ReadyPlanet.com
dot dot
bulletHorasaadRevision.com
dot
ห้องโหรแว่นทิพย์
dot
bulletWelcome to foreigners
bulletกำเนิดจักรราศี*
bulletประวัติของวิชาโหราศาสตร์*
bulletวิชาโหราศาสตร์ไทยเบื้องต้น*
bulletกฎเกณฑ์วิชาโหราศาสตร์ไทย*
bulletอันโตนาที*
bulletอายนางศ์*
bulletวิธีคำนวนสมผุสลัคนา*
bulletนัยยะแห่งเรือนราศี*
bulletนัยยะแห่งเรือนชะตา*
bulletนัยยะแห่งดวงดาว*
bulletนัยยะแห่งตำแหน่งดาว*
bulletทิศาพยากรณ์*
bulletโรคาพยากรณ์*
bulletทักษาพยากรณ์*
bullet๑๐๘นวางค์รอบจักรวาล*
bulletวรโคตรนวางค์*
bulletตรียางค์พิษ*
bulletโหรปัตนิและดาวพระศุกร์*
bulletนานาปกรณ์เกี่ยวกับฤกษ์*
bulletเกร็ดโหราศาสตร์*
bulletเคล็ดวิชาต่างๆ*
bulletการทำนายฝันและเคล็ดลับการแก้ฝัน*
bulletพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา*
bulletพระคาถาชินบัญชร*
dot
โหราศาสตร์ไทย ฉบับหอมรดกไทย
dot
bulletตำนานดาวพระเคราะห์
bulletการแบ่งจักรราศี
bulletตำรามหาทักษา
bulletคัมภีร์กาลโยค
bulletลัคนากับดวงชะตา
bulletมาตรฐานดาวเคราะห์
dot
หน้าแบบฟอร์มต่างๆของเว็บไซด์
dot
bulletแบบฟอร์มตั้งชื่อ-นามสกุล
bulletแบบฟอร์มฤกษ์พิธีมงคลต่างๆ
bulletแบบฟอร์มฤกษ์คลอดบุตร
bulletแบบฟอร์มฤกษ์มงคลสมรส
bulletแบบฟอร์มฤกษ์เปลี่ยนชื่อ
bulletแบบฟอร์มห้องเรียนโหร
bulletสมุดเยี่ยม
dot
เกร็ดพยากรณ์..เพื่อความบันเทิง
dot
bulletนิสัยสาว 12 ราศี
bulletทายนิสัยจากเดือนเกิด
bulletจุดร้อนตามราศี
bulletความรักตามวันเกิด
bulletทายนิสัยจากการใส่แหวน
bulletผลไม้ทายนิสัย
bulletความรักตามกรุ๊ปเลือด
bulletอ่านใจหนุ่ม 12 ราศี
bulletผู้ชายเพอร์เฟค
bulletน้ำหอมกับราศี
bulletวิธีมัดใจหนุ่ม-สาวราศีต่างๆ
bulletพยากรณ์ ช-ญ ตามวันเกิด
bulletวันเกิดบอกนิสัยเนื้อคู่ ช-ญ
bulletทำนายเซ็กส์กับราศี
bulletความลับบนเตียง 12 ราศี
bulletเคล็ดลับดูไฝบนกายสาว
bulletทำนายผู้เกิดใน 12 นักษัตร
bulletคู่แต่ง คู่รัก คู่ขา?
bulletทายนิสัยคนใกล้ตัว 17 เรื่อง
bulletดวงของผู้หญิงตามวันเกิด
bulletดู ตัวตน,ชอบ,ยี้ หนุ่มสาว
bulletต้นไม้มงคลกับราศีเกิด
dot
เว็บวาไรตี้ยอดนิยม
dot
bulletwww.sanook.com
bulletwww.kapook.com
bulletwww.mthai.com
bulletwww.ragnarog.in.th
bulletwww.hunsa.com
bulletwww.teenee.com
bulletwww.365jukebox.com
bulletwww.dek-d.com
bulletwww.zuzaa.com
bulletwww.wanjai.com
bulletwww.narak.com
bulletwww.jorjae.com
bulletwww.aromdee.com
bulletwww.deedeejang.com
bulletwww.funwhan.com
bulletwww.saranair.com
bulletwww.madoo.com
dot
หนังสือพิมพ์ไทย-เทศ
dot
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletข่าวสด
bulletคม ชัด ลึก
bulletฐานเศรษฐกิจ
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletไทยโพสท์
bulletแนวหน้า
bulletประชาชาติธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
bulletมติชน
bulletโพสท์ทูเดย์
bulletสยามธุรกิจ
bulletสยามกีฬา
bulletสยามรัฐ
bulletBangkok Post
bulletThe Nation
bulletVoice of America
bulletBBC Thai
dot
Foreign newspaper
dot
bulletNew Straits Time MY
bulletThe Straits Time SG
bulletVientiane Times LAOS
bulletNew Light of Myanmar
bulletThe Daily Tribune PH
bulletThe Manila Times PH
bulletThe Jakarta Post
bulletS. China Morning Post
bulletChina Daily CN
bulletTaipei Times TW
bulletYomiuri Shimbun JP
bulletThe Asahi Shimbun JP
bulletThe times of India
bulletAl Jazeera
bulletThe Guardian UK
bulletThe Times UK
bulletBBC News UK
bulletLe Monde FR
bulletDie Welt DE
bulletLa Nacion Line AR
bulletThe New York Time
bullet USA today
bulletThe Washington Post
bulletThe wall street Journal
bulletOnline Newspaper Di.tory
dot
ธนาคารต่างๆ
dot
bulletธ.กรุงเทพ
bulletธ.กรุงไทย
bulletธ.กรุงไทย ชาริอะฮ์
bulletธ.กรุงศรีอยุธยา
bulletธ.กสิกรไทย
bulletธ.ซิติ้แบงค์
bulletธ.ดีบีเอส ไทยทนุ
bulletธ.ทหารไทย
bulletธ.ธนชาต
bulletธ.นครหลวงไทย
bulletธ.ยูโอบี รัตนสิน
bulletธ.สแตนดาร์ด ช. นครธน
bulletธ.อิสลามแห่งประเทศไทย
bulletธ.เอเซีย
bulletธ.ไทยธนาคาร
bulletธ.ไทยพาณิชย์
bulletพระคาถาชินบัญชร*
bulletพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา*


เชิญค่ะ


 ดูหนังสือ สอบถาม
 สั่งซื้อ

eXTReMe Tracker

 ชาติ                                           

นานาทรรศนะ 
เสนอร่างรัฐธรรมนูญ
ปกิณกะ
เหตุการณ์ในอดีต 
เรื่องของไทยในอดีต 
เรื่องของชนชาติไทย
ภูมิศาสตร์ของไทย 
ก่อนสมัยสุโขทัย 
กรุงสุโขทัย
กรุงศรีอยุธยา
กรุงเทพมหานคร
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
อุทยานประวัติศาสตร์
เมืองเก่าของไทย
ทำเนียบหัวเมือง
การทหารของไทย
ธงชัยเฉลิมพล
ทหารรักษาพระองค์
ทหารอาสาต่างชาติ 
รู้เรื่องเมืองสยาม 
ประเทศเพื่อนบ้านของไทย()
ความสัมพันธ์ไทย-อเมริกัน 
เหตุการณ์ปี ร.ศ.๑๑๒
เหตุการณ์ปี ๒๔๗๕
กรณีพิพาทอินโดจีน
การรบที่กาะช้าง
สงครามมหาเอเซียบูรพา
สงครามเกาหลี 
สงครามเวียตนาม 
กรณีปราสาทพระวิหาร
กรณีโรฮิงยา
ความไม่สงบชายแดนภาคใต้
อนุสาวรีย์วีรชน 
สารานุกรมฉบับย่อ()
ตัวหนังสือไทย
เรียนหนังสือไทยสมัยก่อน 
รามเกียรติ์ 
ขุนช้าง ขุนแผน
พระอภัยมณี
นิราศ
กาพย์เห่เรือ
สุภาษิตไทย
ธรรมเนียมประเพณีไทย 
โหราศาสตร์ไทย 
เพลงไทยให้สาระ
เงินตราไทย
เครื่องดนตรีไทย
หมากรุกไทย
มวยไทย
สมุนไพรไทย
พันธุ์ไม้ดอกไทย
นกในประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติ
 
