ReadyPlanet.com
dot dot
bulletHorasaadRevision.com
dot
ห้องโหรแว่นทิพย์
dot
bulletWelcome to foreigners
bulletกำเนิดจักรราศี*
bulletประวัติของวิชาโหราศาสตร์*
bulletวิชาโหราศาสตร์ไทยเบื้องต้น*
bulletกฎเกณฑ์วิชาโหราศาสตร์ไทย*
bulletอันโตนาที*
bulletอายนางศ์*
bulletวิธีคำนวนสมผุสลัคนา*
bulletนัยยะแห่งเรือนราศี*
bulletนัยยะแห่งเรือนชะตา*
bulletนัยยะแห่งดวงดาว*
bulletนัยยะแห่งตำแหน่งดาว*
bulletทิศาพยากรณ์*
bulletโรคาพยากรณ์*
bulletทักษาพยากรณ์*
bullet๑๐๘นวางค์รอบจักรวาล*
bulletวรโคตรนวางค์*
bulletตรียางค์พิษ*
bulletโหรปัตนิและดาวพระศุกร์*
bulletนานาปกรณ์เกี่ยวกับฤกษ์*
bulletเกร็ดโหราศาสตร์*
bulletเคล็ดวิชาต่างๆ*
bulletการทำนายฝันและเคล็ดลับการแก้ฝัน*
bulletพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา*
bulletพระคาถาชินบัญชร*
dot
โหราศาสตร์ไทย ฉบับหอมรดกไทย
dot
bulletตำนานดาวพระเคราะห์
bulletการแบ่งจักรราศี
bulletตำรามหาทักษา
bulletคัมภีร์กาลโยค
bulletลัคนากับดวงชะตา
bulletมาตรฐานดาวเคราะห์
dot
หน้าแบบฟอร์มต่างๆของเว็บไซด์
dot
bulletแบบฟอร์มตั้งชื่อ-นามสกุล
bulletแบบฟอร์มฤกษ์พิธีมงคลต่างๆ
bulletแบบฟอร์มฤกษ์คลอดบุตร
bulletแบบฟอร์มฤกษ์มงคลสมรส
bulletแบบฟอร์มฤกษ์เปลี่ยนชื่อ
bulletแบบฟอร์มห้องเรียนโหร
bulletสมุดเยี่ยม
dot
เกร็ดพยากรณ์..เพื่อความบันเทิง
dot
bulletนิสัยสาว 12 ราศี
bulletทายนิสัยจากเดือนเกิด
bulletจุดร้อนตามราศี
bulletความรักตามวันเกิด
bulletทายนิสัยจากการใส่แหวน
bulletผลไม้ทายนิสัย
bulletความรักตามกรุ๊ปเลือด
bulletอ่านใจหนุ่ม 12 ราศี
bulletผู้ชายเพอร์เฟค
bulletน้ำหอมกับราศี
bulletวิธีมัดใจหนุ่ม-สาวราศีต่างๆ
bulletพยากรณ์ ช-ญ ตามวันเกิด
bulletวันเกิดบอกนิสัยเนื้อคู่ ช-ญ
bulletทำนายเซ็กส์กับราศี
bulletความลับบนเตียง 12 ราศี
bulletเคล็ดลับดูไฝบนกายสาว
bulletทำนายผู้เกิดใน 12 นักษัตร
bulletคู่แต่ง คู่รัก คู่ขา?
bulletทายนิสัยคนใกล้ตัว 17 เรื่อง
bulletดวงของผู้หญิงตามวันเกิด
bulletดู ตัวตน,ชอบ,ยี้ หนุ่มสาว
bulletต้นไม้มงคลกับราศีเกิด
dot
เว็บวาไรตี้ยอดนิยม
dot
bulletwww.sanook.com
bulletwww.kapook.com
bulletwww.mthai.com
bulletwww.ragnarog.in.th
bulletwww.hunsa.com
bulletwww.teenee.com
bulletwww.365jukebox.com
bulletwww.dek-d.com
bulletwww.zuzaa.com
bulletwww.wanjai.com
bulletwww.narak.com
bulletwww.jorjae.com
bulletwww.aromdee.com
bulletwww.deedeejang.com
bulletwww.funwhan.com
bulletwww.saranair.com
bulletwww.madoo.com
dot
หนังสือพิมพ์ไทย-เทศ
dot
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletข่าวสด
bulletคม ชัด ลึก
bulletฐานเศรษฐกิจ
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletไทยโพสท์
bulletแนวหน้า
bulletประชาชาติธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
bulletมติชน
bulletโพสท์ทูเดย์
bulletสยามธุรกิจ
bulletสยามกีฬา
bulletสยามรัฐ
bulletBangkok Post
bulletThe Nation
bulletVoice of America
bulletBBC Thai
dot
Foreign newspaper
dot
bulletNew Straits Time MY
bulletThe Straits Time SG
bulletVientiane Times LAOS
bulletNew Light of Myanmar
bulletThe Daily Tribune PH
bulletThe Manila Times PH
bulletThe Jakarta Post
bulletS. China Morning Post
bulletChina Daily CN
bulletTaipei Times TW
bulletYomiuri Shimbun JP
bulletThe Asahi Shimbun JP
bulletThe times of India
bulletAl Jazeera
bulletThe Guardian UK
bulletThe Times UK
bulletBBC News UK
bulletLe Monde FR
bulletDie Welt DE
bulletLa Nacion Line AR
bulletThe New York Time
bullet USA today
bulletThe Washington Post
bulletThe wall street Journal
bulletOnline Newspaper Di.tory
dot
ธนาคารต่างๆ
dot
bulletธ.กรุงเทพ
bulletธ.กรุงไทย
bulletธ.กรุงไทย ชาริอะฮ์
bulletธ.กรุงศรีอยุธยา
bulletธ.กสิกรไทย
bulletธ.ซิติ้แบงค์
bulletธ.ดีบีเอส ไทยทนุ
bulletธ.ทหารไทย
bulletธ.ธนชาต
bulletธ.นครหลวงไทย
bulletธ.ยูโอบี รัตนสิน
bulletธ.สแตนดาร์ด ช. นครธน
bulletธ.อิสลามแห่งประเทศไทย
bulletธ.เอเซีย
bulletธ.ไทยธนาคาร
bulletธ.ไทยพาณิชย์
bulletพระคาถาชินบัญชร*
bulletพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา*


