ReadyPlanet.com
dot dot
bulletHorasaadRevision.com
dot
ห้องโหรแว่นทิพย์
dot
bulletWelcome to foreigners
bulletกำเนิดจักรราศี*
bulletประวัติของวิชาโหราศาสตร์*
bulletวิชาโหราศาสตร์ไทยเบื้องต้น*
bulletกฎเกณฑ์วิชาโหราศาสตร์ไทย*
bulletอันโตนาที*
bulletอายนางศ์*
bulletวิธีคำนวนสมผุสลัคนา*
bulletนัยยะแห่งเรือนราศี*
bulletนัยยะแห่งเรือนชะตา*
bulletนัยยะแห่งดวงดาว*
bulletนัยยะแห่งตำแหน่งดาว*
bulletทิศาพยากรณ์*
bulletโรคาพยากรณ์*
bulletทักษาพยากรณ์*
bullet๑๐๘นวางค์รอบจักรวาล*
bulletวรโคตรนวางค์*
bulletตรียางค์พิษ*
bulletโหรปัตนิและดาวพระศุกร์*
bulletนานาปกรณ์เกี่ยวกับฤกษ์*
bulletเกร็ดโหราศาสตร์*
bulletเคล็ดวิชาต่างๆ*
bulletการทำนายฝันและเคล็ดลับการแก้ฝัน*
bulletพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา*
bulletพระคาถาชินบัญชร*
dot
โหราศาสตร์ไทย ฉบับหอมรดกไทย
dot
bulletตำนานดาวพระเคราะห์
bulletการแบ่งจักรราศี
bulletตำรามหาทักษา
bulletคัมภีร์กาลโยค
bulletลัคนากับดวงชะตา
bulletมาตรฐานดาวเคราะห์
dot
หน้าแบบฟอร์มต่างๆของเว็บไซด์
dot
bulletแบบฟอร์มตั้งชื่อ-นามสกุล
bulletแบบฟอร์มฤกษ์พิธีมงคลต่างๆ
bulletแบบฟอร์มฤกษ์คลอดบุตร
bulletแบบฟอร์มฤกษ์มงคลสมรส
bulletแบบฟอร์มฤกษ์เปลี่ยนชื่อ
bulletแบบฟอร์มห้องเรียนโหร
bulletสมุดเยี่ยม
dot
เกร็ดพยากรณ์..เพื่อความบันเทิง
dot
bulletนิสัยสาว 12 ราศี
bulletทายนิสัยจากเดือนเกิด
bulletจุดร้อนตามราศี
bulletความรักตามวันเกิด
bulletทายนิสัยจากการใส่แหวน
bulletผลไม้ทายนิสัย
bulletความรักตามกรุ๊ปเลือด
bulletอ่านใจหนุ่ม 12 ราศี
bulletผู้ชายเพอร์เฟค
bulletน้ำหอมกับราศี
bulletวิธีมัดใจหนุ่ม-สาวราศีต่างๆ
bulletพยากรณ์ ช-ญ ตามวันเกิด
bulletวันเกิดบอกนิสัยเนื้อคู่ ช-ญ
bulletทำนายเซ็กส์กับราศี
bulletความลับบนเตียง 12 ราศี
bulletเคล็ดลับดูไฝบนกายสาว
bulletทำนายผู้เกิดใน 12 นักษัตร
bulletคู่แต่ง คู่รัก คู่ขา?
bulletทายนิสัยคนใกล้ตัว 17 เรื่อง
bulletดวงของผู้หญิงตามวันเกิด
bulletดู ตัวตน,ชอบ,ยี้ หนุ่มสาว
bulletต้นไม้มงคลกับราศีเกิด
dot
เว็บวาไรตี้ยอดนิยม
dot
bulletwww.sanook.com
bulletwww.kapook.com
bulletwww.mthai.com
bulletwww.ragnarog.in.th
bulletwww.hunsa.com
bulletwww.teenee.com
bulletwww.365jukebox.com
bulletwww.dek-d.com
bulletwww.zuzaa.com
bulletwww.wanjai.com
bulletwww.narak.com
bulletwww.jorjae.com
bulletwww.aromdee.com
bulletwww.deedeejang.com
bulletwww.funwhan.com
bulletwww.saranair.com
bulletwww.madoo.com
dot
หนังสือพิมพ์ไทย-เทศ
dot
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletข่าวสด
bulletคม ชัด ลึก
bulletฐานเศรษฐกิจ
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletไทยโพสท์
bulletแนวหน้า
bulletประชาชาติธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
bulletมติชน
bulletโพสท์ทูเดย์
bulletสยามธุรกิจ
bulletสยามกีฬา
bulletสยามรัฐ
bulletBangkok Post
bulletThe Nation
bulletVoice of America
bulletBBC Thai
dot
Foreign newspaper
dot
bulletNew Straits Time MY
bulletThe Straits Time SG
bulletVientiane Times LAOS
bulletNew Light of Myanmar
bulletThe Daily Tribune PH
bulletThe Manila Times PH
bulletThe Jakarta Post
bulletS. China Morning Post
bulletChina Daily CN
bulletTaipei Times TW
bulletYomiuri Shimbun JP
bulletThe Asahi Shimbun JP
bulletThe times of India
bulletAl Jazeera
bulletThe Guardian UK
bulletThe Times UK
bulletBBC News UK
bulletLe Monde FR
bulletDie Welt DE
bulletLa Nacion Line AR
bulletThe New York Time
bullet USA today
bulletThe Washington Post
bulletThe wall street Journal
bulletOnline Newspaper Di.tory
dot
ธนาคารต่างๆ
dot
bulletธ.กรุงเทพ
bulletธ.กรุงไทย
bulletธ.กรุงไทย ชาริอะฮ์
bulletธ.กรุงศรีอยุธยา
bulletธ.กสิกรไทย
bulletธ.ซิติ้แบงค์
bulletธ.ดีบีเอส ไทยทนุ
bulletธ.ทหารไทย
bulletธ.ธนชาต
bulletธ.นครหลวงไทย
bulletธ.ยูโอบี รัตนสิน
bulletธ.สแตนดาร์ด ช. นครธน
bulletธ.อิสลามแห่งประเทศไทย
bulletธ.เอเซีย
bulletธ.ไทยธนาคาร
bulletธ.ไทยพาณิชย์
bulletพระคาถาชินบัญชร*
bulletพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา*