ทางบก
 ทางทะเล
เที่ยวทั่วไทย 
เที่ยวไปชมไป

 ศาสนา                                     

การบริหารคณะสงฆ์
การศึกษาพระปริยัติธรรม
กฎหมายพระสงฆ์ของไทย
สมเด็จพระสังฆราช
ทำเนียบสมณศักดิ์
พัดยศสมณศักดิ์
คณะสงฆ์จีนนิกาย
คณะสงฆ์อนัมนิกาย
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปประจำวัน
พระธาตุเจดีย์
พระพุทธบาท
พระแท่น
พระไตรปิฎก
การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
การบัญญัติพระวินัย
โสพัสปัญหา
พุทธประวัติ
พระอสีติมหาสาวก
พุทธศาสนสุภาษิต
พุทธานุวัตร
วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนพิธี
พระป่าและวัดป่า
พุทธศาสนาในปัจจุบัน
ภัยแห่งพุทธศาสนา
ศาสนาต่างๆในไทย)

  พระมหากษัตริย์                      

พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย
พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
พระมหากษัตริย์สมัยธนบุรี
พระบรมราชจักรีวงศ์
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล
พระราชลัญจกร
เครื่องราชกกุธภัณฑ์
ธงในองค์พระมหากษัตริย์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
น้ำอภิเษก
พระราชพิธีสิบสองเดือน
พระราชานุกิจ
จอมทัพไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เหรียญอันเนื่องจากการรบ
พระบรมมหาราชวัง
ประชุมพงศาวดาร
ราชการสงครามฯ
งานกู้ชาติฯ
ประชุมพระราชปุจฉา
พระราชหัตถเลขา ใน ร.๔
พระบรมราโชบายฯ ร.๕
พระราชดำรัส ใน ร.๕
พระราชนิพนธ์ ใน ร.๖
ร.๖ กับการป้องกันประเทศ
พระราชดำริใน ร.๗
พระบรมราโชวาท

 มุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทย์และเทคโน
ศูนย์เทคโนอีเลคทรอนิกส์และคอมแห่งชาติ
เว็บการเรียนรู้วิทย์และเทคโนร.ร.ในชนบท
ดาราศาสตร์สำหรับคนไทย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ
แหล่งความรู้วิศวโยธา,เครื่องกลและขนส่ง
โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ[lesa]
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนแห่งไทย
องค์การพิพธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดูดาวดอทคอม
รวมบทความด้านวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
นิยายวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์น่ารู้

 

 มุมศาสนาต่างๆ                      

สำนักข่าวชาวพุทธ
มุสลิมไทยไซเบอร์เน็ต
หนังสือธรรมะออนไลน์
ธรรมะไทย
มุสลิมแคมปัสดอทคอม
โบสถ์คริสเตียนไทยอเมริกา
กัลยาณมิตร
เสขิยธรรม
มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
หลวงตามหาบัว
พุทธทาสศึกษา
พระรัตนตรัย
เครือข่ายสาระธรรมอิสลาม
มูลนิธิศุภนิมิตไทย
พระคริสตธรรมไทย

 10 อันดับเว็บข้อมูล อ้างอิง        

 www.google.co.th สุดยอดเว็บในการหาข้อมูล
 
www.glo.or.th สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
 
www.siamguru.com บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ
 
www.truehits.net เว็บแสดงสถิติการเยี่ยมชม
 
lexitron.nectec.or.th ดิกชันนารีออนไลน์
 
www.yellowpages.co.th สมุดหน้าเหลืองออนไลน์
 
www.police.go.th สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 
phonebook.tot.or.th ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์
 
www.trainingthai.com ข่าว,ข้อมูลการฝึกอบรมสัมมนาต่างๆ
 
www.khonthai.com แหล่งข้อมูลด้านทะเบียนราษฎร์ต่างๆ



บทเรียนโหราศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้น การผูกดวง article

 บทเรียนสำหรับผู้เริ่มต้น ที่มาของบทความจากเว็บ อ.เล็ก พลูโต www.lekpluto.com

การผูกดวงชะตา  คือ การบรรจุตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ลงไปในแผ่นจักรราศี  ซึ่งในที่นี้ หมายถึง  ดวงชะตาของบุคคล (ดวงสูติกาล)  ดวงชะตาบ้านเมือง, ดวงฤกษ์ต่าง ๆ รวมทั้ง ดวงกาลชะตา (ดวงที่ผูกขึ้นขณะนั้น เพื่อใช้ในการพยากรณ์เหตุการณ์ปัจจุบัน)  ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

              ๑. ดวงไม่มีสมผุส หรือ ดวงอีแปะ  เป็นการผูกดวงชะตาแบบง่าย  ใช้เวลาประมาณ ๓ – ๕ นาที ก็สามารถผูกเสร็จ และใช้ในการพยากรณ์ได้ทันที ซึ่งดวงประเภทนี้จะไม่มีสมผุสดาว (องศา, ลิบดา ของดาว) เพียงแต่แสดงตำแหน่งของดาวในจักรราศีเท่านั้น มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ดวงราศีจักร”

               ๒. ดวงชะตาแบบมีสมผุส  หรือ  ดวงพิชัยสงคราม  การผูกดวงแบบนี้ เป็นการผูกดวงชะตาแบบละเอียด  คือ มีการแสดงสมผุสของดาวพระเคราะห์ทุกดวง  ซึ่งจะต้องมีการชำระสมผุส จากเวลาเกิดที่แท้จริง (หักจากเวลาท้องถิ่นแล้ว)  โดยการคำนวณหาแต่ละดาวไป  ซึ่งใช้เวลานาน และมีความยุ่งยากมาก  แต่จะให้ประโยชน์อย่างมากในการพยากรณ์  ในสมัยโบราณ บรรดาแม่ทัพ นายกอง ทุกคน มักจะมีดวงพิชัยสงครามติดตัว  หรือ บรรจุลงในแผ่นทองคำ เงิน นาค (สามกษัตริย์) เอาไว้บูชาเสมอ ดวงลักษณะนี้จะมีการ “ขับดาวเข้านวางค์”   เพื่อใช้ในการพิจารณา “ไส้ชะตา” ซึ่งดวงที่เกิดขึ้นจากการขับดาวเข้านวางค์นี้ เราเรียกว่า “ดวงนวางค์จักร”

                สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งเริ่มเรียน  และไม่มีพื้นฐานมาก่อน  ควรจะได้ผูกดวงอีแปะให้ชำนาญ  และหัดพยากรณ์ดวงชนิดนี้ให้แตกฉานเสียก่อน  จึงจะก้าวเข้าไปศึกษาดวงพิชัยสงครามต่อไป  แต่ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีในการคำนวณล้ำหน้าไปมาก  มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างโปรแกรมการคำนวณ  ซึ่งก็ได้ผลดีมาก  ทำให้การผูกดวงทั้งสองประเภทนี้ ทำได้โดยง่ายในพริบตาเดียว

การผูกดวงอีแปะ

                ก่อนที่นักศึกษาจะผูกดวงอีแปะได้   นักศึกษาจะต้องอ่านปฏิทินโหรให้ได้เสียก่อน   ในที่นี้  ข้าพเจ้าขอแนะนำให้นักศึกษาใช้ปฏิทินโหรของ   อ.ทองเจือ  อ่างแก้ว  ซึ่งเป็นที่ยอมรับของโหรทุกระดับ  ว่ามีการคำนวณได้อย่างถูกต้อง  ตาม “คัมภีร์สุริยยาตร์” สามารถพิสูจน์ได้ทุกตัวอักษร และใช้ได้ผลดีอย่างน่าอัศจรรย์ในการพยากรณ์ โดยปฏิทินดังกล่าว (ชนิดไม่มีสมผุส) มีด้วยกัน ๑๐ ช่อง แต่เพื่อให้การเรียนในระยะต้นเป็นไปด้วยความราบรื่น ข้าพเจ้าจะขอให้นักศึกษาพิจารณาช่องต่าง ๆ ที่จำเป็นในการผูกดวงอีแปะ เพียง ๖ ช่อง ดังนี้ (ดูภาพประกอบ)

ภาพแสดงส่วนต่างๆของปฏิทินโหร

ตัวอย่างเป็นปฎิทินดาราศาสตร์ 100 ปี ของอ.ทองเจือ อ่างแก้ว
แสดงไว้เพื่อเป็นแนวทางให้เห็นว่า โหรในสมัยก่อนผูกดวงกันอย่างไร?
ปฎิทินนี้แสดงสมผุสของดาวเคราะห์ทุกดวงในวันสิ้นเดือน
มีเฉพาะดาวอาทิตย์และจันทร์ที่แสดงเป็นรายวัน
ดูภาพปฎิทินดาราศาสตร์ของอ.ทองเจือ อ่างแก้ว
ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คลิก
แสดงสมผุสของดาวเคราะห์ทุกดวงในแต่ละวัน

(1)  ช่องที่ ๑   (2)   ช่องที่ ๒    (3) ช่องที่ ๓   (4) ช่องที่ ๔    (5) ช่องที่ ๕    (6) ช่องที่ ๖    (7) ราศีอาทิตย์ (8) องศา, ลิบดา อาทิตย์ (9) ราศีจันทร์ (10) องศา, ลิบดาจันทร์ (11) ราศีดาวย้าย (12) องศา, ลิบดา (13) เวลาดาวย้าย (14) จันทร์ดับ (15) อาทิตย์ย้าย (16) อักษรย่อชื่อดาว (17) ดาวเดินผิดปกติ (18) จันทร์เต็มดวง (19) รายละเอียดดาวย้ายวันสิ้นเดือน (เว้นอาทิตย์กับจันทร์) (20) ราศี (21) องศา, ลิบดา (22) ฤกษ์, นาทีฤกษ์ (23) ตำแหน่งดาวทุกดวงในวันสิ้นเดือน

                ช่องที่  ๑   คือ  ช่องที่อยู่ด้านล่างสุดของปฏิทิน  (ดูภาพ)  จะมีรูปจักรราศี  และตำแหน่งดาวพระเคราะห์อยู่ตรงกลาง  (ตำแหน่งของดาวทุกดวงในวันสุดท้ายของเดือน ในที่นี้คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๒)   ช่องนี้เป็นช่องแรกที่นักศึกษาต้องดู  เพื่อหาปี พ.ศ.  และ เดือน เกิดของเจ้าชะตา  (กรณีดวงสูติกาล)  ซึ่งอยู่ทางด้านบนซ้ายมือสุดของจักรราศี

ช่องที่  ๒   คือ  ช่องที่แสดงวัน  (ชื่อดาวพระเคราะห์)   วันที่ (สุริยทิน)  ข้างขึ้น แรม และเดือนไทย  (จันทรคติ)  ซึ่งจะอยู่ส่วนบนของช่องที่ ๑  นับจากช่องดาวย้ายราศีทางขวามือ  (ดูตัวเลขกำกับ)  จะเห็นช่องวันที่  ช่องเดือนไทย  ข้างขึ้นข้างแรมของไทย  และช่อง “วาร” ซึ่งหมายถึง วันตามชื่อพระเคราะห์ทั้ง ๗ ขอให้นักศึกษาพิจารณาช่อง “วาร” ให้ดี เมื่อมองลงมา จะเห็นอักษรย่อที่ใช้นั้น ไม่เป็นไปตามความเข้าใจของคนทั่วไป ทั้งนี้ เพราะอักษรย่อดังกล่าว มาจากภาษาบาลี สันสกฤต ดังนี้

                                อักษร   “”   มาจาก   อาทิตโต     คือ วันอาทิตย์ หรือ ดาวอาทิตย์

                                อักษร   “”   มาจาก   จันโท         คือ วันจันทร์ หรือ ดาวจันทร์

                                อักษร   “”   มาจาก   ภุมโม         คือ วันอังคาร หรือ ดาวอังคาร

                                อักษร   “”   มาจาก   วุโธ             คือ วันพุธ หรือ ดาวพุธ

                                อักษร   “”   มาจาก   ชีโว            คือ วันพฤหัสบดี หรือ ดาวพฤหัสบดี

                                อักษร   “”   มาจาก   ศุกโร          คือ วันศุกร์ หรือ ดาวศุกร์

                                อักษร   “”   มาจาก   เสาโร         คือ วันเสาร์ หรือ ดาวเสาร์

                ซึ่งอักษรย่อเหล่านี้  นักศึกษาจะต้องจำให้ได้  เพราะใช้เป็นอักษรย่อดาวที่ใช้ในปฏิทินนี้ด้วย  สำหรับดาวอื่น ๆ  ที่เหลือนั้น  ได้แก่  ราหู  อักษรย่อ “”   เกตุ อักษรย่อ”” มฤตยู อักษรย่อ “” สำหรับ ดาวเนปจูน (น), พลูโต (พ), แบคคัส (บ) นั้น  ในปฏิทินนี้ไม่มี  เนื่องจากดาวดังกล่าวใช้เวลานานมากในการย้ายราศีแต่ละครั้ง  และโหรส่วนมากยังไม่นิยมโหราศาสตร์ “ระบบพลูหลวง”  ดังนั้น ขอให้นักศึกษาใช้ปฏิทินดาวทั้งสามนี้  ของ อ.พลูหลวง ประกอบการผูกดวง  ซึ่งท่านได้คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีเดียวกับ  อ.ทองเจือ  อ่างแก้ว  สามารถใช้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี

                ช่องที่  ๓  คือ ช่อง “อาทิตย์” ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือสุดของปฏิทิน (ดูภาพ) จะมี ๓ ช่อง ย่อย ๆ คือ ช่องย่อยที่ ๑ แสดง “ราศีของอาทิตย์” (ดาวอาทิตย์ย้ายราศีเดือนละ ๑ ครั้ง ในราวกลางเดือนของทุกเดือน) ช่องย่อยที่ ๒ แสดง “องศา”  ของดาวอาทิตย์ ช่องย่อยที่ ๓ แสดง “ลิบดา” ของดาวอาทิตย์

                สำหรับเลขประจำราศี  ในหนังสือเล่มนี้  มีด้วยกัน  ๑๒ เลข  โดยเริ่มจาก “0” ดังนี้

                                เลข           “0”          หมายถึง                 ราศีเมษ

                                                “1”          หมายถึง                 ราศีพฤษภ

                                                “2”          หมายถึง                 ราศีเมถุน

                                                “3”          หมายถึง                 ราศีกรกฎ

                                                “4”          หมายถึง                 ราศีสิงห์

                                                “5”          หมายถึง                 ราศีกันย์

                                                “6”          หมายถึง                 ราศีตุลย์

                                                “7”          หมายถึง                 ราศีพิจิก

                                                “8”          หมายถึง                 ราศีธนู

                                                “9”          หมายถึง                 ราศีมังกร

                                                “10”       หมายถึง                 ราศีกุมภ์

                                                “11”       หมายถึง                 ราศีมีน

                ซึ่งเลขประจำราศีเหล่านี้  ใช้เฉพาะเวลาผูกดวงชะตาตามปฏิทินโหรนี้เท่านั้น  อย่าได้นำไปใช้สับสนในเรื่องของจักรราศี  ๑๒ ราศี  เป็นอันขาด  โดยเฉพาะลัคนาราศีโลก  ซึ่งถือว่า  ราศีเมษ  เป็นราศีที่ ๑  (แต่หมายถึง เลขประจำราศี เป็นเลข “0” ไม่ใช่เลข “1”)

                ช่องที่ ๔  คือ  ช่องดาวจันทร์  เป็นช่องที่ถัดจากช่องอาทิตย์มาทางด้านขวามือ (ดูภาพ)  แบ่งเป็น  ๓ ช่องย่อย เช่นเดียวกับอาทิตย์  คือ  ช่องย่อยที่  ๑  แสดง ราศีที่ดาวจันทร์สถิตอยู่  ช่องย่อยที่ ๒ แสดงองศาของดาวจันทร์ และ ช่องย่อยที่  ๓  แสดง ลิบดาของดาวจันทร์

                ช่องที่  ๕  คือ ช่อง “จันทร์ยก” หมายถึง เวลาที่ดาวจันทร์ย้ายราศี จากราศีหนึ่งไปสู่ราศีหนึ่ง (ยก กับ ย้าย มีความหมายเหมือนกัน) ซึ่งจันทร์จะย้ายราศีทุก ๆ ๒ วันครึ่ง เวลาที่ว่านี้มีความสำคัญมากในการลงตำแหน่งของดาวจันทร์ในดวงชะตา ซึ่งนักศึกษาจะพบบ่อย ๆ เมื่อนักศึกษาเห็นดวงชะตาที่จะผูก ตรงกับวันจันทร์ยก หรือย้ายราศี นักศึกษาจะต้องพิจารณาเวลาของดาวจันทร์ด้วยทุกครั้ง และต้องทราบเวลาเกิด หรือ เวลาตกฟากของเจ้าชะตาด้วย

ถ้าหากว่าเจ้าชะตาเกิดก่อนดาวจันทร์ยก นักศึกษาจะลงตำแหน่งราศีของวันนั้นไม่ได้ ต้องลงราศีของวันก่อนวันเกิดจึงจะถูกต้อง เช่น เจ้าชะตาเกิดวันที่ ๑๖ ธันวาคม  ๒๔๘๒  เวลา  ๐๒.๑๐ น. (ดูปฏิทิน)  จะเห็นว่า  ในช่องของดาวจันทร์ยก  จะมีเวลาของดาวจันทร์เอาไว้  ซึ่งเราอ่านว่า

“จันทร์ยก หรือ ย้ายราศี เข้าสู่ราศี10  (ราศีกุมภ์)  เวลา  ๐๔.๓๗ น.” แต่ดวงนี้  เจ้าชะตาเกิดเวลา  ๐๒.๑๐ น. ก่อนเวลาจันทร์จะยกหรือย้ายราศี  ดังนั้น “จันทร์ในดวงนี้จะอยู่ในราศี 10  (ราศีกุมภ์)  ไม่ได้  เพราะขณะเกิด ดาวจันทร์ยังไม่ย้าย  เราจะต้องดูวันก่อนวันที่เจ้าชะตาเกิด คือ วันที่  ๑๕  ธันวาคม  ๒๔๘๒  (เหนือขึ้นไปข้างบน)  จะเห็นว่า  จันทร์อยู่ในราศี (ราศีมังกร)  เมื่อพิจารณาแล้ว  จึงบรรจุดาวจันทร์ในดวงนี้ไว้ในราศีมังกร  จึงจะถูกต้อง

                ช่องที่  ๖  คือ ช่องดาวย้ายราศี  (ขวามือสุด)  ช่องนี้ก็เหมือนกับช่องจันทร์ยกนั่นเอง  แต่เป็นการบอกเวลาของดาวย้ายราศีทุกดวงในวันนั้น  (เว้นจันทร์) ต้องระวังเครื่องหมายปีกกาด้วย เพราะวันหนึ่ง อาจจะมีดาวอื่น ๆ เว้นดาวจันทร์ ย้ายมากกว่า ๑ ดวง  หลักเกณฑ์การพิจารณาเหมือนกับดาวจันทร์ทุกประการ  แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง  เกี่ยวกับการเขียน  คือ เขาจะเขียนเลขราศี ตามด้วย องศา และลิบดา นำหน้า  และตามด้วยอักษรย่อของดาว อยู่ตรงกลาง  แล้วจึงตามด้วย เวลาที่ดาวนั้นย้าย

 

 เช่น ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม  ๒๔๘๒  จะเห็นตัวเลข  “11.0.25 ภ. 09.22”  อยู่ในช่องดาวย้ายราศี   อ่านว่า “ดาวอังคาร ย้ายเข้าสู่ราศี 11 (ราศีมีน) ศูนย์องศา ยี่สิบห้าลิบดา ในเวลา ๐๙.๒๒ น.”

