ReadyPlanet.com
dot dot
bulletHorasaadRevision.com
dot
ห้องโหรแว่นทิพย์
dot
bulletWelcome to foreigners
bulletกำเนิดจักรราศี*
bulletประวัติของวิชาโหราศาสตร์*
bulletวิชาโหราศาสตร์ไทยเบื้องต้น*
bulletกฎเกณฑ์วิชาโหราศาสตร์ไทย*
bulletอันโตนาที*
bulletอายนางศ์*
bulletวิธีคำนวนสมผุสลัคนา*
bulletนัยยะแห่งเรือนราศี*
bulletนัยยะแห่งเรือนชะตา*
bulletนัยยะแห่งดวงดาว*
bulletนัยยะแห่งตำแหน่งดาว*
bulletทิศาพยากรณ์*
bulletโรคาพยากรณ์*
bulletทักษาพยากรณ์*
bullet๑๐๘นวางค์รอบจักรวาล*
bulletวรโคตรนวางค์*
bulletตรียางค์พิษ*
bulletโหรปัตนิและดาวพระศุกร์*
bulletนานาปกรณ์เกี่ยวกับฤกษ์*
bulletเกร็ดโหราศาสตร์*
bulletเคล็ดวิชาต่างๆ*
bulletการทำนายฝันและเคล็ดลับการแก้ฝัน*
bulletพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา*
bulletพระคาถาชินบัญชร*
dot
โหราศาสตร์ไทย ฉบับหอมรดกไทย
dot
bulletตำนานดาวพระเคราะห์
bulletการแบ่งจักรราศี
bulletตำรามหาทักษา
bulletคัมภีร์กาลโยค
bulletลัคนากับดวงชะตา
bulletมาตรฐานดาวเคราะห์
dot
หน้าแบบฟอร์มต่างๆของเว็บไซด์
dot
bulletแบบฟอร์มตั้งชื่อ-นามสกุล
bulletแบบฟอร์มฤกษ์พิธีมงคลต่างๆ
bulletแบบฟอร์มฤกษ์คลอดบุตร
bulletแบบฟอร์มฤกษ์มงคลสมรส
bulletแบบฟอร์มฤกษ์เปลี่ยนชื่อ
bulletแบบฟอร์มห้องเรียนโหร
bulletสมุดเยี่ยม
dot
เกร็ดพยากรณ์..เพื่อความบันเทิง
dot
bulletนิสัยสาว 12 ราศี
bulletทายนิสัยจากเดือนเกิด
bulletจุดร้อนตามราศี
bulletความรักตามวันเกิด
bulletทายนิสัยจากการใส่แหวน
bulletผลไม้ทายนิสัย
bulletความรักตามกรุ๊ปเลือด
bulletอ่านใจหนุ่ม 12 ราศี
bulletผู้ชายเพอร์เฟค
bulletน้ำหอมกับราศี
bulletวิธีมัดใจหนุ่ม-สาวราศีต่างๆ
bulletพยากรณ์ ช-ญ ตามวันเกิด
bulletวันเกิดบอกนิสัยเนื้อคู่ ช-ญ
bulletทำนายเซ็กส์กับราศี
bulletความลับบนเตียง 12 ราศี
bulletเคล็ดลับดูไฝบนกายสาว
bulletทำนายผู้เกิดใน 12 นักษัตร
bulletคู่แต่ง คู่รัก คู่ขา?
bulletทายนิสัยคนใกล้ตัว 17 เรื่อง
bulletดวงของผู้หญิงตามวันเกิด
bulletดู ตัวตน,ชอบ,ยี้ หนุ่มสาว
bulletต้นไม้มงคลกับราศีเกิด
dot
เว็บวาไรตี้ยอดนิยม
dot
bulletwww.sanook.com
bulletwww.kapook.com
bulletwww.mthai.com
bulletwww.ragnarog.in.th
bulletwww.hunsa.com
bulletwww.teenee.com
bulletwww.365jukebox.com
bulletwww.dek-d.com
bulletwww.zuzaa.com
bulletwww.wanjai.com
bulletwww.narak.com
bulletwww.jorjae.com
bulletwww.aromdee.com
bulletwww.deedeejang.com
bulletwww.funwhan.com
bulletwww.saranair.com
bulletwww.madoo.com
dot
หนังสือพิมพ์ไทย-เทศ
dot
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletข่าวสด
bulletคม ชัด ลึก
bulletฐานเศรษฐกิจ
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletไทยโพสท์
bulletแนวหน้า
bulletประชาชาติธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
bulletมติชน
bulletโพสท์ทูเดย์
bulletสยามธุรกิจ
bulletสยามกีฬา
bulletสยามรัฐ
bulletBangkok Post
bulletThe Nation
bulletVoice of America
bulletBBC Thai
dot
Foreign newspaper
dot
bulletNew Straits Time MY
bulletThe Straits Time SG
bulletVientiane Times LAOS
bulletNew Light of Myanmar
bulletThe Daily Tribune PH
bulletThe Manila Times PH
bulletThe Jakarta Post
bulletS. China Morning Post
bulletChina Daily CN
bulletTaipei Times TW
bulletYomiuri Shimbun JP
bulletThe Asahi Shimbun JP
bulletThe times of India
bulletAl Jazeera
bulletThe Guardian UK
bulletThe Times UK
bulletBBC News UK
bulletLe Monde FR
bulletDie Welt DE
bulletLa Nacion Line AR
bulletThe New York Time
bullet USA today
bulletThe Washington Post
bulletThe wall street Journal
bulletOnline Newspaper Di.tory
dot
ธนาคารต่างๆ
dot
bulletธ.กรุงเทพ
bulletธ.กรุงไทย
bulletธ.กรุงไทย ชาริอะฮ์
bulletธ.กรุงศรีอยุธยา
bulletธ.กสิกรไทย
bulletธ.ซิติ้แบงค์
bulletธ.ดีบีเอส ไทยทนุ
bulletธ.ทหารไทย
bulletธ.ธนชาต
bulletธ.นครหลวงไทย
bulletธ.ยูโอบี รัตนสิน
bulletธ.สแตนดาร์ด ช. นครธน
bulletธ.อิสลามแห่งประเทศไทย
bulletธ.เอเซีย
bulletธ.ไทยธนาคาร
bulletธ.ไทยพาณิชย์
bulletพระคาถาชินบัญชร*
bulletพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา*