เชิญค่ะ


 ดูหนังสือ สอบถาม
 สั่งซื้อ

eXTReMe Tracker

 ชาติ                                           

นานาทรรศนะ 
เสนอร่างรัฐธรรมนูญ
ปกิณกะ
เหตุการณ์ในอดีต 
เรื่องของไทยในอดีต 
เรื่องของชนชาติไทย
ภูมิศาสตร์ของไทย 
ก่อนสมัยสุโขทัย 
กรุงสุโขทัย
กรุงศรีอยุธยา
กรุงเทพมหานคร
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
อุทยานประวัติศาสตร์
เมืองเก่าของไทย
ทำเนียบหัวเมือง
การทหารของไทย
ธงชัยเฉลิมพล
ทหารรักษาพระองค์
ทหารอาสาต่างชาติ 
รู้เรื่องเมืองสยาม 
ประเทศเพื่อนบ้านของไทย()
ความสัมพันธ์ไทย-อเมริกัน 
เหตุการณ์ปี ร.ศ.๑๑๒
เหตุการณ์ปี ๒๔๗๕
กรณีพิพาทอินโดจีน
การรบที่กาะช้าง
สงครามมหาเอเซียบูรพา
สงครามเกาหลี 
สงครามเวียตนาม 
กรณีปราสาทพระวิหาร
กรณีโรฮิงยา
ความไม่สงบชายแดนภาคใต้
อนุสาวรีย์วีรชน 
สารานุกรมฉบับย่อ()
ตัวหนังสือไทย
เรียนหนังสือไทยสมัยก่อน 
รามเกียรติ์ 
ขุนช้าง ขุนแผน
พระอภัยมณี
นิราศ
กาพย์เห่เรือ
สุภาษิตไทย
ธรรมเนียมประเพณีไทย 
โหราศาสตร์ไทย 
เพลงไทยให้สาระ
เงินตราไทย
เครื่องดนตรีไทย
หมากรุกไทย
มวยไทย
สมุนไพรไทย
พันธุ์ไม้ดอกไทย
นกในประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติ
 