                สำหรับอาทิตย์นั้น  จะย้ายราศีทุกเดือน  ในช่วงกลางเดือน  จะไม่มีราศี  องศา และ ลิบดา บอกไว้  แต่จะเขียนเพียง อักษรย่อ คือ “อ.” และตามด้วย เวลาย้ายราศีเท่านั้น เพราะ ราศี องศา ลิบดา ได้บอกเอาไว้ในช่องอาทิตย์ แล้ว

                ในช่องของดาวย้ายราศี  บางวันนอกจากจะมีรายการดาวย้ายราศีตามวันและเวลาแล้ว  ท้ายสุดของเวลา  จะมีตัวอักษรอยู่  ๓  ตัว  ได้แก่ ตัว ส., ตัว ม., และ ตัว พ. เช่นวันที่  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๒  ในช่องดาวย้ายราศี  จะเห็น “7.0.22 ว. 14.30  ส”  ตัว “” ที่ต่อท้ายเวลานี้  มาจากคำว่า “เสริต”  แปลว่า  “เดินเร็ว”  แสดงว่า ดาวพุธดวงนี้เดินเร็ว หรือ ย้ายราศีเร็วกว่ากำหนด  ส่วนตัว “”  มาจากคำว่า  “มนท์" แปลว่า “อืดอาด ชักช้า”  หมายถึง ดาวที่เดินช้า หรือย้ายราศีช้ากว่ากำหนด  ส่วนตัว “”  มาจากคำว่า “พักร์”  หมายถึง  "ดาวที่เดินถอยหลัง "  กล่าวคือ  แทนที่จะย้ายราศีไปข้างหน้า  กลับเดินถอยหลังทวนจักรราศี  ซึ่ง  ดาวที่เดินผิดปกตินี้  จะให้โทษแก่ดวงชะตา  ซึ่งในระยะเริ่มเรียนนี้  นักศึกษาไม่ต้องใส่ใจมากนัก  ที่อธิบายให้ทราบ  เพื่อเป็นแนวทางขั้นพื้นฐานเท่านั้น

ตัวอย่างการผูกดวงชะตา (ดวงอีแปะ)

สมมติเจ้าชะตาเกิดวันที่  ๒๕  ธันวาคม  ๒๔๘๒  เวลา  ๑๐.๓๐ น.  จังหวัดกรุงเทพมหานคร  เมื่อทราบวัน เดือน ปีเกิด เวลาเกิด และสถานที่เกิดครบถ้วนแล้ว 

ขั้นตอนที่ ๑  นักศึกษาจะต้องนำเวลาเกิด (เวลานาฬิกา) มาชำระให้เป็นเวลาท้องถิ่นเสียก่อน (ดูรายละเอียดเวลาท้องถิ่นในประเทศไทย ท้ายบทเรียน)  ในดวงนี้  เจ้าชะตาเกิดเวลา  ๑๐.๓๐ น.  สถานที่เกิดคือ  กรุงเทพมหานคร  ซึ่งต่างจากเวลามาตรฐานของประเทศไทย (เวลานาฬิกา) อยู่  ๑๘   นาที  ให้เอา  ๑๘  นาทีมาหักออกจากเวลาเกิด  จะได้เวลา  ๑๐.๑๒ น.  ซึ่งเวลาดังกล่าวถือว่าเป็นเวลาเกิดที่แท้จริง  ตามเวลาท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร (เรื่องของเวลาเกิดนี้มีความสำคัญมาก  จะได้อธิบายเหตุผล  และความเป็นมาให้ทราบในภายหลัง)

ขั้นตอนที่ ๒  ให้เปิดปฏิทินโหรไปที่เดือน และปีเกิด ของเจ้าชะตา (ช่องที่ ๑)  คือ เดือนธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๘๒  เมื่อเจอแล้วให้ดูช่องวันที่  (ช่องที่ ๒)  คือ  วันที่  ๒๕ 

จะเห็นว่า  ตรงกับวันจันทร์  ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ มองในปีนักษัตร  (ข้างบนสุด)  จะตรงกับปีเถาะ  จ.ศ. ๑๓๐๑ (เลข จ.ศ. จะไม่ใส่ก็ได้ เพราะปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว)  ให้นักศึกษา กรอกรายการดังกล่าว ใต้วงกลมจักรราศี  ดังนี้

 

สูติกาล  วันที่  ๒๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๔๘๒  เวลา  ๑๐.๓๐ น. กรุงเทพมหานคร
ตรงกับวันจันทร์  ขึ้น  ๑๔  ค่ำ  เดือน ๑  ปีเถาะ

ขั้นตอนที่  ๓  เมื่อลอกรายการเกิดทั้งหมดแล้ว  ให้นักศึกษาดูในช่องของดาวอาทิตย์  (ช่องที่ ๓)  ในช่องย่อยที่ ๑ (ราศี)  จะเห็นอาทิตย์อยู่ในราศี 8 คือ ราศีธนู ให้นักศึกษาลอกหรือบรรจุดาวอาทิตย์ลงในดวงชะตา เมื่อบรรจุอาทิตย์แล้ว ให้ดูในช่องย่อยที่ ๒-๓ ถัดไป (ยังอยู่ในช่องอาทิตย์) จะเห็นองศา และลิบดา คือ 9 องศา 50 ลิบดา (9 50) ให้นักศึกษาลอกองศาอาทิตย์ลงในช่องสี่เหลี่ยมตรงกลางจักรราศี ดังนี้

ขั้นตอนที่ ๓ ลงดาวอาทิตย์ และองศาอาทิตย์

                ขั้นตอนที่  ๔  ให้นักศึกษาดูในช่องดาวจันทร์  ซึ่งถัดจากช่องอาทิตย์   (ช่องที่ ๔)  จะเห็นดาวจันทร์อยู่ในราศี  2  (เมถุน)  แต่อย่าเพิ่งลงดาวจันทร์  จนกว่าจะพิจารณาในช่องจันทร์ยก (ช่องที่ ๕)  เสียก่อน  จะเห็นว่าในวันดังกล่าว  จันทร์ยกหรือย้ายราศีในเวลา  ๒๐.๓๗ น. (เข้าราศี 2 เมถุน)   ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่เจ้าชะตาเกิด   ดังนั้น   ดาวจันทร์ในดวงนี้   จึงอยู่ในราศี 1 (พฤษภ) จึงจะถูกต้อง

                ในกรณีที่ไม่มีจันทร์ยกหรือย้ายราศี  นักศึกษาสามารถลงดาวจันทร์ได้เลย  หรือ ถ้าจันทร์ยกก่อนเจ้าชะตาเกิด  นักศึกษาก็สามารถลงดาวจันทร์ได้เช่นกัน  เพราะขณะที่จันทร์ยกนั้น  เจ้าชะตายังไม่เกิด

                เรื่องกฎเกณฑ์การพิจารณาจันทร์ยก  หรือดาวอื่น ๆ  ย้ายราศีนั้น  ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน  ขอให้นักศึกษาทำความเข้าใจให้ดี  ไม่เข้าใจให้รีบถามทันที  เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาดาวอื่น ๆ ต่อไป

ขั้นตอนที่ ๔  ลงดาวจันทร์ หลังจากพิจารณาในช่องจันทร์ยกแล้ว

                ขั้นตอนที่  ๕  เมื่อนักศึกษาลงดาวอาทิตย์ และจันทร์แล้ว  ขอให้นักศึกษาดูในช่องดาวย้ายราศี  (ช่องที่ ๖ ) ในวันที่  ๒๕  มีดาวย้ายราศี  ๑  ดวง คือ  อังคาร (ภ)  ย้ายเข้าสู่ราศี 11 (มีน) ในเวลา 09.22 น. ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่เจ้าชะตาเกิด ( ๑๐.๑๒ น.– เวลาชำระแล้ว) ดังนั้น เราสามารถลงดาวอังคารได้ทันที เพราะเจ้าชะตาเกิดหลังจากดาวอังคารย้ายแล้ว  (ดูภาพ)