เชิญค่ะ


 ดูหนังสือ สอบถาม
 สั่งซื้อ

eXTReMe Tracker

 ชาติ                                           

นานาทรรศนะ 
เสนอร่างรัฐธรรมนูญ
ปกิณกะ
เหตุการณ์ในอดีต 
เรื่องของไทยในอดีต 
เรื่องของชนชาติไทย
ภูมิศาสตร์ของไทย 
ก่อนสมัยสุโขทัย 
กรุงสุโขทัย
กรุงศรีอยุธยา
กรุงเทพมหานคร
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
อุทยานประวัติศาสตร์
เมืองเก่าของไทย
ทำเนียบหัวเมือง
การทหารของไทย
ธงชัยเฉลิมพล
ทหารรักษาพระองค์
ทหารอาสาต่างชาติ 
รู้เรื่องเมืองสยาม 
ประเทศเพื่อนบ้านของไทย()
ความสัมพันธ์ไทย-อเมริกัน 
เหตุการณ์ปี ร.ศ.๑๑๒
เหตุการณ์ปี ๒๔๗๕
กรณีพิพาทอินโดจีน
การรบที่กาะช้าง
สงครามมหาเอเซียบูรพา
สงครามเกาหลี 
สงครามเวียตนาม 
กรณีปราสาทพระวิหาร
กรณีโรฮิงยา
ความไม่สงบชายแดนภาคใต้
อนุสาวรีย์วีรชน 
สารานุกรมฉบับย่อ()
ตัวหนังสือไทย
เรียนหนังสือไทยสมัยก่อน 
รามเกียรติ์ 
ขุนช้าง ขุนแผน
พระอภัยมณี
นิราศ
กาพย์เห่เรือ
สุภาษิตไทย
ธรรมเนียมประเพณีไทย 
โหราศาสตร์ไทย 
เพลงไทยให้สาระ
เงินตราไทย
เครื่องดนตรีไทย
หมากรุกไทย
มวยไทย
สมุนไพรไทย
พันธุ์ไม้ดอกไทย
นกในประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติ
 
