ภาพดวงจักรราศี |
แสดงตำแหน่งลัคนาและภพต่างๆ |

|
วิชาโหราศาสตร์ เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่นับได้ว่ามีอายุยาวนาน และอยู่คู่วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาช้านานจวบจนปัจจุบัน ในยุคที่ความเจริญก้าวหน้าเข้ามามีส่วนในชีวิต แต่ศาสตร์นับแต่ยุคโบราณแขนงนี้ก็ยังผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคน
โหราศาสตร์ ตรงกับภาษากรีกว่า Astrology เป็นคำศัพท์เฉพาะมาจากคำว่า Astro ซึ่งแปลว่า ดวงดาว กับอีกคำหนึ่งว่า Logic ซึ่งแปลว่า ตรรกศาสตร์ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น Astrology แปลว่า ศิลปะที่ว่าด้วยดวงดาวที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์
คำว่า โหราศาสตร์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำจำกัดความไว้ว่า โหร แปลว่า หมอดูฤกษ์ ผู้ชำนาญทางดาราศาสตร์เกี่ยวกับการพยากรณ์ โหราศาสตร์ แปลว่า ตำราว่าด้วยวิชาโหร
มนุษย์เกิดและดำรงอยู่ได้ด้วยกรรมหรือผลแห่งกรรม โหราศาสตร์ คือ เครื่องมือช่วยให้สามารถอ่านกรรมของแต่ละคนได้ เริ่มตั้งแต่อุปนิสัยใจคอ จุดเด่นจุดด้อย วาสนา โชค และเคราะห์ของแต่ละชีวิต
เรื่องของกรรมลิขิตนั้น ทุกชีวิตเปรียบเสมือนเรือที่ประกอบด้วยร่างและวิญญาณ การดำเนินชีวิตจึงเปรียบได้กับเรือที่กำลังโต้คลื่น ด้วยกฎแห่งกรรม บางครั้งก็ราบเรียบ บางครั้งก็ต้องพบกับมรสุมชีวิตหรือคลื่นลูกใหญ่
จักรราศี horoscope การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ นักปราชญ์ในสมัยโบราณ ได้กำหนดให้การโคจรของดวงอาทิตย์บนระนาบเส้นสุริยวิถี ซึ่งโคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ ออกเป็น 12 กลุ่ม โดยใช้การโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปี เป็นเกณฑ์ในการคำนวน โดยกำหนดว่า ดวงอาทิตย์โคจร 1 ปี 365 วัน ผ่านกล่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้เวลาโคจรประมาณ 1 เดือน และกำหนด 1 กลุ่มดาวฤกษ์ เรียกว่า 1 ราศี รวมทั้งหมดเป็น 12 เดือน 12 ราศี เรียกว่า จักรราศี แต่ละราศีมีอาณาเขต 30 องศา
คลิกอ่าน กำเนิดจักรราศี

นักโหราศาสตร์ได้กำหนดจักรราศีขึ้นเป็นดวงชะตา โดยการคำนวณตำแหน่งที่สถิตของลัคนาจากเวลาเกิด
คลิกอ่าน วิธีคำนวณสมผุสลัคนา เวลาเกิดตรงกับราศีใด ราศีนั้นเป็นที่สถิตของลัคนา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตของมนุษย์ทุกคน และได้จำลองตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ต่างๆที่โคจรอยู่ในระบบสุริยจักรวาล ลงไว้ในดวงชะตา เพื่อผลแห่งการพยากรณ์ โดยกำหนดเรื่องราวต่างๆของชีวิตมนุษย์ออกเป็น 12 ภพ ดังนี้
1.ภพตนุ .................. |
คือ ภพที่สถิตของลัคนา เป็นภพตั้งต้น เป็นภพที่ 1 ในดวงชะตา หมายถึง ความเป็นตัวตนหรือชีวิตของเจ้าชะตา วาสนาและพฤติกรรม |
2.ภพกฎุมภะ |
หมายถึง เรื่องการเงิน ทรัพย์สมบัติ ฐานะ รายได้หรือรายจ่าย การทำมาหากิน |
3.ภพสหัชชะ |