ขั้นตอนที่ ๕ ลงดาว ในช่องดาวย้าย ในวันที่เจ้าชะตาเกิด

                ขั้นตอนที่  ๖  คือ การลงดาวอื่น ๆ ที่เหลือ  ขอให้นักศึกษาดูในช่องดาวย้ายราศี (ช่องที่ ๖)  เหนือวันที่  ๒๕  ขึ้นไป  จะเห็นดาวศุกร์ (ศ)  ย้ายราศีในวันที่  ๒๒   โดยศุกร์อยู่ในราศี 9 (มังกร)  ให้นักศึกษาลงดาวศุกร์ลงไป  นอกจากดาวศุกร์แล้ว  นักศึกษาจะเห็นดาวอาทิตย์ย้ายในวันที่  ๑๖  เวลา  ๑๐.๐๙ น.  ในกรณีนี้ ไม่ต้องลงดาวอาทิตย์  เพราะเราได้ลงเอาไว้แล้ว (อาทิตย์ย้ายเดือนละครั้ง ประมาณช่วงกลางเดือน จึงละไว้ในฐานที่เข้าใจ)  เมื่อดูขึ้นไปอีก  จะเห็นดาวมฤตยู (ม)  ย้ายเข้าราศี 0 (เมษ) ในวันที่ ๙ ขอให้นักศึกษาลงดาวมฤตยูลงไป เมื่อดูขึ้นไปอีก จะเห็นดาวพุธ (ว) ย้ายในวันที่ ๘ ในราศี 7   (พิจิก) ขอให้นักศึกษาลงดาวพุธลงไป สรุปแล้ว เรามีดาวที่ลงในแผ่นดวงแล้ว ดังนี้

ขั้นตอนที่ ๖ ลอกดาวอื่น ๆ ที่ย้ายก่อนวันที่เจ้าชะตาเกิด

ขั้นตอนที่ ๖.๑ ดาวที่เหลือนอกจากนั้น  ให้นักศึกษาดูปฏิทินของเดือนที่แล้ว คือ เดือนพฤศจิกายน  ในช่องล่างสุดที่มีรูปจักรราศี  ซึ่งตำแหน่งดาวในดวงนี้  เป็นตำแหน่งดาวในวันที่  ๓๐  (วันสุดท้ายของเดือน)

ให้นักศึกษาลอกเฉพาะดาวที่ยังขาดอยู่ คือ ดาวพฤหัสบดี (ช) ในราศี 11 (มีน) ,ดาวเสาร์ (ส) ในราศี 11 (มีน), ราหู (ร) ในราศี 6 (ตุลย์) และเกตุ (ก) ในราศี 3 (กรกฎ) ก็จะได้ดาวครบ ๑๐ ดวง ดังรูป

ขั้นตอนที่ ๖.๑  ลงเฉพาะตำแหน่งดาวที่เหลือในวันสุดท้ายของเดือนก่อน

ขั้นตอนที่ ๖.๒ เป็นขั้นตอนพิเศษ สำหรับโหราศาสตร์ระบบพลูหลวง ที่มีดาวเพิ่มจากโหราศาสตร์ไทยเดิม อีก ๓ ดวง คือ เนปจูน (น) พลูโต (พ) และแบคคัส (บ) ซึ่งปฏิทินของ อ.ทองเจือ  อ่างแก้ว  ไม่มีการคำนวณไว้  ขอให้นักศึกษาใช้ปฏิทินของ อ.พลูหลวง  ซึ่งข้าพเจ้าได้จัดทำขึ้น แทรกไว้ในตอนท้ายของบทเรียน  จะเห็นว่าในวันดังกล่าว  ดาวเนปจูน อยู่ในราศีกันย์  พลูโต อยู่ในราศีกรกฎ  และ แบคคัส ก็อยู่ในราศีกรกฎเช่นกัน  เมื่อลงดาวทั้งสามแล้ว ก็จะได้รูปจักรราศีที่สมบูรณ์ด้วยดาวทุกดวงใน “ระบบพลูหลวง” ดังนี้

ขั้นตอนที่ ๖.๒ (พิเศษ) ลงดาวเนปจูน พลูโต แบคคัส ในระบบพลูหลวง 

เมื่อบรรจุดาวทุกดวงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ขอให้นักศึกษาพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อความถูกต้องแน่นอน  จุดนี้สำคัญมาก  เพราะหากนักศึกษาลอกดาวผิดช่องราศี หรือ ขาดดาวดวงใดดวงหนึ่งไป  จะทำให้ข้อมูลเกิดการผิดพลาด ไม่ตรงกับความเป็นจริง จะทำให้การพยากรณ์ผิดพลาดไปด้วย

การใช้แผ่นหมุนหาลัคนา

                แผ่นหมุนหาลัคนา  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการหาลัคนา  ซึ่งแต่เดิมนั้น  การหาลัคนาจะทำได้โดยวิธีเดียว คือ การคำนวณจากจุดที่อาทิตย์พ้นขอบฟ้า หรือ สมผุสอาทิตย์อุทัย  (เวลาประมาณ ๐๖.๐๐ น.) ผ่านราศีต่าง ๆ  จนกระทั่งถึงเวลาเกิดของเจ้าชะตา  แล้วจึงวางลัคนาลงไปในราศีนั้น

                ต่อมา  โหราจารย์  ที่มีความรู้ในเรื่องของเวลา  และการคำนวณ  ได้คิดค้นเครื่องมือสำหรับใช้ในการหาลัคนา  เพื่อความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  โดยทำเป็นรูปแผ่นหมุนดังกล่าว  มีทั้งชนิดที่ทำด้วยกระดาษ  และโลหะอลูมิเนียม  มีด้วยกันหลายท่าน  แต่ในที่นี้  ข้าพเจ้าขอให้นักศึกษาใช้แผ่นหมุนหาลัคนาของ อ.สิงห์โต  สินสันธิ์เทศ  เท่านั้น  เพราะได้ตรวจสอบพิจารณาแล้ว ได้ผลถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้

ปัจจุบัน  วิทยาการทางด้านคอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทในการทำงานด้านต่าง ๆ  ดังนั้น ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านการคำนวณ  จึงได้ทำโปรแกรมคำนวณตำแหน่งดาว และลัคนาไว้พร้อมสรรพ ซึ่งก็ถูกต้องเชื่อถือได้  แต่ต้องดูให้ดีด้วยว่า โปรแกรมนั้น  ใช้ปฏิทินโหรของใคร  อย่างในเวปไซด์ของห้องโหรไทยนั้น  เขาใช้ปฎิทินของ อ.ทองเจือ  และการคำนวณหาลัคนา ของ อ.สิงห์โต  หากนักศึกษาต้องการใช้โปรแกรมดังกล่าวเพื่อความสะดวกรวดเร็วก็ให้เข้าไปในเวปไซด์นี้  

http://honghonthai.hypermart.net  (แล้วคลิกที่ห้องผูกดวง)

วิธีใช้แผ่นหมุนหาลัคนา

                ก่อนที่เราจะได้เรียนรู้การใช้แผ่นหมุนหาลัคนา  ขอให้นักศึกษามาทำความเข้าใจถึงส่วนต่าง ๆ ของแผ่นหมุนหาลัคนา ดังนี้  (ดูภาพประกอบ)

                ภาพแสดงส่วนต่าง ๆ ของ แผ่นหมุนหาลัคนา

 

             1. เลขนาฬิกา (ชั่วโมง) 2. เลขนาที 3. องศา 4. เลขกลุ่มดาวฤกษ์ 5. เลขลูกนวางค์ 6. เลขตรียางค์

7. ตรียางค์ลูกพิษ (ให้โทษ) 8. เลขกลุ่มดาวฤกษ์ (แบบเดียวกับเลข 4) 9. ชื่อฤกษ์ และกลุ่มดาวฤกษ์