ทางบก
 ทางทะเล
เที่ยวทั่วไทย 
เที่ยวไปชมไป

 ศาสนา                                     

การบริหารคณะสงฆ์
การศึกษาพระปริยัติธรรม
กฎหมายพระสงฆ์ของไทย
สมเด็จพระสังฆราช
ทำเนียบสมณศักดิ์
พัดยศสมณศักดิ์
คณะสงฆ์จีนนิกาย
คณะสงฆ์อนัมนิกาย
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปประจำวัน
พระธาตุเจดีย์
พระพุทธบาท
พระแท่น
พระไตรปิฎก
การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
การบัญญัติพระวินัย
โสพัสปัญหา
พุทธประวัติ
พระอสีติมหาสาวก
พุทธศาสนสุภาษิต
พุทธานุวัตร
วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนพิธี
พระป่าและวัดป่า
พุทธศาสนาในปัจจุบัน
ภัยแห่งพุทธศาสนา
ศาสนาต่างๆในไทย)

  พระมหากษัตริย์                      

พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย
พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
พระมหากษัตริย์สมัยธนบุรี
พระบรมราชจักรีวงศ์
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล
พระราชลัญจกร
เครื่องราชกกุธภัณฑ์
ธงในองค์พระมหากษัตริย์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
น้ำอภิเษก
พระราชพิธีสิบสองเดือน
พระราชานุกิจ
จอมทัพไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เหรียญอันเนื่องจากการรบ
พระบรมมหาราชวัง
ประชุมพงศาวดาร
ราชการสงครามฯ
งานกู้ชาติฯ
ประชุมพระราชปุจฉา
พระราชหัตถเลขา ใน ร.๔
พระบรมราโชบายฯ ร.๕
พระราชดำรัส ใน ร.๕
พระราชนิพนธ์ ใน ร.๖
ร.๖ กับการป้องกันประเทศ
พระราชดำริใน ร.๗
พระบรมราโชวาท

 มุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทย์และเทคโน
ศูนย์เทคโนอีเลคทรอนิกส์และคอมแห่งชาติ
เว็บการเรียนรู้วิทย์และเทคโนร.ร.ในชนบท
ดาราศาสตร์สำหรับคนไทย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ
แหล่งความรู้วิศวโยธา,เครื่องกลและขนส่ง
โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ[lesa]
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนแห่งไทย
องค์การพิพธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดูดาวดอทคอม
รวมบทความด้านวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
นิยายวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์น่ารู้

 

 มุมศาสนาต่างๆ                      

สำนักข่าวชาวพุทธ
มุสลิมไทยไซเบอร์เน็ต
หนังสือธรรมะออนไลน์
ธรรมะไทย
มุสลิมแคมปัสดอทคอม
โบสถ์คริสเตียนไทยอเมริกา
กัลยาณมิตร
เสขิยธรรม
มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
หลวงตามหาบัว
พุทธทาสศึกษา
พระรัตนตรัย
เครือข่ายสาระธรรมอิสลาม
มูลนิธิศุภนิมิตไทย
พระคริสตธรรมไทย

 10 อันดับเว็บข้อมูล อ้างอิง        

 www.google.co.th สุดยอดเว็บในการหาข้อมูล
 
www.glo.or.th สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
 
www.siamguru.com บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ
 
www.truehits.net เว็บแสดงสถิติการเยี่ยมชม
 
lexitron.nectec.or.th ดิกชันนารีออนไลน์
 
www.yellowpages.co.th สมุดหน้าเหลืองออนไลน์
 
www.police.go.th สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 
phonebook.tot.or.th ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์
 
www.trainingthai.com ข่าว,ข้อมูลการฝึกอบรมสัมมนาต่างๆ
 
www.khonthai.com แหล่งข้อมูลด้านทะเบียนราษฎร์ต่างๆ



อายนางศ์ article

 

 

บทความข้างล่างนี้ ลุงแว่นจะแปลเป็นภาษาไทย เมื่อมีเวลาครับ

Ayanamsa is the sanskrit term for the longitudinal difference between the tropical or Sayana and sidereal or Nirayana zodiacs. It is defined as the angle by which the sidereal ecliptic longitude of a celestial body is less than its tropical ecliptic longitude.

  • The sidereal ecliptic longitude of a celestial body is its longitude on the ecliptic defined with respect to the "fixed" stars.
  • The tropical ecliptic longitude of a celestial body is its longitude on the ecliptic defined with respect to the vernal equinox point.