หมายถึง เพื่อนฝูง เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง พี่น้องร่วมสายโลหิต การสังคม การตกลง การนัดหมาย การติดต่อ ข่าวคราว การพบปะ การเยี่ยมเยียน การเดินทางใกล้ๆ การปรับปรุง การแก้ไข การเจรจา |
4.ภพพันธุ |
หมายถึง ญาติพี่น้อง วงศ์ตระกูล เผ่าพันธ์ อสังหาริมทรัพย์ มารดา บ้าน ที่ดิน ยวดยานพาหนะ |
5.ภพปุตตะ |
หมายถึง เด็กๆ บุตร สิ่งที่มาใหม่ ความสนุกสนาน ความคึกคะนอง ความยินดี ความริเริ่ม การเกิดหรืออุบัติขึ้น |
6.ภพอริ |
หมายถึง เหตุการณ์ไม่ดีต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ การเจ็บป่วย ความตาย อุบัติเหตุ โชคร้าย อุปสรรค การขัดขวาง ศัตรู คู่อริ การคิดร้าย |
7.ภพปัตนิ |
หมายถึง การร่วมรัก ร่วมชีวิต ซึ่งหมายถึง คู่สมรส หรือ การเป็นสามีภรรยา ครอบครัว การร่วมงาน การร่วมทุน (สุดแต่การร่วมจะผนวกเข้ากับเรื่องใด) เมื่อมีการร่วมก็ย่อมเกิด การแบ่งปัน จึงหมายถึง การแบ่งส่วน ผ่อนส่ง จัดสรร คู่สัญญา ส่วนแบ่ง |
8.ภพมรณะ |
คือ ภพที่ 8 จากลัคนา หมายถึง เหตุการณ์ต่างๆเกี่ยวกับความตาย ความสิ้นสุด การสูญเสีย การหมดสภาพ การจากไปไม่กลับ พลัดพราก หย่าร้าง |
9.ภพศุภะ |
หมายถึง ความดีงาม ความราบรื่น ความร่มเย็นเป็นสุข ศีลธรรม ความสุขในคัลลองชีวิตประจำวัน การกุศล อุดมคติ ความรับผิดชอบ ผู้ใหญ่ ที่พึ่ง การศึกษาชั้นสูงเมื่อชีวิตพ้นวัยเด็กแล้ว การเดินทางค้างแรม การเดินทางไกล หมายถึงการเดินทางไปต่างประเทศด้วย ชีวิตในวัยสูงอายุ ความช่วยเหลือปกป้องคุ้มครอง การศาสนา |
10.ภพกัมมะ |
หมายถึง อาชีพการงาน ภาระกิจการกระทำ ฐานะทางสังคม โชคชะตาจากผลแห่งกรรม |
11.ภพลาภะ |
หมายถึง ความหวัง ความสำเร็จ ได้ลาภ ได้โชค ความเจริญรุ่งเรื่อง ความอุดมสมบูรณ์ การขยายตัว ชนะในสิ่งที่มุ่งหวัง การแสวงหาเพิ่มมากขึ้น การแสวงหาความสำเร็จ |
12.ภพวินาศ |
หมายถึง เหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสีย ความหมดสิ้น การทำลาย หมดความหวัง ความพินาศ ความหายนะ ความเศร้าโศรกเสียใจ การหมดอิสรภาพ การถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว การถูกทำร้าย |
ที่มาของวันทั้ง 8 ทางทักษาปกรณ์ |
เมื่อกล่าวถึงวันทางจันทรคติ ใครๆก็ย่อมรู้ว่า หมายถึง วันทั้ง 7 ในสัปดาห์ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ ซึ่งตรงกับชื่อดาวเคราะห์ในท้องฟ้า ที่เรามองเห็นอยู่เป็นประจำนั่นเอง แต่เมื่อพูดถึงทักษาประจำวันเกิดแล้ว ในวิชาโหราศาสตร์ไทยเรา มีการเพิ่มดาวเคราะห์ขึ้นมาอีกหนึ่งดวง คือ ราหู หรือโลกที่เราอยู่นั่นเอง ซึ่งนับเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งเหมือนกัน (ความจริงเป็นจุดคราสของดวงจันทร์) ในการเพิ่มดาวเคราะห์ขึ้นมาอีก 1 ดวง รวมกับของเก่า 7 ดวง เลยทำให้ดาวเคราะห์ประจำสัปดาห์เพิ่มเป็น 8 ดวง และถ้าจะให้เพิ่มวันในสัปดาห์เป็น 8 วันจริงๆแล้ว ก็คงทำให้กฎเกณฑ์และมาตรฐานต่างๆที่วางไว้แล้วต้องเปลี่ยนไป จึงได้มีการแบ่งวันพุธ ซึ่งเป็นวันกลางระหว่าง 7 วัน ออกเป็น 2 ส่วน คือ พุธกลางวัน และพุธกลางคืน โดยการนำเอาราหูไปเป็นวันไว้ในภาคกลางคืนของวันพุธ เรียกว่า วันราหู
