc it translates literally as "yearly degree" and more precisely as precession. It describes the increasing gap between the tropical and sidereal zodiacs. The ayanamsa, changes continually through the Precession of the Equinoxes at the rate of approximately 50" a year, is currently about 24°.
Western Astrologers Fagan and Bradley computed it at 24 degrees in 1950 but there are various values in use in India. Differences arise because of the indefinite ancient boundaries of the constellation of Aries.
Ayanamsha is a Sanskrit word and is to be pronounced with the third "a" long, so: "Ayanaamsha". It is a compound word composed of the words "ayana" and "amsha" where "ayana" means "precession" and "amsha" means "component".