Since the vernal equinox point precesses westwards at a rate of 50".29 per year with respect to the fixed stars, the longitude of a fixed body defined with respect to it will increase slowly. On the other hand, since the stars "do not move" (this ignores the effect of proper motion) the longitude of a fixed body defined with respect to them will never change.

Today's astronomical calculations always use tropical longitudes, but certain schools of astrology, notably the Vedic school of astrology use sidereal longitude. Hence, when the proponents of these schools of astrology use modern astronomical calculations to determine the position of celestial bodies, they need to take into account the difference caused by the different reference point used in specifying the longitude, and this they call the ayanamsha.

From the Hindu word ayana which means the arc it translates literally as "yearly degree" and more precisely as precession. It describes the increasing gap between the tropical and sidereal zodiacs. The ayanamsa, changes continually through the Precession of the Equinoxes at the rate of approximately 50" a year, is currently about 24°.

Western Astrologers Fagan and Bradley computed it at 24 degrees in 1950 but there are various values in use in India. Differences arise because of the indefinite ancient boundaries of the constellation of Aries.

Ayanamsha is a Sanskrit word and is to be pronounced with the third "a" long, so: "Ayanaamsha". It is a compound word composed of the words "ayana" and "amsha" where "ayana" means "precession" and "amsha" means "component".

พล.อ.ต.สุกษม เกษมสันต์

 “อยนางศ” หรือที่สมาคมโหรแห่งประเทศไทย ใช้ว่า “อายนางศ” เป็นคำค่อนข้างใหม่สำหรับวงการโหราศาสตร์ไทย เชื่อได้ว่ายังมีผู้อ่าน “พยากรณสาร” จำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ใคร่ทราบเรื่องราวดี ฉะนั้นผู้เขียนจึงได้เรียบเรียงเรื่องนี้ขึ้น เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
 
ก่อนอื่น ผู้เขียนจำต้องขออภัยต่อสมาคมโหรแห่งประเทศไทย (ซึ่งผู้เขียนก็เป็นสมาชิกด้วยผู้หนึ่ง) ในการที่มาริอ่านใช้คำ “อยนางศ” แทนคำที่สมาคมฯ ใช้เป็นบรรทัดฐานอยู่แล้ว เหตุผลก็มีอยู่เพียงประการเดียว กล่าวคือ ใคร่จะรักษารูปศัพท์เดิมในภาษาสันสกฤตไว้ จาก A Sanskrit English Dictionanry ของ Sir Monier-Williams ผู้เขียนได้ตรวจพบว่าคำนี้ต้องเขียนว่า “อยนางศ” จึงจะเป็นการถอดภาษาสันสกฤตที่ถูกต้อง ผู้เขียนขอถือโอกาสนี้เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการของสมาคมโหรแห่งประเทศไทยว่า ถ้าหากจะพิจารณาการเขียนคำสันสกฤตต่างๆ ที่ใช้กันเสียใหม่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่นักศีกษาวิชานี้มาก
 
คำ “อยนางศ” มาจากคำสันสกฤตสองคำคือ “อยน” กับ “อํศ” สำหรับ “อยน” นั้นแปลได้หลายอย่าง ถ้าเป็นภาษาธรรมดาก็อาจแปลได้ว่า การเดิน หรือถนน หรือทางเดิน ส่วนในทางดาราศาสตร์อาจแปลได้ว่า การเดินล่วงหน้า, การร่น (ของวิษุวัต) (Precession); วิถีของดวงอาทิตย์ทางเหนือหรือทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรฟ้า (กล่าวคือ อุตตรายน และทักษิณายน); ครึ่งปี; จุดกลางวันกลางคืนเท่ากัน และจุดปัดเหนือสุดและใต้สุดของดวงอาทิตย์ ส่วนคำ “อยนางศ” ก็แปลว่า “ปริมาณการร่น (ของวิษุวัต)”
 
คำแปลที่ให้ไว้ข้างบนนี้ บางทีจะยังไม่ชัดเจนนักสำหรับท่านผู้อ่านทั่วๆ ไป เพื่อให้เป็นที่เข้าใจดีขึ้นอีก จึงขออธิบายเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
 