การเพิ่มวันราหูขึ้นมาอีก 1 วัน เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการที่จะตั้งภูมิพยากรณ์ขึ้นให้ได้ 8 ทิศ คือ |
ภูมิอาทิตย์ |
ตรงกับ |
ทิศอิสาน |
ภูมิจันทร์ |
ตรงกับ |
ทิศบูรพา |
ภูมิอังคาร |
ตรงกับ |
ทิศอาคเณย์ |
ภูมิพุธ |
ตรงกับ |
ทิศทักษิณ |
ภูมิเสาร์ |
ตรงกับ |
ทิศหรดี |
ภูมิพฤหัส |
ตรงกับ |
ทิศปัจจิม |
ภูมิราหู |
ตรงกับ |
ทิศพายัพ |
ภูมิศุกร์ |
ตรงกับ |
ทิศอุดร |
และได้มีการวางสลับกันไป ตั้งแต่ดาวเสาร์ถึงดาวศุกร์ ซึ่งแทนที่จะเป็น ๔-๕- ๖-๗-๘ กลับกลายเป็น ๔-๗-๕-๘-๖ ไป ไม่เรียงกันเหมือนวันในสัปดาห์ ดังนั้น ในการให้ความหมายของทักษาวันเกิดจึงต้องนับเรียงกันไปจากขวาไปซ้าย
แผนผังดาวอัฎฐเคราะห์และทิศประจำภูมิ |

|
ในการใช้ตำแหน่งของดาวเคราะห์ตามภูมิพยากรณ์นี้ โบราณได้กำหนดตำแหน่งของดาวเคราะห์ต่างๆไว้คล้ายกับเรือนชะตาเหมือนกันดังนี้ คือ บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี กาลกิณี รวม 8 ตำแหน่งด้วยกัน คือ เจ้าชะตาจะเป็นใครก็ตาม เมื่อเกิดมาในวันไหน ก็ถือเอาวันนั้นเป็นตำแหน่งที่ตั้งต้นภูมิชะตา ดังเช่น
ตัวอย่าง คนเกิดวันเสาร์ เราก็นับจากวันเสาร์เป็นจุดเริ่มต้น คือ
ดาวเสาร์ ๗ |
เป็นบริวาร |
ดาวพฤหัส ๕ |
เป็นอายุ |
ดาวราหู ๘ |
เป็นเดช |
ดาวศุกร์ ๖ |
เป็นศรี |
ดาวอาทิตย์ ๑ |
เป็นมูละ |
ดาวจันทร์ ๒ |
เป็นอุตสาหะ |
ดาวอังคาร ๓ |
เป็นมนตรี |
ดาวพุธ ๔ |
เป็นกาลกิณี |
ถ้าสมมุติว่า เจ้าชะตาเกิดวันพฤหัส ก็นับที่ดาวพฤหัส ๕ เป็นบริวาร ราหู ๘ เป็นอายุ วนไปเรื่อยจากขวาไปซ้าย จนถึงดาวเสาร์ ๗ เป็นกาลกิณี ซึ่งการนับหลักทักษาตามภูมิพยากรณ์นี้ ท่านจะเห็นได้ว่า เมื่อถึงศุกร์ ๖ เป็นบริวารแล้ว ก็จะไปลงที่ราหู ๘ เป็นกาลกิณี จึงทำให้ดาวพฤหัสไม่เป็นกาลกิณีต่อวันเกิดของเจ้าชะตาใด เว้นไว้แต่ว่าจะใช้กับคนที่เกิดวันพุธกลางคืน ซึ่งก็ไม่ค่อยนิยมใช้กัน เพราะดูครึ่งๆกลางๆ แต่มีโหรบางท่านก็ใช้อยู่
กฎเกณฑ์ของทักษาทั้ง 8 ข้อนี้ โบราณท่านได้นำมาตั้งเป็นภูมิพยากรณ์ สำหรับพยากรณ์ชะตาชีวิต โดยถือว่า ชะตาของคนเรานั้น ต่างก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของดวงดาวทั้ง 8 ที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้น เมื่อคนเราเกิดมาต่างวันกัน ก็ย่อมได้รับกระแสสัมผัสของดวงดาวที่ต่างตำแหน่งกันออกไป คือ การบันดาลให้เกิดผลดีและชั่วขึ้นตามภูมิพยากรณ์นั้นไม่เหมือนกัน
ทักษา มาจากคำว่า ทักษิณ แปลว่า ทิศใต้ เวียนขวา โดยอ้างบทว่า " ทักษาติทักษิณายเร" หรือ ทักษิณาวรรตเป็นหลัก โดยถือเอาดาวอัฎฐเคราะห์เป็นชื่อทักษา เพราะประพฤติเวียนขวา โดยเริ่มนับตั้งต้นแต่ทิศทักษิณเป็นต้นไป
ภูมิพยากรณ์ หมายถึง ที่ตั้งหรือแดนที่เกิดการพยากรณ์
อัฎฐจักรพยากรณ์ (อัฏฐ หมายถึง 8) คือ การพยากรณ์ด้วยดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง รวมราหูด้วย โดยมีเทวดาอัฎฐเคราะห์ประจำอยู่ทั้ง 8 ทิศ ในทิศตรงกันข้ามจะเป็นคู่ธาตุกันทุกคู่ เรียงดาวศุภเคราะห์และดาวบาปเคราะห์เป็นคู่สมพลสลับกันไปรอบทิศ สรุปความหมายแล้ว สุขกับทุกข์เป็นของคู่กันนั่นเอง
ชื่อดีเป็นศรีแก่ตัว