ทางบก
 ทางทะเล
เที่ยวทั่วไทย 
เที่ยวไปชมไป

 ศาสนา                                     

การบริหารคณะสงฆ์
การศึกษาพระปริยัติธรรม
กฎหมายพระสงฆ์ของไทย
สมเด็จพระสังฆราช
ทำเนียบสมณศักดิ์
พัดยศสมณศักดิ์
คณะสงฆ์จีนนิกาย
คณะสงฆ์อนัมนิกาย
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปประจำวัน
พระธาตุเจดีย์
พระพุทธบาท
พระแท่น
พระไตรปิฎก
การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
การบัญญัติพระวินัย
โสพัสปัญหา
พุทธประวัติ
พระอสีติมหาสาวก
พุทธศาสนสุภาษิต
พุทธานุวัตร
วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนพิธี
พระป่าและวัดป่า
พุทธศาสนาในปัจจุบัน
ภัยแห่งพุทธศาสนา
ศาสนาต่างๆในไทย)

  พระมหากษัตริย์                      

พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย
พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
พระมหากษัตริย์สมัยธนบุรี
พระบรมราชจักรีวงศ์
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล
พระราชลัญจกร
เครื่องราชกกุธภัณฑ์
ธงในองค์พระมหากษัตริย์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
น้ำอภิเษก
พระราชพิธีสิบสองเดือน
พระราชานุกิจ
จอมทัพไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เหรียญอันเนื่องจากการรบ
พระบรมมหาราชวัง
ประชุมพงศาวดาร
ราชการสงครามฯ
งานกู้ชาติฯ
ประชุมพระราชปุจฉา
พระราชหัตถเลขา ใน ร.๔
พระบรมราโชบายฯ ร.๕
พระราชดำรัส ใน ร.๕
พระราชนิพนธ์ ใน ร.๖
ร.๖ กับการป้องกันประเทศ
พระราชดำริใน ร.๗
พระบรมราโชวาท

 มุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทย์และเทคโน
ศูนย์เทคโนอีเลคทรอนิกส์และคอมแห่งชาติ
เว็บการเรียนรู้วิทย์และเทคโนร.ร.ในชนบท
ดาราศาสตร์สำหรับคนไทย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ
แหล่งความรู้วิศวโยธา,เครื่องกลและขนส่ง
โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ[lesa]
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนแห่งไทย
องค์การพิพธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดูดาวดอทคอม
รวมบทความด้านวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
นิยายวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์น่ารู้

 

 มุมศาสนาต่างๆ                      

สำนักข่าวชาวพุทธ
มุสลิมไทยไซเบอร์เน็ต
หนังสือธรรมะออนไลน์
ธรรมะไทย
มุสลิมแคมปัสดอทคอม
โบสถ์คริสเตียนไทยอเมริกา
กัลยาณมิตร
เสขิยธรรม
มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
หลวงตามหาบัว
พุทธทาสศึกษา
พระรัตนตรัย
เครือข่ายสาระธรรมอิสลาม
มูลนิธิศุภนิมิตไทย
พระคริสตธรรมไทย

 10 อันดับเว็บข้อมูล อ้างอิง        

 www.google.co.th สุดยอดเว็บในการหาข้อมูล
 
www.glo.or.th สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
 
www.siamguru.com บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ
 
www.truehits.net เว็บแสดงสถิติการเยี่ยมชม
 
lexitron.nectec.or.th ดิกชันนารีออนไลน์
 
www.yellowpages.co.th สมุดหน้าเหลืองออนไลน์
 
www.police.go.th สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 
phonebook.tot.or.th ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์
 
www.trainingthai.com ข่าว,ข้อมูลการฝึกอบรมสัมมนาต่างๆ
 
www.khonthai.com แหล่งข้อมูลด้านทะเบียนราษฎร์ต่างๆ



พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีสร้างความสุขที่แท้จริงให้แก่ชีวิต article