เชิญค่ะ


 ดูหนังสือ สอบถาม
 สั่งซื้อ

eXTReMe Tracker

 ชาติ                                           

นานาทรรศนะ 
เสนอร่างรัฐธรรมนูญ
ปกิณกะ
เหตุการณ์ในอดีต 
เรื่องของไทยในอดีต 
เรื่องของชนชาติไทย
ภูมิศาสตร์ของไทย 
ก่อนสมัยสุโขทัย 
กรุงสุโขทัย
กรุงศรีอยุธยา
กรุงเทพมหานคร
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
อุทยานประวัติศาสตร์
เมืองเก่าของไทย
ทำเนียบหัวเมือง
การทหารของไทย
ธงชัยเฉลิมพล
ทหารรักษาพระองค์
ทหารอาสาต่างชาติ 
รู้เรื่องเมืองสยาม 
ประเทศเพื่อนบ้านของไทย()
ความสัมพันธ์ไทย-อเมริกัน 
เหตุการณ์ปี ร.ศ.๑๑๒
เหตุการณ์ปี ๒๔๗๕
กรณีพิพาทอินโดจีน
การรบที่กาะช้าง
สงครามมหาเอเซียบูรพา
สงครามเกาหลี 
สงครามเวียตนาม 
กรณีปราสาทพระวิหาร
กรณีโรฮิงยา
ความไม่สงบชายแดนภาคใต้
อนุสาวรีย์วีรชน 
สารานุกรมฉบับย่อ()
ตัวหนังสือไทย
เรียนหนังสือไทยสมัยก่อน 
รามเกียรติ์ 
ขุนช้าง ขุนแผน
พระอภัยมณี
นิราศ
กาพย์เห่เรือ
สุภาษิตไทย
ธรรมเนียมประเพณีไทย 
โหราศาสตร์ไทย 
เพลงไทยให้สาระ
เงินตราไทย
เครื่องดนตรีไทย
หมากรุกไทย
มวยไทย
สมุนไพรไทย
พันธุ์ไม้ดอกไทย
นกในประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติ
 
ทางบก
 ทางทะเล
เที่ยวทั่วไทย 
เที่ยวไปชมไป

 ศาสนา                                     

การบริหารคณะสงฆ์
การศึกษาพระปริยัติธรรม
กฎหมายพระสงฆ์ของไทย
สมเด็จพระสังฆราช
ทำเนียบสมณศักดิ์
พัดยศสมณศักดิ์
คณะสงฆ์จีนนิกาย
คณะสงฆ์อนัมนิกาย
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปประจำวัน
พระธาตุเจดีย์
พระพุทธบาท
พระแท่น
พระไตรปิฎก
การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
การบัญญัติพระวินัย
โสพัสปัญหา
พุทธประวัติ
พระอสีติมหาสาวก
พุทธศาสนสุภาษิต
พุทธานุวัตร
วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนพิธี
พระป่าและวัดป่า
พุทธศาสนาในปัจจุบัน
ภัยแห่งพุทธศาสนา
ศาสนาต่างๆในไทย)

  พระมหากษัตริย์                      

พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย
พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
พระมหากษัตริย์สมัยธนบุรี
พระบรมราชจักรีวงศ์
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล
พระราชลัญจกร
เครื่องราชกกุธภัณฑ์
ธงในองค์พระมหากษัตริย์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
น้ำอภิเษก
พระราชพิธีสิบสองเดือน
พระราชานุกิจ
จอมทัพไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เหรียญอันเนื่องจากการรบ
พระบรมมหาราชวัง
ประชุมพงศาวดาร
ราชการสงครามฯ
งานกู้ชาติฯ
ประชุมพระราชปุจฉา
พระราชหัตถเลขา ใน ร.๔
พระบรมราโชบายฯ ร.๕
พระราชดำรัส ใน ร.๕
พระราชนิพนธ์ ใน ร.๖
ร.๖ กับการป้องกันประเทศ
พระราชดำริใน ร.๗
พระบรมราโชวาท

 มุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทย์และเทคโน
ศูนย์เทคโนอีเลคทรอนิกส์และคอมแห่งชาติ
เว็บการเรียนรู้วิทย์และเทคโนร.ร.ในชนบท
ดาราศาสตร์สำหรับคนไทย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ
แหล่งความรู้วิศวโยธา,เครื่องกลและขนส่ง
โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ[lesa]
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนแห่งไทย
องค์การพิพธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดูดาวดอทคอม
รวมบทความด้านวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
นิยายวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์น่ารู้

 

 มุมศาสนาต่างๆ                      

สำนักข่าวชาวพุทธ
มุสลิมไทยไซเบอร์เน็ต
หนังสือธรรมะออนไลน์
ธรรมะไทย
มุสลิมแคมปัสดอทคอม
โบสถ์คริสเตียนไทยอเมริกา
กัลยาณมิตร
เสขิยธรรม
มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
หลวงตามหาบัว
พุทธทาสศึกษา
พระรัตนตรัย
เครือข่ายสาระธรรมอิสลาม
มูลนิธิศุภนิมิตไทย
พระคริสตธรรมไทย

 10 อันดับเว็บข้อมูล อ้างอิง        

 www.google.co.th สุดยอดเว็บในการหาข้อมูล
 
www.glo.or.th สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
 
www.siamguru.com บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ
 
www.truehits.net เว็บแสดงสถิติการเยี่ยมชม
 
lexitron.nectec.or.th ดิกชันนารีออนไลน์
 
www.yellowpages.co.th สมุดหน้าเหลืองออนไลน์
 
www.police.go.th สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 
phonebook.tot.or.th ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์
 
www.trainingthai.com ข่าว,ข้อมูลการฝึกอบรมสัมมนาต่างๆ
 
www.khonthai.com แหล่งข้อมูลด้านทะเบียนราษฎร์ต่างๆ



ดาวแฝงแสง อ.หมอเถา (วัลย์)

 

 บุษบามีคู่  ยามอัฏฐกาล  กฎแห่งกรรม
 ตั้งชื่อเด็ก  ยามกาลชะตา  ดาวคู่มิตร-คู่ธาตุ
 ห้ามฤกษ์  จับโจร  บุพพกรรมแห่งดาว
 เรียนโหราศาสตร์  ทักษาประสมเรือน  พินทุบาทว์
 ลัคเน  อ่านดาว  ดวงพระ
 ตนุเศษ  นามนี้ ดีไฉน  จุดคราสในดวงชะตา
 ทักษาสมเด็จ  พระเคราะห์ถ่ายเรือน  ดาวบุพพกรรม
 ดาวลอย  ดาวแฝงแสง  ฤกษ์งาม ยามดี
 ดาวสองชั้น  เกณฑ์ชัณษา  ทนายโหราศาสตร์
 ดวงชาวเกาะ  บุตรสุดที่รัก  
 

ขอขอบคุณ คุณนริศรา ที่เอื้อเฟื้อหนังสือ

 

เช้าวันอาทิตย์

เป็นวันว่างครุก้อนและครูสมศักดิ์ จึงพากันทำภัตตาหารมาถวายเพลหลวงตาชื้นผู้เป็นอาจารย์ แม่บ้านครูก้อนถนัดทางทำกับข้าวจึงรับหน้าที่แกงบอนและไข่แมงดาผัดน้ำตาล อาหารโบราณ ข้างครูสมศักดิ์ซึ่งแม่บ้านทำขนมขายเป็นประจำรับหน้าที่ของหวานทำขนมดอกโสน และข้าวกระยาคูเป็นขนมของคนเก่าเช่นกัน

ทั้งครูก้อนและครูสมศักดิ์นั่งพับเพียบข้างวงอาหาร หลวงตาชื้นฉันไปชมไปไม่ขาดปากทั้งคาวหวาน