เมื่อเรามองไปในฟากฟ้า เราเห็นคล้ายกับว่าดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ฯลฯ ทั้งหลายนั้นติดอยู่กับด้านในของลูกกลมกลวงขนาดมหึมาซึ่งล้อมอยู่รอบโลก ลูกกลมสมมุตินี้ฝรั่งเขาเรียก Celestial Sphere) และในภาษาไทยอาจเรียกว่า ทรงกลมฟ้า หรือทรงกลมสวรรค์ก็ได้ ถ้าต่อแกนของโลกออกไปจนถึงทรงกลมฟ้า แกนโลกก็จะไปพบกับขั้วเหนือและขั้วใต้ของทรงกลมฟ้าพอดี และถ้าต่อพื้นราบหรือระนาบที่บรรจุเส้นศูนย์สูตรของโลกออกไปก็จะตัดกับทรงกลมฟ้าตรงเส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดีเหมือนกัน
 
โลกเราเดินรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา แต่โดยที่เราอยู่บนโลก จึงเห็นเสมือนกับว่าดวงอาทิตย์นั้นเดินรอบโลก มีขึ้นมีตกเป็นประจำวัน และนอกจากนั้นยังเคลื่อนที่ไปในระหว่างดวงดาวอีกด้วย เส้นทางที่เราเห็นดวงอาทิตย์เดินไปในระหว่างดวงดาวนี้ ทางดาราศาสตร์สากลเรียกว่า “Ecliptic” ซึ่งในภาษาไทยจะเรียกว่า “ทางเดินปรากฏของดวงอาทิตย์” หรือจะเรียกให้สั้นลงอีกหน่อยว่า “สุริยวิถี” ก็คงจะได้ เราเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางโค้งนี้วันละประมาณหนึ่งองศาโดยเฉลี่ย และดวงอาทิตย์จะเดินบรรจบครบรอบ คือกลับมาถึงจุดเดิมในฟากฟ้าอีกครั้งหนึ่งในเวลา ๓๖๕ วันเศษ
 
ในบริเวณใกล้เคียงกับสุริยวิถีนี้ เราจะเห็นมีดาวฤกษ์และดาวเคราะห์เรียงรายกันอยู่มาก โดยเฉพาะดาวเคราะห์สำคัญๆ จะอยู่ห่างเส้นทางเดินปรากฏของดาวอาทิตย์ไม่เกิน ๘ หรือ ๙ องศา ดังนั้นนักดารา-โหราศาสตร์ตั้งแต่สมัยโบราณจึงได้สมมุติแถบฟ้าขึ้นแถบหนึ่ง กว้าง ๑๖ หรือ ๑๘ องศา (แล้วแต่ตำราของใคร) โดยกำหนดให้สุริยวิถีอยู่ตรงกลางแถบฟ้านี้พอดี ฝรั่งเขาเรียกแถบฟ้สมมุตินี้ว่า Zodiac เป็นคำมีรากมาจากภาษากรีก ซึ่งถ้าจะแปลก็ได้ความว่า “วงกลมแห่งสัตว์” ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่า นักปราชญ์โบราณแบ่งกลุ่มดาวในแถบฟ้านี้ออกเป็น ๑๒ กลุ่ม (Constellations) และเอาชื่อสัตว์ (และมนุษย์) ไปตั้งให้กับกลุ่มดาวเหล่านี้ ยกเว้นแต่กลุ่มเดียวเท่านั้นที่ให้ชื่อว่า Libra แปลว่า “ตราชู” * คำ Zodiac นี้ ทางฮินดูเรียกเป็นภาษาสันสกฤตว่า “ภาจักร” แปลว่า “วงกลมแห่งแสง” ส่วนทางไทยเรียกกันว่า “จักรราศี” เป็นการจัดเรียงคำตามหลักภาษาไทย หมายถึงจักรหรือวงกลมแห่งราศี ไม่ใช่ราศีแห่งจักร อย่างไรก็ดี คำจักรราศีนี้อาจไปปะปนกับ “ราศีจักร” ซึ่งสมัยนี้นิยมใช้ หมายถึงดวงที่ผูกขึ้นแสดงตำแหน่งของดาวเคราะห์ในราศี ฉะนั้นผู้เขียนจึงขอเรียกแถบฟ้าสมมุตินี้ว่า “นักษัตรจักร”
 