10. นาทีฤกษ์ 11. ชื่อราศี

ส่วนที่  ๑  คือ  แผ่นวงกลมแผ่นล่าง  นักศึกษาจะเห็นตัวเลข  เรียงรายกันเป็นวงกลม  จากขวาไปซ้าย  เรียงตามลำดับตั้งแต่ เลข 1 ถึง  24  เลขที่ว่านี้คือ   เลขนาฬิกา   ซึ่งมี   ๒๔  ชั่วโมง  ในแต่ละช่องของชั่วโมง  จะแบ่งออกเป็นช่องย่อย ๆ  ช่องละ  ๑๐  นาที  (ชั่วโมงหนึ่งมี ๖๐ นาที)  ในช่องย่อย ๑๐ นาทีนั้น  จะมีขีดเล็ก ๆ  แบ่งครึ่งซอยออกไปอีก  คือ  ช่องละ ๕ นาที  ในระหว่างช่องชั่วโมงนั้น  จะมีขีดยาวแบ่งตรงกลาง  แสดงถึงครึ่งชั่วโมง  (๓๐ นาที)  อีกด้วย (ดูภาพลูกศรชี้)

ส่วนที่  ๒  เป็นวงกลมแผ่นบน  (หมุนได้)  นับจากวงกลมชั้นนอกที่สุด  แบ่งออกเป็นขีดเล็ก ๆ  รอบวงกลมมี  ๓๖๐  ขีด  คือ ขีดละ  ๑  องศา  ทุก ๆ ขีด  และอยู่ในราศีละ  ๓๐  องศา  ทุก ๆ  ราศี

ส่วนที่  ๓  ถัดจากวงชั้นที่ ๑ เข้าไปข้างใน  ที่มีตัวเลขเรียงตั้งแต่  ๑  ถึง  ๒๗  นั้น  คือ กลุ่มดาวฤกษ์  ซึ่งบอกชื่อไว้ในรอบวงกลมชั้นที่  ๕  (ส่วนที่ ๕)  สำหรับตัวเลขต่าง ๆ ที่ถัดกลุ่มดาวฤกษ์ลงมาข้างล่างนั้น  คือ ตัวเลขของกลุ่มนวางค์  เลขลูกนวางค์นี้  ได้ทำปีกกาโยงเอาไว้  ๔  ตัวเลข  ต่อ ๑ ฤกษ์ ทุก ๆ ฤกษ์ไป

ส่วนที่  ๔  ในวงกลมชั้นที่  ๓  ซึ่งมีตัวเลขแสดงไว้  คือ  ลูกนวางค์  ๓ ตัว ต่อ ๑  ตรียางค์ ทุกแห่งไป  ถ้าตรียางค์ใดมีรูปอยู่ใต้ตัวเลขนั้น   คือ ตัวตรียางค์ลูกพิษ (ให้โทษ)

เรื่องนวางค์ และตรียางค์  ข้าพเจ้าไม่ขออธิบายไว้ ณ ที่นี้  เนื่องจากการผูกดวงอีแปะนั้น  ยังไม่สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์ได้  ขอให้นักศึกษาพิจารณาผ่านไปก่อน  เมื่อถึงโอกาสที่จะศึกษาดวงพิชัยสงครามแล้ว  จะได้อธิบายให้ทราบต่อไป

ส่วนที่  ๕  ในวงกลมชั้นที่  ๕  บอกชื่อของกลุ่มดาวฤกษ์  เป็นภาษาบาลี  และภาษาสามัญ  สำหรับในรอบวงกลมชั้นที่  ๔  ที่ผ่านมา และไม่ได้อธิบายให้ทราบนั้น  คือ ตำแหน่งชั่วโมง นาที และวินาที    ของกำลังนวางค์แต่ละลูกของราศีต่าง ๆ ทุกราศี  (ซึ่งขณะนี้ยังไม่จำเป็นที่นักศึกษาจะต้องนำมาใช้ จึงขอผ่านไปก่อน)

ส่วนที่  ๖  ในรอบวงกลมชั้นที่  ๖  คือ  ชื่อราศี

ตัวอย่างวิธีการใช้แผ่นหมุนหาลัคนา

                จากดวงชะตาตัวอย่าง  เราจะเห็นอาทิตย์  มีสมผุสอาทิตย์อุทัย (ในช่องสี่เหลี่ยมกลางดวง)  ๙ องศา  ในราศีธนู  ให้นักศึกษาหมุนแผ่นบนในช่องที่มีองศา  และราศี  ตรงกับเลข ๖ (ลูกศร)  ซึ่งหมายถึง ๖ นาฬิกา (ดูภาพประกอบ)  ข้อสำคัญ ขอให้หมุนตรงกับราศีที่อาทิตย์สถิตอยู่  ในดวงนี้  อาทิตย์ อยู่ราศีธนู  ให้เริ่มจากจุดกึ่งกลางระหว่างราศีพิจิกกับราศีธนู  หมุนไปทางขวา (ตามเข็มนาฬิกา) เริ่มจาก ๐ องศา ไปจนถึง  ๙  องศา  จับให้มั่น  อย่าให้เคลื่อนเป็นอันขาด  แล้วดูเลขนาฬิกาแผ่นล่าง รอบนอกสุด (ส่วนที่ ๑)  ให้ตรงกับเวลา  ๑๐.๑๒ น.  (เวลาชำระแล้ว)  เมื่อมองลงมา  จะเห็นได้ว่า  ลัคนาสถิตราศีกุมภ์  (ธาตุลม)  เกี่ยวฤกษ์ที่  ๒๕  (ปุราพัธ)  ในเพชฌฆาต ฤกษ์  (สำหรับ นวางค์   และตรียางค์ ยังไม่ต้องลงก็ได้  เพราะได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับดาวเกษตรประจำราศีในระบบพลูหลวง เมื่อนักศึกษาเริ่มเรียนดวงพิชัยสงครามแล้ว  จึงจะอธิบายให้ทราบภายหลัง)

ภาพตัวอย่างการหาลัคนาด้วยแผ่นหมุน

จากดวงตัวอย่าง อาทิตย์อยู่ราศีธนู  ๙  องศา เกิดเวลา ๑๐.๑๒ น.(ชำระแล้ว)

ภาพที่ ๑

        ให้เริ่มต้นจากเวลา ๖ นาฬิกา โดยหมุนแผ่นลัคนาให้จุดกึ่งกลางระหว่างราศีพิจิกกับธนูอยู่ตรงเลข ๖ ที่มีลูกศรชี้

ภาพที่ ๒ 

                ให้หมุนแผ่นหมุนหาลัคนา (แผ่นข้างบนสีขาว) ไปทางขวามือ  ( ตามเข็มนาฬิกา ) ไปยังขีดที่ ๙ (ในดวงนี้ อาทิตย์ อยู่ในราศีธนู ๙ องศา)  จับให้มั่น อย่าให้เคลื่อนเป็นอันขาด