“เออ..ขอบใจครูทั้งสอง ช่างรู้ใจอาตมาจริงๆ ของชอบมาตั้งแต่หนุ่มๆ ทีเดียว ไม่ใคร่ได้ฉัน เพราะไม่มีใครนเขาใส่บาตรกัน”

ครูสมศักดิ์ยิ้มแย้มดีใจที่หลวงตาฉันเกือบหมด 

“ขนมดอกโสนและข้าวกระยาคูต้องหน้านี้ฝนชุกๆน้ำท่วมนา พอข้าวเริ่มตกรวงต้นโสนก็ออกดอกหาง่าย ปีหนึ่งทำกินได้ครั้งเดียวเท่านั้นขอรับ”

หลวงตาหันมาหาครูก้อน 

“แกงบอนกะไข่แมงดาเขาดีจริง ชวนคอหอยเปิดเป็นพิเศษ พับผ่า อายุยืนไปหลายวัน”

เณรชั้วคลานเข้ามายกถาดภาชนะอาหารคาวหวาน พอตอนยกจานไข่แมงดา ครูก้อนก็สะกิดบอก

“เณรชั้ว ไขแมงดานี่เขาถือกันนะ ถ้าอายุไม่ครบ ๒๑ กินเข้าไปแสลงนัก มีอันเป็นมาแยะอย่างน้อยก็ปวดหัวตัวร้อนหลายๆ วัน”

เณรชั้วรู้ทันความคิดครูก้อนจึงตอบหน้าตาเฉย 

“ไม่เป็นไรหรอกครู หมอเถาเขาเคยบอกยาแก้ไว้ให้ฉันไม่กลัวหรอก”

ครูก้อนปลงคารมนึกว่าเณรชั้วพูดจริงจึงซัก 

“ยาอะไรของเณรชั้ว”

เณรชั้วได้ทีจึงยักคิ้วตอบ 

“ใช้ใบต้น “โกหก” ต้มกินมื้อเดียวก็หาย”

ครูก้อนถูกย้อนรอยก็หัวเราะชอบใจเชาว์ของเณรชั้วที่โต้ตอบทันคน และมิได้ถือสาเพราะรู้นิสัยกันอยู่ หลวงตาเข้านั่งอาสนะประจำที่จุดบุหรี่สูบ และปรารภถึงศิษย์หัวแก้วหัวแหวนที่ขาดจำนวนไปไม่พร้อมหน้า

“หมอเถาไปไหนถึงไม่ได้มาด้วย”

ครูก้อนเป็นคนรู้เรื่องจึงตอบ 

“เห็นว่าไปรับรักษาไข้ทางท้ายบ้านนัยว่าเป็นคนมีฐานะดี รักษาทั้งยาจีนฝรั่งมาอาการไม่ดีขึ้น”

“ขอให้โรคเขาถูกหมอถูกยาเถิด หมอเถาจะได้มีเบี้ยต่ออายุไปได้อีกนาน” 

หลวงตาชื้นพูดด้วยความตั้งใจดี พูดไม่ทันขาดคำ ประตูกุฏิก็เปิดออก คนที่ถูกกล่าวขวัญถึง คือ หมอเถาก็โผล่หน้าเข้ามายิ้มยิงผันขาว สองมือประคองกรงนกคลุมผ้ามิดชิด ค่อยๆ ประจงลอดประตูเข้ามา พอกราบหลวงตาเสร็จก็ถูกซักเหมือนเป็นจำเลย

“นึกว่าไปรักษาไข้ ที่แท้ก็แอบไปเล่นนกอยู่นี่เอง” 

ครูก้อนเอมมือจะเปิดผ้าคลุมกรง 

“นกอะไร ดีหนักหนาหรือถึงคลุมผ้าผ่อนแพรพรรณเสียสวยหรู”

หมดเถารีบตะครุบมือเพื่อนไว้ 

“อย่าเปิดครูก้อน เขาไม่ชอบคนแปลกหน้า และพูดค่อยๆ หน่อย เสียงดังๆ เขาก็ไม่ชอบ”

“อุบ๊ะ...นกสำออย” 

ครูก้อนยอมปล่อยมือ

หมอเถาค่อยๆประคองทนุถนอมกรงแทบจะไม่ให้กระเทือน เลี่ยงไปตามชานระเบียงทางออกไปจนสุด ค่อยๆเปิดผ้าเอาตะขอหัวตครงเกี่ยวไว้กับชายคา ทั้งดีดนิ้วเป๊าะๆ ล้อนก ส่วนปากก็ทำเสียงออดล่อให้ขัน พอนกได้แสงสว่างและลมโชยก็คะนองบินเล่นลมในกรง พอลงจับคอนขันเสียงเบาๆ หมอเถาก็ยิ้มกับนก ทำเสียงเลียนนกตัวเมีย ข้างเจ้านกก็ทั้งขันทั้งร้อตอบ ถ้อยทีหยอกล้อกันทั้งนกและคน เมื่อหมอเถาถอยจากกรงนกมานั่งรวมกลุ่มสหายคู่หูหลวงตาชื้นจึงถามสงสัย 

“หายไปวันเดียวกลับมาเป็นนักเลงนกเขาชวาเสียฉิบมันไปยังไงมายังไงรึหมอเถา”

หมอเถาหันหน้าอธิบายกับหลวงตาชื้นก็จริง แต่หูนั้นไปจับอยู่กับเสียงนกเขาชวาที่กำลังขันแจ้ว 

“ผมไปรักษาไข้เขาได้ ๓ วัน อาการเขาค่อยดีขึ้นบ้าง เขาตั้งค่าบูชาครูไว้ ๒,๐๐๐ บาท เขาเลี้ยงนกตัวนี้ไว้มันขันถูกใจผมก็เลยขอเปลี่ยนเป็นนกเขาเจ้าไข้เขาก็เลยให้มา”

ทั้งหลวงตาชื้นและครูก้อน ครูสมศักดิ์แทบไม่เชื่อหูตนเองว่าจะเป็นได้ เงิน ๒,๐๐๐ บาท สำหรับหมอเถาย่อมนับว่ามากมาย ทำให้เป็นเศรษฐีย่อยๆ ได้ แต่หมอเถากลับเลือกเอานกเขาชวาตัวเล็กๆตัวเดียว ครูก้อนเอมเอาหลังมือไปแตะหน้าผากหมอเถาจนเจ้าตัวปัด 

“เนื้อตัวก็ไม่ร้อน ไม่น่าคลุ้มคลั่งถึงกับไม่เอาเงินกลับเอานกเขา”

หมอเถารู้ใจเพื่อนที่คิดว่าตัวบ้าหรือโง่เขลาที่ทำเช่นนั้น แต่หมอเถากลับยิ้มเป็นเชิงเยาะทั้งสองครูเอาเสียอีก ครูก้อนเป็นคนพูดจาไม่ยั้งอยู่แล้วก็ตำหนิเชิงถามว่า 