เนื่องจาก นักษัตรจักร เป็นแถบฟ้าสมมติซึ่งอาศัยสุริยวิถีเป็นแนวกึ่งกลาง ฉะนั้นจึงมีรูปเป็นวงกลมตามสุริยวิถีไปด้วย และเมื่อเป็นวงกลมก็เท่ากับว่าไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดปลายที่แท้จริง ดังนั้นนักดาราศาสตร์ก็ดี นักโหราศาสตร์ก็ดี จึงจำเป็นต้องกำหนดจุดหนึ่งจุดใดขึ้นเป็นจุดอ้างอิงเพื่อจะได้วัดระยะต่างๆ จากจุดที่กล่าวนี้ได้
 
ในการ “เดิน” ของดวงอาทิตย์ไปตามสุริยวิถีนั้น เส้นทางจะไปตัดกับแนวศูนย์สูตรฟ้า ณ ตำบล ๒ แห่ง ทั้งนี้ก็เพราะว่าพื้นราบหรือระนาบที่บรรจุสุริยวิถี กับพื้นราบหรือระนาบที่บรรจุเส้นศูนย์สูตรฟ้านั้นทำมุมกันอยู่ประมาณ ๒๓ ๑/๒ องศา จุดตัดกันทั้ง ๒ แห่งนี้ แต่ละจุดเรียกว่า Equinox หมายความว่าเมื่อดวงอาทิตย์มาถึงจุดหนึ่งจุดใดที่กล่าวนั้นแล้ว ระยะเวลากลางวันจะเท่ากับระยะเวลากลางคืน สำหรับจุดที่ดวงอาทิตย์ผ่านขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้ามีชื่อกำหนดไว้ว่า Vernal Equinox หรือ Spring Equinox ซึ่งฮินดูและไทยเรียกว่า “วสันตวิษุวัต” ส่วนจุดที่ดวงอาทิตย์ผ่านลงไปทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรฟ้ามีชื่อเรียกว่า Autumnal Equinox ซึ่งฮินดูและไทยเรียกว่า “ศราทวิษุวัต”
 
จุดวสันตวิษุวัตเป็นจุดสำคัญมากสำหรับโหราศาสตร์สากลแบบมาตรฐาน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของราศีเมษ (เอรีส์) ของเขา จุดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า First Point of Aries กล่าวคือ จุดแรกแห่งเอรีส์ โหราศาสตร์สากลแบบมาตรฐานแบ่งนักษัตรออกเป็น ๑๒ ส่วน ๆ ละ ๓๐ องศา และเรียกแต่ละส่วนที่แบ่งนั้นว่า Sign ซึ่งเทียบได้กับราศีของฮินดูและไทย ระยะ ๓๐ องศาแรกนับจากจุดแรกแห่งเอรีส์ก็คือราศี Aries (เอรีส์) ระยะ ๓๐ องศาต่อๆ ไปก็คือราศีพฤษภ Taurus เมถุน Gemini ฯลฯ จนกระทั่งถึงมีน Pisces อันเป็นราศีที่ ๑๒ นี่ก็เป็นการตั้งชื่อราศีตามชื่อกลุ่มดาวในนักษัตรจักรนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะว่าในสมัยที่ทำการตั้งชื่อนั้น ราศีดังกล่าวอยู่ตรงกับกลุ่มดาวชื่อเดียวกันนั้นพอดี ส่วนทางโหราศาสตร์ฮินดูก็แบ่งภาจักรของเขาออกเป็น ๑๒ ราศีเท่าๆ กันเหมือนกัน เรียกตามภาษาสันสกฤตว่า ราศีเมษ พฤษภ มิถุน กรกฏ สิงห์ กันยา ตุลา พฤศจิก ธนุส มกร กุมภ และมีน ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังจัดแบ่งกลุ่มดาวในภาจักรเป็น ๒๗ กลุ่ม หรือนักษัตร โดยกำหนดให้นักษัตรหนึ่งๆ มีระยะ ๑๓ องศา ๒๐ ลิปดาอีกด้วย แต่ว่าโหราศาสตร์ฮินดูมิได้ใช้จุดวสันตวิษุวัตเป็นที่หมายของจุดเริ่มแรกของภาจักร หากแต่ได้กำหนดเอาจุดๆ หนึ่งในฟากฟ้า ซึ่งกล่าวว่าตรงกับจุดแรกของกลุ่มดาวอัศวินีเป็นที่เริ่มต้นจุดที่ว่านี้เรียกกันว่า “จุดแรกแห่งเมษ” ซึ่งในสมัยโบราณเชื่อกันว่าเป็นจุดคงที่ไม่มีวันเลื่อนไปอยู่ที่อื่น เพราะได้โยงยึดไว้กับดาวฤกษ์ซึ่งถือกันว่าไม่มีการเคลื่อนที่ไปทางไหน ในสมัยหนึ่งในอดีตจุดแรกแห่งเอรีส์ได้เคยอยู่ ณ จุดเดียวกันกับจุดแรกแห่งเมษอยู่นั่นเอง และในขณะที่อยู่ด้วยกันนั้นราศีเอรีส์ถึงบิสซีสของโหราศาสตร์สากลแบบมาตรฐาน ก็อยู่ตรงกับราศีเมษถึงมีนของโหราศาสตร์ฮินดูพอดี หมายความว่าครั้งหนึ่งในอดีตนักษัตรจักรแบบสากลกับฮินดูไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย
 