ภาพที่  ๓

                    จากนั้นให้กลับแผ่นหมุนไปทางซ้าย หรือ ขวา (ก็ได้ขึ้นอยู่กับเวลาเกิดของเจ้าชะตา) ในตัวอย่างนี้  เจ้าชะตาเกิดเวลา ๑๐.๑๒ น. (ชำระแล้ว) จึงกลับแผ่นหมุนไปทางซ้าย (ทวนเข็มนาฬิกา) โดยให้เลข ๑๒ อยู่ข้างบนแทนเลข ๖ ขณะที่กลับ อย่าให้แผ่นหมุนเคลื่อนตัวเป็นอันขาด ต้องจับให้มั่น สำคัญมาก  จากนั้น ให้ดูที่เวลาเกิดดังกล่าว จะเห็นว่า ๑๐ นาฬิกา ๑๒ นาทีนั้น ลัคนาจะอยู่ในราศีมีน (ธาตุน้ำ)  เกี่ยวฤกษ์ที่  ๒๕ ปุรวภัทรปว (เขียนง่าย ๆ ว่า ปุรภัทร หรือ ปุรพัธ จะลงหรือไม่ลงรายการในส่วนนี้ก็ได้ ส่วนมากโหรมักไม่ลง) ใน เพชฌฆาต ฤกษ์

                เมื่อหาลัคนาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ให้นักศึกษาใส่เครื่องหมาย “ลั” ลงในราศีที่ลัคนาสถิตอยู่ ในที่นี้คือราศี 11 (มีน) แล้วให้ลอกรายการเกิดเพิ่มเติม จะได้รูปดวงชะตา (ดวงอีแปะ) ที่สมบูรณ์แบบครบถ้วน (ตามที่นิยมกันทั่วไป)  ดังนี้

สูติกาล  วันที่  ๒๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๘๒ เวลา  ๑๐.๓๐  น.  กรุงเทพมหานคร
ตรงกับวันจันทร์  ขึ้น  ๑๔  ค่ำ  เดือน  ๑  ปีเถาะ ลัคนาสถิตราศีมีน  (ธาตุน้ำ)  ใน  เพชฌฆาต  ฤกษ์ 

แบบฝึกหัดผูกดวงชะตา

                    ให้นักศึกษา ฝึกหัดผูกดวงชะตาด้วยตนเอง โดยใช้ปฏิทินโหร ของ อ.ทองเจือ, แผ่นหมุนหาลัคนา ของ อ.สิงห์โต สินธุ์สันธิ์เทศ และปฏิทินดาวเนปจูน พลูโต แบคคัส ของ อ.พลูหลวง ที่ได้แนบมาให้ท้ายบทเรียน ด้วยการเข้าไปผูกดวง ตามรายการเกิดในส่วนของ "ตอบปัญหาดวงชะตา" ที่มีผู้ถามเข้ามาในเวป หากผูกแล้วตรงกัน ก็ถือว่าใช้ได้ หัดผูกมาก ๆ เข้าไว้ จะได้เพิ่มทักษะในการผูกดวง 

เวลาท้องถิ่นต่าง ๆ นำมาลบเวลานาฬิกา

เริ่มใช้ สำหรับผู้ที่เกิดตั้งแต่วันที่  ๑  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๖๓  เป็นต้นมา

ผู้ที่เกิดก่อนหน้านี้  ไม่จำเป็นต้องเอาเวลาเกิดมาลบ

จังหวัด

นาที

จังหวัด

นาที

กรุงเทพมหานคร
กระบี่
กาญจนบุรี
กำแพงเพชร
ขอนแก่น
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ชัยภูมิ
ชุมพร
เชียงราย
เชียงใหม่
ปัตตานี
อยุธยา
พังงา
พัทลุง
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบุรี
เพชรบูรณ์
แพร่
ภูเก็ต
มหาสารคาม
แม่ฮ่องสอน
ยะลา
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
ระนอง
ตรัง
ตราด
ตาก
นครนายก
นครปฐม
นครพนม
นครราชสีมา
นครศรีธรรมราช

 

18

24

21

22

9

11

15

16

19

12

23

21

24

15

17

25

19

18

19

20

15

19

26

6

27

15

-

5

25

21

10

23

15

19

1

11

20

 

นครสวรรค์

นนทบุรี

นราธิวาส

น่าน

บุรีรัมย์

ปทุมธานี

ประจวบคีรีขันธ์

ปราจีนบุรี

ระยอง

ราชบุรี

ลพบุรี

ลำปาง

ลำพูน

เลย

ศรีสะเกษ

สกลนคร

สงขลา

สตูล

สมุทรปราการ

สมุทรสาคร

สมุทรสงคราม

สระบุรี

สระแก้ว

สิงห์บุรี

สุโขทัย

สุพรรณบุรี

สุราษฎร์ธานี

สุรินทร์

หนองคาย

หนองบัวลำภู

อ่างทอง

อุดรธานี

อุตรดิตถ์

อุทัยธานี

อุบลราชธานี

19

18

12

16

7

17

20

14

14

20

17

22

23

13

2

3

17

19

17

18

20

16

14

18

20

19

22

6

9

-

18

9

19

19

-




นานาสาระ

สูตรการพยากรณ์ จากงานวิจัยของอ.สารณิชย์ article
ดวงดาวกับอาชีพ
การพยากรณ์ลัคนาในเรือนทักษา article
คุณและโทษของดาวเคราะห์ตรึงลัคน์และตรึงบาปเคราะห์ article
เคสศึกษา "ดวงชะตา ด.ญ. ถูกรถชนเสียชีวิตเมื่ออายุ 9 ขวบ" article
ดวงสตรีเป็นหม้าย article
สูตรการผสมเรือนชะตาแบบภพผสมภพ จากงานวิจัยของอ.สารณิชย์ article
การพยากรณ์ดาวพระเคราะห์ต่างๆในเรือนชะตา article
การพยากรณ์ดาวเคราะห์สถิตภพกดุมพะ article
องค์ประกอบที่สำคัญของวิชาโหราศาสตร์ article
การพยากรณ์ความหมายของเรือนชะตาในราศีต่างๆ article
หมอดูริมสนาม อนาคตอยู่ในดวงดาวหรือมือเรา โดย วินทร์ เลียววาริณ article
การเรียน โหราศาสตร์ ไม่ยากอย่างที่คิด article
ความหมายของภพต่างๆแบบภพผสมภพ ตามแนวของอ. สถิตย์ สถิตย์ยืนยง article
บทเรียนโหราศาสตร์ไทย ด้วยตนเอง หลักสูตรเร่งรัด หน้า 4 article
บทเรียนโหราศาสตร์ไทย ด้วยตนเอง หลักสูตรเร่งรัด หน้า 3 article
บทเรียนโหราศาสตร์ไทย ด้วยตนเอง หลักสูตรเร่งรัด หน้า 2 article
บทเรียนโหราศาสตร์ไทย ด้วยตนเอง หลักสูตรเร่งรัด หน้า 1 article
ดาวราหู เทพเจ้าแห่งความมัวเมา article
ดาวเสาร์ เทพเจ้าแห่งความทุกข์ระทม article
ดาวศุกร์ เทพเจ้าแห่งความรัก article
ดาวพฤหัส เทพเจ้าแห่งคุณธรรม article
ดาวพุธ เทพเจ้าผู้ชาญฉลาด article
ดาวอังคาร เทพเจ้าแห่งสงคราม article
ดาวจันทร์ ราชินีแห่งจักรวาล article
ดาวอาทิตย์ ราชาแห่งจักรวาล article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ วินาศลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ ลาภะลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ กัมมะลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ ศุภะลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ มรณะลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ ปัตนิลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ อริลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ ปุตตะลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ พันธุลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ สหัชชะลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ กดุมพะลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article
การพยากรณ์แบบภพผสมภพ ตนุลัคน์สถิตเรือนต่างๆ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.