“นกตัวนี้มันวิเศษยังไงถึงกับทิ้งเงิน ๒,๐๐๐ บาทเสียง่ายๆ”

“เงินแค่นั้นจริง..มันมาก ปัญญาอย่างฉันหาทั้งปีก็อาจไม่ได้” 

หมอเถาแจงสี่เบี้ย 

“แต่นกตัวนี้มันขันไพเราะหนักหนาถ้าพูดถึงราคามันมากกว่าหลายเท่า อาจถึงหมื่นเสียด้วยซ้ำ”

ครูก้อนเอื้อมมือตบเข่าเบาๆ 

“ขอโทษน๊ะ หมอเถา..ทุ้ย..พูดภาษาคนบ้า ใครเขาจะเชื่อเกิดมาท้องพ่อท้องแม่ไม่เคยได้ยิน”

ครูสมศักดิ์อยู่ในกรุงเทพฯ มานาน และมีเพื่อนอยู่มากจึงเอ่ยขึ้นมั่ง 

“อย่าเพิ่งไปว่าหมอเถา เมื่อผมอยู่กรุงเทพฯริเล่นกับเขาบ้างเหมือนกัน แต่ไม่ถึงขั้นได้รู้ได้เห็นคนอื่นๆ เขา เรื่องนกเขาชวาเป็นของแปลกมหัศจรรย์”

หลวงตาชื้นนิ่งฟังอยู่นาน พลอยสนใจซักถามขึ้นมาบ้าง 

“มันมหัศจรรย์ยังไงหรือครูสมศักดิ์”

“เมื่อไม่นานมานี้นักเลงนกเขาชวากับนักเลงพระแลกนกเขาชวากับพระเครื่องชั้น ขอดตรราคากันราว ๔-๕ หมื่นบาท ในวงการเขารู้กันทั่วไป เมื่อหลายปีมาแล้วนกเขาชวาตัวหนึ่งประกวดขันชนะมาหลายงานชื่อนกชวาลา ๒ เจ้าของนำทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็นพระเจ้าอยู่หัวและทรงเลี้ยวไว้ที่ภู พิงค์ราชนิเวศน์ แม้ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็เคยจัดงานแข่งขันนกเขาชวาได้เงินค่าธรรมเนียม การสมัครเข้าแข่งขันเป็นเงินหลายหมื่นบาท เป็นทุนเริ่มก่อตั้งสมาคมนิติศาสตร์”

หลวงตาชื้นฟังไปคิดไป และยังสงสัยเพราะไม่เคยรู้เห็นและได้ยินมาก่อน 

“เขาแข่งกันอย่างไร มีแพ้ชนะได้เงินเสียเงินหรืออย่างไรกันเร๊อะ”

“เขาเอานกมาขัน แข่งเสียงขันขอรับ” 

ครูสมศักดิ์อธิบายอย่างคนเคยรู้เห็นมา 

“ของใครขันเสียงไพเราะกว่ากันของคนนั้นก็ชนะและได้ถ้วยเป็นเกียรติ อย่างเช่น เมื่อคราวเกิดพายุพัดพังแหลมตะลุมพุกปักษ์ใต้เขาจัดงานเมตตาในสวน อัมพรอันเป็นเขตพระราชฐานก็มีการประกวดแข่งเสียงขันนกเขาชวาชิงถ้วยพระราช ทานของสมเด็จเจ้าฟ้าชาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงเสด็จชมนกเขา ค่าสมัครเข้าแข่งขันตัวละ ๒๐๐ บาท ได้เงินหลายหมื่นบาทสมทบเป็นเงินการกุศล”

“เออครูสมศักดิ์ช่างรอบรู้จริงๆ” 

ครูก้อนชมด้วยความจริงใจ 

“ที่เขาแพ้ชนะกันนั้นเขาทำอย่างไรกันเวลาแข่งขัน”

ครูสมศักดิ์ถูกชมก็รุ้สึกภาคภูมิใจ 

“เขาเอาไม้ไผ่มาปักทำเป็นเชือกชักรอกเอากรงนกเขาขึ้นไปไว้กลางอากาศพร้อมๆ กันทั้งสนาม บางครั้งร่วม ๑๐๐ ตัว เจ้าของนกและคนฟังจะต้องออกไปอยู่ข้างสนามเพื่อมิให้นกตื่น และพอนกเขาเริ่มขันกันก็จะมีกรรมการซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญในเสียนกชุดหนึ่ง เดินอยู่ใต้รอกนกเขา เป็นผู้ฟังและเทียบเคียงนกเขาจะขันเริ่มแข่ง ๗.๐๐ น. ถึง ๑๑.๐๐ น. จึงตัดสิน”

หลวงตาชื้นพลอยสนุกไปกับเขาด้วย จึงถามอีก 

“แล้วเขามีกฎเกณฑ์กติกาในการตัดสินหรือแปลว่าเสียงอย่างใดดีกว่าอย่างใดจึง เป็นที่แพ้ชนะกัน หรือเอากันว่าขันมากขันน้อยเป็นเกณฑ์”

ครูสมศักดิ์นิ่งคิดทบทวนถึงสมัยเมื่อหลายปีก่อน 

“เขามีกติกาพิมพ์ไว้ แยกแยะละเอียดถี่ถ้วนขอรับ มีคะแนนแต่ละส่วนๆรวมกัน ๑๐๐ คะแนน น้ำเสียง ๒๐ คำขันหน้า ๑๐ จังหวะหรือคำกลาง ๑๐ ปลายหรือคำท้าย ๓๐ ทำนองหรือลีลาพิเศษ ๑๐ ขัน ทนขันมาก ๒๐ กรรมการ เขาฟังไปให้คะแนนไป พอหมดเวลาแข่งขันคะแนนใครมาก็ชนะที่ ๑,๒,๓ ตามลำดับ กติกานี้เดี๋ยวนี้ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยนิยมกัน”

หลวงตาชื้นพออกพอใจความรู้ของครูสมศักดิ์ อธิบายคล่องไม่ติดขัดความอยากรู้อยากเห็นจึงซักต่อไปอีก 

“แล้วอ้ายที่เรียกคำหน้าคำกลาง คำปลาย หรือลีลาทำนองนั้นน่ะ อย่างไหนมันดีอย่างไหนมันเลว ถึงจะได้คะแนนมากน้อยกว่ากันล่ะ อย่างตัวของหมอเถาที่ขันอยู่เดี๋ยวนี้มันจะได้สักกี่คะแนน”

ครูสมศักดิ์ไม่คิดว่าจะถูกซักถึงขนาดนี้ ความรู้ที่มีอย่างนั้นไม่พอจะชี้แจงให้ถูกต้องได้ เพราะเมื่อตอนริเล่นเป็นนักเลงนกเขาชวาก็มิได้ช่ำชองเพียงแต่เคยได้เห็นเขา แข่งและจดจำความรู้จากปากเขามาอีกทอดหนึ่ง จึงจนแต้มอึกอักหนักเข้าก็ยอมสารภาพออกมาตรงๆ