สิ่งที่ทำให้นักษัตรทั้งสองแบบเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นก็คือ การที่วสันตวิษุวัตไม่อยู่คงที่ แต่มีการร่นไปทางตะวันตกอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะเป็นปีละเล็กน้อยก็ตาม สาเหตุก็เนื่องมาจากว่าในขณะที่โลกโคจรไปรอบดวงอาทิตย์นั้น โลกมีการหมุนรอบแกนของตัวเองด้วย แต่แกนของโลกทำมุมเอียงอยู่กับแนวดิ่งประมาณ ๒๓ ๑/๒ องศา ฉะนั้นในขณะที่หมุนไปรอบแกนจึงมิได้หมุนอย่างที่เรียกว่านอนวัน แต่มีอาการควงคล้ายๆ ลูกข่างเวลาอ่อนแรง อาการควงนี้ทำให้แกนของโลกวาดรูปวงกลมขึ้นในท้องฟ้า แต่ว่าเป็นการวาดอย่างช้าๆ กล่าวคือ ๒๕,๘๐๐ ปีจึงจะวาดได้บรรจบครบรอบหนึ่ง การที่แกนของโลกมีอาการควงนี่เองจึงทำให้ขั้วทรงกลมฟ้าเปลี่ยนที่ไปด้วย เพราะขั้วทรงกลมฟ้าก็คือ จุดซึ่งแกนของโลกเมื่อต่อออกไปจะไปทิ่มถูกทรงกลมฟ้าดังที่กล่าวข้างต้น และเมื่อขั้วทรงกลมฟ้าเปลี่ยนที่เส้นศูนย์สูตรฟ้าก็เปลี่ยนที่ไปด้วย เป็นผลให้สุริยวิถีไปตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเร็วขึ้นกว่าควร หรืออีกนัยหนึ่งจุดวิษุวัตจะร่นไปข้างหลังที่เดิมทุกขณะ ซึ่งหมายความว่าจุดแรกแห่งเอรีส์จะถอยห่างออกไปจากจุดแรกแห่งเมษทุกขณะด้วย ปริมาณการร่นของวิษุวัตไปจากที่เดิมก็คือ “อยนางศ” ซึ่งในทางโหราศาสตร์จะกล่าวว่าเป็นระยะห่างกันที่วัดเป็นองศาระหว่างจุดแรกของเมษ กับจุดแรกของเอรีส์ก็ได้
 
โดยที่โหราศาสตร์สากลแบบมาตรฐานใช้ระบบนักษัตรจักร ซึ่งมีจุดแรกแห่งเอรีส์เปลี่ยนที่อยู่เป็นนิจนี่แหละ จึงทำให้เกิดการเรียกชื่อระบบนั้นว่าระบบนักษัตรจักรเคลื่อนที่ หรือระบบนักษัตรจักรแบบสายน (ส + อยน = สายน หมายความว่ามีการคำนึงถึงการร่นถอยของวิษุวัตด้วย) ส่วนระบบนักษัตรจักรซึ่งตรึงไว้กับกลุ่มดาว ก็กลายเป็นระบบนักษัตรจักรคงที่ หรือระบบนักษัตรจักรแบบนิรายน (นิร + อยน = นิรายน หมายความว่าไม่เอาอาการร่นถอยของวิษุวัตมาคำนึงถึง)
 