“ต้องผู้รู้จริงๆอย่างกรรมการตัดสิน จึงจะอธิบายได้ละเอียดชัดเจน ส่วนผมเพียงแต่เลี้ยงนกเขาเท่านั้น แต่ได้รู้ได้เห็นมาจึงได้แต่เล่าให้ฟังขอรับ”

“อุบ๊ะ..พอถึงตอนสำคัญก็เกิดหมดภูมิเสียแล้ว” 

หลวงตาชื้นบ่นเสียดาย 

“เจ้านกเขาตัวดีๆมันต้องมีเสียงเสน่ห์มากมาย ผู้คนเขาถึงหลงใหลกันนักหนาไม่ว่าผู้ดีไพร่”

ครูก้อนเหลียวดูนกเขาตัวของหมอเถาที่กำลังขันอยู่ชายคา 

“ตัวที่ขันอยู่นี้ฟังๆมันก็ดูไม่น่าหลงใหล อย่างที่ครูสมศักดิ์เล่ามาแลย”

หมอเถานิ่งฟังโดยไม่ออกความเห็นเลยสักคำเดียวตั้งแต่แรกเมื่อนกของตัวถูกติก็อดอยู่ไม่ได้

“เรื่องของคนกรุงเทพฯ น่ะฉันไม่รู้แต่เรื่องของนกละก้อฉันรู้ดี”

หลวงตาชันหัวเราะชอบใจ 

“เออดี เจอะนักปราชญ์คนที่ ๒ เข้าแล้วก็อย่างครูก้อนเขาว่าแหละหมอเถา นกเขาตัวนั้นมันก็ขันเหมือนนก ราคามันไม่น่าจะถึงพันถึงหมื่น”

หมอเถายืดอกอย่างภาคภูมิ 

“นกตัวนี้ดีแต่มันยังไม่ถึงเวลาดีที่ขันอยู่นี้ขันไม่เต็มที่เรียกว่าขันยัง ไม่เปิดปลาย น้ำเสียงและทำนองจึงยังไม่ไพเราะเต็มที่”

“ก็ถ้ามันยังไม่ดี ทำไม่ไปแลกกะค่ารักษาตั้ง ๒,๐๐๐ บาท” 

ครูก้อนยิ่งสงสัย

“ก็เพราะฉันรู้จักนกน่ะซี” 

หมอเถาว่า 

“นกตัวนี้เป็นนกจังหวัดกระบี่ ตัวใหญ่ อกใหญ่แข็งแรง ลายขนสีเข้มที่ขันนี้เป็นนกเสียงใหญ่หายาก และท่วงทำนองขันดี เสียแต่กรุ่มยาก คือ เชื่องจนขันดียากต้องเลี้ยงหลายปี ถ้านกตัวนี้ขึ้นแล้วในราคา ๕ เท่าก็ไม่ขาย”

หลวงตายังติดใจสงสัยข้อที่ถามครูสมศักดิ์เมื่อครู่อยู่จึงถามหมอเถาซ้ำอีก 

“ว่าแต่อ้ายกติกาให้คะแนนความดีตคามที่ครูสมศักดิ์เขาว่าน่ะกรรมการเขาฟัง เอามันดีเลวต่างกันอย่างไรในการให้คะแนน”

หมอเถาตอบโดยไม่ต้องคิด 

“ฎกติการของกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ๆ ก็คือรสนิยมในเสียงนกเขาชวาที่นิยมเล่นกันในแบบ ปักษ์ใต้และตลอดแหลมมาลายูซึ่งเขานิยมเล่นกันมาก่อน แต่ของเราเอามาบัญญัติให้มันเป็นระเบียบเรียบร้อยเข้าเพื่อความยุติธรรมใน การตัดสิน”

ครูสมศักดิ์มองหน้าหมอเถา ทั้งสงสัยและแปลกใจที่ชายทึ่มๆมองดูดังคนโง่ ไม่รู้อะไรมากนัก พูดจาถูกต้องและรู้ดีในเรื่องที่ตนโง่

“หมอเถาพูดถูกขอรับหลวงตาเป็นความจริงเช่นนั้น เพราะในยุคที่เล่นกันนั้น นักเลงนกเขากรุงเทพฯก็ลงปักษ์ใต้สังสรรค์กับนักเลงนกเขาปักษ์ใต้ นักเลงนกเขาปักษ์ใต้ก็ขึ้นมาสังเสวนากับนักเลงนกเขากรุงเทพฯ ในตอนนั้น พ.ศ.๒๕๐๐ เศษ มีการแข่งขันเสียงนกเขาชวาแทบทุกจัวหวัดและเชิญกรรมการผู้ชำนาญการตัดสินไป จากกรุงเทพฯ ดังนั้นรสนิยมในเสียงนกเขาชวาจึงเหมือนกันหมดทั้งประเทศก็ว่าได้”

หลวงตาออกปากชม 

“ครูสมศักดิ์มันช่างจดจำจริงๆ”

ครูสมศักดิ์ถูกชมเลยเล่าใหญ่ 

“ครั้งหนึ่งในตอนนั้นเพื่อนโยบายเอาใจคนสี่จังหวัดภาคใต้ นายกรัฐมนตรีและรองนายกได้ให้ถ้วยรางวัลการแข่งนกเขาชวา ในการแข่งที่จังหวัดปัตตานี การแข่งครั้งนั้นยิ่งใหญ่เป็นที่เลื่องลือตลอดแหลมมลายู มีการประกาศอยู่ร่วมเดือนมีนกเขาทั้ง ๔ จังหวัด เดินทางมาค้างแรมล่วงหน้าเพื่อจะเข้าแข่งและยังมีนกเขาจากประเทศมาลายูเข้า แข่งหลายตัว มีนกเขาจากกรุงเทพฯเดินทางไปแข่งร่วม ๒๒ ตัว นกที่เข้าแข่งทั้งหมดร่วม ๓๐๐ ตัว แข่งกัน ๓ วัน จึงหมด และเขาเชิญกรรมการชดหนึ่งไปจากกรุงเทพฯ ๓ คน ล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในการตัดสินนกเขาชวาของกรุงเทพฯมันแปลกตรงที่ว่า กรรมการกรุงเทพฯที่จัดส่งไปนั้น ๓ คน ๓ ภาษา คือ หัวหน้าคณะกรรมการเป็นไทย ชื่อ คุณอรุณ ลำเพ็ญ คนที่ ๒ หน้าตาเป็นฝรั่งชัดๆเพราะมีเลือดผสมชื่อ คุณสวัสดิ์ เอกรัตน์ คนที่ ๓ เป็นอิสลาม ชื่อหะยีมุด อยู่หลังสุเหร่าถนนเพชรบุรี”

ครูก้อนยิ่งฟังก็ยิ่งเสียงอ่อนลง 

“ไม่นึกเลยได้ยินเล่านี้แหละถึงจะได้รู้ว่าการเล่นนกเขาชวานี้มันช่างมีเกียรติยิ่ง ใหญ่โอฬารไม่มีการละเล่นอะไรเหมือนเลย น่ายกย่องนกตัวเล็กๆ ที่ชื่อนกเขาชวาเสียจริงๆ”

หลวงตายังติดใจเรื่องเดิมก็ซักเหมอเถาอีก 

“ไหนลองอธิบายให้ละเอียดหมอเถา”

ครูสมศักดิ์ชักนับถือและเชื่อว่าหมอเถาต้องสันทัดในกรณีนี้แน่จึงผสมถาม เพื่อหาความรู้บ้าง โดยเป็นคนซักเสียเอง

“น้ำเสียงดีนั้นเป็นอย่างไรน่ะหมอเถา”

หมอเถายิ้มกริ่ม 

“นกน้ำเสียงดีต้องเสียงดังกังวาฬ เสียงไม่แตกแหบพร่าเสียงทุ้มก็ต้องกลมนุ่มนวล เสียงแหลมก็ต้องใสคมฟังชัดเจน นกเสียงดีขันอยู่ ๓ คุ้งแม่น้ำยังได้ยินชัดเจน”

ครูสมศักดิ์ซักต่อไปทีละขั้น 

“แล้วคำหน้าของคำขันล่ะ”

หมอเถาวาดไม้วาดมือประกอบคำอธิบาย 

“ทำนองขันของนกเขาชวาเรียกว่า คำขันนั้นมี ๓ ตอน คือ “หน้า-ลาง-ปลาย”

มันขันติดต่อกันคำหน้าที่ดีต้องยาว เอื้อนทอดเสียงต้องม้วนหรือโค้งอ่อน บางตัวขึ้นต้นคำหน้าด้วยเสียงต่ำแล้วเอื้อนขึ้นเสียงสูง บางตัวก็ขึ้นต้นด้วยเสียงสูงแล้วเอื้อนลงเสียต่ำ และที่สำคัญต้องไม่แหบพร่าและเบาจึงจะถือว่าดี”

ครูสมศักดิ์ยิ่งรู้ยิ่งซัก 

“แล้วคำกลางล่ะ เออหมอเถารู้ดีจริงเก่งจริง”

“นี่อธิบายย่อๆน๊ะ ถ้าจะพูดกันละเอียดถี่ถ้วน ตอนละชั่วโมงก็ยังไม่หมด” 

หมอเถาได้ท่าคุยสำทับ 

“คำกลางนั้นเป็นคำสั้นๆ นิยมกันว่าต้องชัดและเว้นระยะจังหวะห่างกัน พอได้ยินชัดๆ ไม่ติดกันจนฟังรัวๆ หรือแผ่วเบา”

ครูก้อนชักสนใจเลยพลอยถามต่อกับเขาบ้าง 

“แล้วคำท้ายคำปลายล่ะ”

“คำท้ายหรือปลายนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ไพเราะกว่าทุกๆส่วน จึงมีคะแนนถึง ๓๐ คะแนน นกที่ขายกันถ้าเพียงแต้มีคำท้ายหรือปลายอย่างเดียวก็ขายได้เป็นพันแล้วส่วนชั้นดีเลวไม่คำนึงถึง” 

หมอเถาอธิบายโดยตัวเองรู้สึกสนุกจนนัยน์ตาวาวเป็นมัน 

“ครูเอ๋ยนกปลายดีมันขันเปิดปลาย ดังโปง-หัวใจคนฟังมันหวิวขาดติดปลายนกไปเลยทีเดียวขนาดโบราณเขาว่าเหมือนคน ถูกเสน๋ห์ ผมอยู่บนหัวก็ลืมเกล้าข้าวอยู่ในคอก็ลืมกลืนทีเดียว”

หลวงตาหัวเราะลงลูกคอ 

“บ๊ะๆ ฝอยมากจริง”

หมอเถาเกรงใจหลวงตาก็ต้องหันเข้าหาเนื้อหาของเรื่องอีก 

“ปลายที่ดีของนกเขาชวาเป็นเสียงที่มีความละเอียดอ่อนมาก มีกฎเกณฑ์ปลีกย่อยมากกว่าทุกส่วน แต่พอสรุปที่สำคัญได้ว่า ปลายที่ดีคือปลายเสียงใหญ่ ปลายเสียงยาว ปลายเสียงลอย ปลายดังกังวาฬยาว และเสียงปลายต้องลงแม่กงชัดเจน เหมือนเสียงระฆังเสียงฆ้อง นกดีมีราคาก็ตรงเสียงปลายนี้แหละ เวลาเข้าสนามชักรอกแข่งขันถ้านกขันโดยยังไม่อกปลาย กรรมการเขายังไม่ให้คะแนนส่วนอื่นทั้งหมดและออกปลายก็ต้องออกหลายๆคำ เรียกว่า ปลายจับตับจึงจะนับคะแนน”

“ส่วนขันมากหรือขันทนก็คือขันไม่ใคร่หยุดนั้นเอง” 

หมอเถาไม่รอให้ซักอธิบายต่อรวดเดียว 

“ส่วนคำว่าลีลาพิเศษหรือทำนองพิเศษ ก็คือทำนองการขันที่ทำให้มีความไพเราะเป็นพิเศษที่นิยมกันมีสองประการ คือ ขันสดุด หรือขันหยุดชะงักก่อนจะออกปลาย ทางภาษามลายูเขาเรียก “สะกะเต๊าะ” มันมีความไพเราะเหมือนการอ่านกาพย์อ่านฉันท์ฉะนั้น และอีกลีลาหนึ่งก็คือออกสองปลาย คือ โปง-โปง เป็นของหาได้ยากจึงเป็นคะแนนเพิ่มพิเศษ”

หลวงตาฟังไปคิดไปตามภาษาผู้ใหญ่ที่มองดูท่า ทางของศิษย์คือหมอเถา ซึ่งตามปกติดูเซอะๆเงอะงะ เหมือนคนโง่ๆแต่บางขณะเช่นขณะนี้ท่าทางองอาจ พูดจาฉาดฉานคล่องแคล่วรอบรู้ ดังเจ้าเงาะถอดรูป ซึ่งคนๆนี้ทำให้หลวงตาแปลกใจเสมอๆมา ครูสมศักดิ์ก็เช่นกัน คำชี้แจงอธิบายล้วนแต่ถูกต้องและชำนาญพอๆกับชั้นอาจารย์ นกในกรุงเทพฯที่ตนเคยสนทนามา ซึ่งคนอย่างหมอเถาไม่น่าจะมีทางรอบรู้ถึงปานนี้จึงอดซักมิได้

“หมอเถาถามจริงๆ เถอะ จำเขามาเล่า หรือว่าเคยเลี้ยงเคยได้ยินมาเอง”

หมอเถาหยุดคิดอยู่ครู่หนึ่งก็บอกว่า 

“เมื่อก่อนๆ ยังเที่ยวๆ อยู่ไม่เป็นแห่ง ตามเพื่อนๆเขาไปต่อนก แล้วเอาไปขายปักษ์ใต้อยู่หลายปี จึงได้ยินได้ฟังมามาก เพราะฉะนั้นมาได้ยินนกดีๆก็อดรักและอยากได้มิได้”