แต่เดิมทางฮินดูคำนวณตำแหน่งของอาทิตย์ จันทร์ และดาวเคราะห์ต่างๆ จากบรรดาคัมภีร์สิทธานต ซึ่งมีขึ้นชื่ออยู่ ๕ คัมภีร์ แต่มาในสมัยหลังๆ ปรากฏว่าการคำนวณตามวิธีในสิทธานตต่างๆ นั้น ได้ผลไม่ละเอียดแน่นอนเท่าวิธีคำนวณแบบดาราศาสตร์สากล ซึ่งมีเครื่องมือทันสมัยกว่า ฉะนั้นจึงได้หันมาใช้วิธีหลังนี้ แล้วหักหรือตัด “อยนางศ” ออกให้ได้ตำแหน่งดาวเคราะห์ตามระบบนักษัตรจักรนิรายน ส่วนทางไทยแต่เดิมก็ใช้วิธีคำนวณโดยอาศัยคัมภีร์พระสุริยยาตร ซึ่งสันนิษฐานว่าได้หลักเกณฑ์มาจากสิทธานตต่างๆ ของฝ่ายฮินดูเหมือนกัน ฉะนั้น ทางสมาคมโหรแห่งประเทศไทยจึงได้หันมาใช้วิธีตัดอยนางศ จากปฏิทินดาราศาสตร์สากลในการทำปฏิทินโหรประจำปีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๑
 
วิธีตัดอยนางศเป็นวิธีที่รัดกุมดี แต่สิ่งที่ไม่รัดกุมอยู่ตรงทีว่า อยนางศที่ถูกต้องในขณะหนึ่งขณะใดนั้นมีค่าเท่าไร นักโหราศาสตร์ระบบนักษัตรจักรนิรายนทุกชาติทุกภาษายังไม่ค่อยลงรอยกันดี ทั้งนี้ก็เพราะยังตกลงกันไม่ได้ว่า จุดแรกแห่งเมษแต่ดั้งเดิมนั้นอยู่ที่ตรงไหน หรือว่านักษัตรจักรแบบนิรายนกับสายนนั้นทับกันสนิทเมื่อใด ดังนั้นอยนางศที่มีใช้กันอยู่สำหรับปีปัจจุบันจึงมีค่าตั้งแต่ ๑๙ องศาไปจนถึง ๒๘ องศา สำหรับในประเทศอินเดียรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น และได้กำหนดการคำนวณขึ้นเป็นมาตรฐาน แต่กระนั้นก็มีหลายคณะที่ไม่ยอมใช้อยนางศตามที่ทางการกำหนด แต่ปฏิทินซึ่งนายลาหิรีจัดพิมพ์และมีแพร่หลายในประเทศไทยนั้นใช้อยนางศแบบทางการ สมาคมโหรแห่งประเทศไทยก็ใช้อยนางศตามแบบเดียวกันนี้เอง
 
ปัญหาว่าอะไรเป็นอยนางศที่ถูกต้องนั้น ยังเป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่แม้กระทั่งบัดนี้ ถ้ามีโอกาสจะได้เขียนมาสู่กันอ่านอีก

ขอขอบคุณเว็บ อ.โรจน์ มา ณ ที่นี้ด้วย บทความนี้ผมได้นำมาจากเว็บของอ.โรจน์






เรื่องการตั้งชื่อใหม่คุณสุชาภัทร
เรื่องรักๆลับๆของหนุ่มสาวราศีต่างๆ article
Standby โฮมเพจ article
ภาพตัวอย่างดวงฤกษ์พิชัยสงครามพร้อมชื่อ(และหรือนามสกุล)ใหม่ article
แบบฟอร์มดวงฤกษ์พิธีมงคลต่างๆ article
แบบฟอร์มฤกษ์หมั้น สวมมงคล รดน้ำสังข์ ปูลาดเรียงหมอนและส่งตัว article
Logo for BBZ board article
แบบฟอร์มดวงฤกษ์คลอดบุตร article
Standby for บริการที่ row menu article
Standby for banner Unclewan99 article
Standby for banner Unclewan999 size 60 x 468 article
Standby for the head article
Standby บทความจากหอมรดกไทย article
Standby โฮมเพจด้านซ้าย article
ศาสตร์แห่งปัญญาเพื่อชีวิต article



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.