ครูก้อนซึ่งไม่เคยรู้และได้ยินก็ยังสงสัย 

“อธิบายให้ฟังก็พอรู้ แต่ก็ยังไม่ซาบซึ้งอยู่นั่นเองว่ามันขันดีมันเป็นยังไง”

ครูสมศักดิ์จึงพยักหน้าหมอเถา 

“หมอเถาขันเป็นตัวอย่างให้ฟังทีเถอะ เอาแบบชั้นที่ ๑ ทีเดียว”

หมอเถาพยักหน้ารับ 

“ต้องเอาหน้ายาวปลายยาวอย่างที่เขานิยมหากัน แขกมลายูเขาเรียก “อูมีเซ้าว์ อูยงปานแย” คือ “หน้าม้วนอ่อน ปลายยาว”

แล้วหมอเถาก็โก่งคอดัดเสียงให้คล้ายนกเขาชวาขัน 

“อ๊าว...กะตะ...โปง”

นกเขาจริงที่ชายคาได้ยินเสียงนกปลอมขันก็ตกใจ มันดิ้นพึ่บพั่บจนกรงแกว่ง หมอเถาต้องวิ่งไปยึดกรงไว้ และทำเสียงปลอบทั้งดีดมือล่อจนหายตื่น เมื่อกลับมานั่งร่วมวง ทั้งสองครูยังหาเรื่องซักถึงนกเขาชวาอีก เพราะแน่ใจว่ารอบรู้จริงแต่หมอเถาโบกมือห้าม

“เอาไว้วันหลังว่างๆมีเวลาเถอะเรื่องนกเขาคุยกัน ๓ วัน สามคืนก็ยังไม่หมดเรื่อง วันนี้มีธุระสำคัญจะมากราบรบกวนหลวงตาด้วย”

หลวงตาจึงสนใจ 

“มีอะไรหรือหมอเถาว่าจะมากวนอะไร อนุญาตทุกอย่าง นอกจากเรื่องเงิน”

หมอเถาพนมมือไหว้ หัวเราะที่ถูกหลวงตาสัพยอก 

“เรื่องคนไข้ที่ผมไปรับรักษานี้แหละครับ อาการมันน่าหนักใจ อาการดีได้วันสองวันก็ทรุดจนจับอาการไม่ถูก ผมอยากตรวจดวงชะตาเขา ผมดูเองหลายคราวแล้วไม่เข้าใจเลย”

หลวงตาพยักหน้า 

“เออเอาดวงมาแล้วเขียนลงบนกระดาน”

ครูก้อนคว้ากระดานและช็อล์กเสร็จแต่เกี่ยงครูสมศักดิ์ 

“ลายมือเขียนเลขไทยสวยๆเอาที”

หมอเถาส่งดวงให้ครูสมศักดิ์เป็นคนเขียน หลวงตาชื้นคงเอกเขนกตามสบายคอยจนครูสมศักดิ์เขียนเสร็จ จึงลุกขึ้นนั่งปรายตาดู ครูก้อน ครูสมศักดิ์ จ้องดูอย่างสนใจเต็มที่พยายามหาจุดที่แสดงว่าป่วย

ครูก้อนปัญญาไวเห็นก่อน 

“อ้าวพฤหัสเรือนมรณะ ทับศุกร์ตนุลัคน์นี่นา มันถึงป่วย”

ครูสมศักดิ์ก็เอาบ้าง 

“อายุ ๕๑ ทักษาจรตกภูมิราหู พฤหัสเป็นกาฬกิณีด้วยทับตนุลัคน์มันป่วยชัดๆ”

หลวงตาชื้นเอ็ดเสียงดัง 

“อุบ๊ะ ก็มันรู้ว่าเขาป่วยอยู่แล้วหลับตาทายยังไงมันก็ต้องป่วยวันยังค่ำ ขืนหัดอ่านดวงหยาบๆง่ายๆแบบนี้อีกสิบปีมันก็ไม่เก่ง คิดดูซิพ่อสองครู พฤหัสมาทับศุกร์ในราศีนี้ทุกๆ ๑๒ ปี มันมิต้องป่วยกันทุกรอบหรือ กาฬกิณีทับตนุลัคน์ต้องป่วยจนไม่มีเวลาหายกันน่ะซี มันต้องดูให้ถี่ถ้วน”

ครูก้อนกับครูสมศักดิ์ถูกดุทำสีหน้าอายๆเพราะเป็นความจริงตามคำหลวงตาว่า พนมมือรับผิดทั้งคู่ 

“ผมผิดไปรอรับ”

“มันต้องดูดาวคู่ทั้งสองดวง คือ เมื่อพฤหัสทับตนุลัคน์นั้นทับในเรือนของราหู ตัวราหูจรเจ้าเรือนมาอยู่ภพมรระมันแสดงโทษทางป่วยอยู่ และก่อนพิจารณาถึงขั้นนั้น มันต้องดูพฤหัสเดิมเขาเสียก่อนว่า พฤหัสเดิมสถิตภพอริแสดงโทษเดิมอยู่พอมีบทบาทก็ทำร้ายเอา”

ครูสมศักดิ์ถึงจะกลัวและเกรงก็อดแย้งมิได้ตามนิสัย 

“พฤหัสจรกับราหูแลกเรือนเท่ากับเป็นอนุเกษตร น่าจะให้คุณบ้างนะขอรับ”

หลวงตาชื้นจ้องตาครูสมศักดิ์ จนต้องหลบ 

“สอนกันไม่ใคร่จำมักยึดติดความเชื่อถือที่ไม่ถูก เป็นเกษตรเป็นอุจจ์ มันเรื่องของดาวไม่ใช่เรื่องของคน เกษตรแปลว่ายืดเยื้อมีทางสลับเรือนมันก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา อาการของโรคที่ป่วยมันจะยืดเยื้อเรื้อรังน่ะไม่ว่า ช๊ะๆ”

ครูสมศักดิ์ยิ้มเจื่อนๆตาจ้องมองดวงชะตา

“จริงขอรับ...”

หลวงตาดุแล้วก็สอนต่อ 

“เมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าเขาป่วยกลับดูเขาว่าป่วยจริง มันจะได้ประโยชน์อะไร มันต้องดูว่าเขาป่วยครั้งนี้มันเหตุใดและจะรักษาหายหรือไม่เมื่อใด เออ มันถึงจะเรียกว่าหมอดู”

หมอเถาเจ้าของดวงขยับปากอยู่หลายทีไม่ได้พูด พอมีช่องก็เอ่ยขึ้นมั่ง 

“พฤหัสเป็นเจ้าเรือนลาภะอยู่อีกเรือนหนึ่งเช่นกันคะรับ เมื่อมาทับอู่เรือนกัมมะซึ่งหมายถึงการกระทำและพฤหัสแปลว่าหมอได้ ในเรือนราหูที่พฤหัสทับอยู่มีมฤตยู ซึ่งแปลได้ว่าลึกลับ และราหูเจ้าเรือนแปลว่าจ้าวหรือเซียน จะทายเอาว่าต้องรักษาด้วยไสยอันลึกลับ การทรงเจ้าเพื่อรักษาจะหายได้ไม๊คะรับหลวงตา”

“พ่อหมอจ๋า เอาเข้าแล้ว มันฉลาดจนล้นมากไป” 

หลวงตาฉิวก็ฉิวแต่ก็อดขำศิษย์ที่พยายามจะตามรอยครูอ่านให้วิจิตรพิศดารบ้าง 

“มันมากไปเว้ยหมอเถา อ้ายอะไรๆมันมากเกินไปนี้บางทีมันก็ดีบางทีมันกลับเป็นของเสีย”

หมอเถาโดนเข้าอีกคนก็เจื่อนตามไปด้วยแก้เสียงอ่อย 

“ผมนึกว่ามันมากจะดี”

หลวงตาอุปมาอุปมัยให้ฟัง 

“คนเรามีสองมือเพิ่มมาอีก ๒ เป็นสี่มือ เขาก็เรียกพระนารายณ์ เออดี คนเรามีหน้าเดียวพอมีมากถึง ๔ หน้า เขาก็เรียกพระพรหมก็ดีอีก คนเรามีสองตีน ถ้ามีถึงสี่ตีนลายเป็นอ้ายเอ๋งไปฉิบ”

ครูก้อนและครูสมศักดิ์แม้จะ เกรงๆแต่ก็อดหัวเราะไม่ได้ ปล่อยกันคิ๊ก แต่หมอเถากลัวมาก พยายามกลั้นหัวเราะไว้และกลืนลงคอจนลูกกระเดือกวิ่งขึ้นลงหลายรอบ หลวงตาพยายามทำสีหน้าเคร่ง แต่ใจจริงนั้นเมตตาศิษย์ที่ยังอ่อนหัดจึงอธิบายต่อ 

“อันพฤหัสเป็นเจ้าเรือนลาภะนั้นจริงอยู่ แต่ในดวงเดิมมันแสดงผลอริ ขัดขวางอยู่ก่อนแล้ว และที่สำคัญที่สุดก็คือ ดูที่พฤหัสเดิมนี่ ดาวมฤตยูจรเข้าภพอริเป็นเรือนศุกร์เท่ากับเรือนลัคน์เหมือนลัคนาสถานหนึ่ง อีกสถานหนึ่งเข้าทับพฤหัสเดิมเอาไว้เท่ากับครอบงำพฤหัสเต็มที่ ฉะนั้นพฤหัสที่โคจรไปก็เท่ากับติดความหมายของมฤตยูที่ครอบงำนั้นไปด้วย กรณีนี้เขาเรียก “ดาวแฝงแสง” ถึงกันกับพฤหัสจร”

หมอเถาฟังเข้าใจดีทุกถ้อยคำของอาจารย์และถามเบาๆ เกรงๆ ว่า 

“พอจะรักษาได้ไม๊คะรับ”

“คงจะยาก...” 

หลวงตานิ่งตรึกตรอง 

“อาการป่วยอาการโรคมันจะเป็นโรคที่ลึกลับหาสาเหตุยาก หรือโรคที่ยังลึกลับต่อทางรักษาทางที่ดีหมอเถาควรให้เขาไปโรงพยาบาลจะดีกว่า ถ่วงไข้เขาไว้ทดลองยาเพราะจะเกิดอันตรายแก่ชีวิตของเขา”

หมอเถาเอะใจ 

“หรือจะเป็นมะเร็งก็ไม่รู้ทีท่ามันมีอยู่เหมือนกันคะรับ”

นกเขาชวาที่แขวนอยู่ชายคาขันเปิดปลายดังโปง-โปง ติดเป็นตับ หมอเถานิ่งงัน หูจับเสียงนก และคนอื่นๆก็พลอยสงบฟังนกเขาขันกันไปทุกคนแม้แต่หลวงตาชิ้น
 




วิถีแห่งปัญญา

เข้าสู่บทนำ ความเป็นจริงของวิชาโหราศาสตร์ article
พระคาถาชินบัญชร article
คาถาประกาศชุมนุมเทวดา article
การบูชาเทวดานพเคราะห์ article
วิธีติดตั้งโปรแกรม Astrolog32
ชีวิตโหรเก่าที่ผมรู้จัก
บุตรสุดที่รัก
ทนายโหราศาสตร์
นามนี้ ดีไฉน
พระเคราะห์ถ่ายเรือน อ.หมอเถา (วัลย์)
ยามอัฏฐกาล อ.หมอเถา (วัลย์)
ดวงชาวเกาะ อ.หมอเถา (วัลย์)
ดาวสองชั้น อ.หมอเถา (วัลย์)
ดาวลอย อ.หมอเถา (วัลย์)
อ่านดาว อ.หมอเถา (วัลย์)
ดวงพระ อ.หมอเถา (วัลย์)
ฤกษ์งามยามดี อ.หมอเถา (วัลย์)
ดาวบุพกรรม อ.หมอเถา (วัลย์)
รถแคมเพอร์แวนของลุงแว่น
แบบฟอร์มดวงฤกษ์พิธีมงคลต่างๆ
เรื่องเล่าพระฤาษี article
พิธีบายศรีสู่ขวัญ article
พระฤาษีกับวิชาไสยศาสตร์ article
Tip การจัดโต๊ะหมู่บูชาพระ article
ดูดวงโหราศาสตร์กับลุงแว่น article
ว่าด้วย....เรื่องของทาน article
ว่าด้วย....เรื่องของศีล article
ดวงจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ article
คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) article
พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา article
วิธีบูชาพระราหู article
คึกคักเป็นพิเศษไหว้'ราหู'หวังหนีราศีซวย article
ตาทิพย์ การฝึกกสิณ 10 article
กายทิพย์ article
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง 9 องค์ พร้อมคาถาบูชา article
พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีสร้างความสุขที่แท้จริงให้แก่ชีวิต article
คาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก article
สัมผัสที่ 6 และโทรจิต article
จุดคราสในดวงชะตา อ.หมอเถา (วัลย์) article
ทักษาสมเด็จ อ.หมอเถา (วัลย์) article
ลัคเน อ.หมอเถา (วัลย์) article
พินทุบาทว์ อ.หมอเถา (วัลย์) article
ทักษาประสมเรือน อ.หมอเถา (วัลย์) article
จับโจร อ.หมอเถา (วัลย์) article
ห้ามฤกษ์ อ.หมอเถา (วัลย์) article
ดาวคู่มิตร-คู่ธาตุ อ.หมอเถา (วัลย์) article
ยามกาลชะตา อ.หมอเถา (วัลย์) article
ตั้งชื่อเด็ก อ.หมอเถา (วัลย์) article
เรียนโหราศาสตร์ อ.หมอเถา(วัลย์) article
บุพพกรรมแห่งดาว article
กฎแห่งกรรม อ.หมอเถา(วัลย์) article
โหราศาสตร์นอกคอก แต่ไม่นอกครู "บุษบามีคู่" อ.หมอเถา article
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช article
พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.