Welcome to
ห้องโหรแว่นทิพย์
ศาสตร์แห่งปัญญาเพื่อชีวิตที่ดีกว่า


 

 

 

 

 

 

ทรงสอนวิธีสร้างความสุขที่แท้จริงให้แก่ชีวิต โดยสรุป คือ

๑.ไม่ก่อเวร
๒.ไม่ทำตนให้เดือดร้อน
๓.กำจัดความกังวล
๔.ละความชนะและความพ่ายแพ้
๕.แสวงหาความสงบกับนักปราชญ์
๖.คบหาพระอริยะ อยู่ร่วม
๗.ไม่คบคนพาล

ทรงชี้ให้เห็นว่า การแข่งดีมุ่งจะเอาชนะผู้อื่น ทำให้ไม่มีความสุข ก่อให้เกิดภัยเวร ดังที่ตรัสไว้ในธรรมบทที่ว่า

ชยํ เวรํ ปสวติ ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต อุปสนฺโต
สุขํ เสติ หิตฺวา ชยปราชยํ ฯ

ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้พ่ายแพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ ผู้ละทั้งความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว มีใจสงบ ย่อมนอนเป็นสุข ธรรมบทที่แสดงถึงสิ่งสุดยอดต่าง ๆ คือ

ยอดแห่งไฟ
: นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี
ยอดแห่งโทษ : นตฺถิ โทสสโม กลิ โทษเสมอด้วยโทสะไม่มี
ยอดแห่งทุกข์ : นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา
ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ ๕ ไม่มี
ยอดแห่งสุข
: นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
ยอดแห่งโรค : ชิคจฺฉา ปรมา โรคา
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
ยอดแห่งทุกข์ อีกอย่างหนึ่ง : สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ยอดแห่งสุข อีกอย่างหนึ่ง : นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ยอดแห่งลาภ : อาโรคฺยปรมา ลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง
ยอดแห่งทรัพย์ : สนฺตุฏฺฐิ ปรมํ ธนํ ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ยอดแห่งญาติ : วิสฺสาสา ปรมา ญาติ
ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง

โดย ทรงธรรม [18 พ.ย. 2547 , 14:44:52 น.]


สลักธรรม 1

มีพุทธวจนะแสดงเรื่องพุทธวิธีให้ไม่ก่อทุกข์สร้างเสริมความสุขใจ
เมื่อพวกมนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ เมื่อพวกมนุษย์มีเวรกันอยู่
เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ เป็นอยู่สบายดีหนอเมื่อพวกมนุษย์มีความเร่าร้อนกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความเร่าร้อนอยู่ เป็นอยู่สบายดีหนอ เมื่อพวกมนุษย์มีความขวนขวายอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายอยู่ เมื่อพวกมนุษย์มีความขวนขวายกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายอยู่เป็นอยู่สบายดีหนอ เราไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล เป็นอยู่สบายดีหนอ เรามีปีติเป็นภักษาเหมือนเหล่าเทวดาชั้นอาภัสสระ

-ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเป็นทุกข์พระขีณาสพ ผู้สงบระงับ
-ละความชนะความแพ้ได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข
-ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะไม่มี
-ทุกข์เช่นด้วยขันธ์ไม่มี
-สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี
-ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
-สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่งบัณฑิตทราบเนื้อความนี้ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
-ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง
-ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง
-ญาติทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง
-นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
-บุคคลผู้ปีติในธรรม เมื่อดื่มรส ดื่มรสอันเกิดแต่วิเวกและรสแห่งความสงบแล้ว ย่อมไม่มีความกระวนกระวายไม่มีบาป
-การเห็นพระอริยะเจ้าทั้งหลายเป็นความดี การอยู่ร่วมกับพระอริยะเจ้าเหล่านั้น เป็นสุขทุกเมื่อ
-บุคคลพึงเป็นผู้มีความสุขเป็นนิตย์ได้ เพราะการไม่เห็นคนพาลทั้งหลายด้วยว่าบุคคลผู้สมคบกับคนพาลเที่ยวไป ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
-การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ เหมือนการอยู่ร่วมกับศัตรู
-ส่วนนักปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ เพราะเหตุนั้นแล
-บุคคลพึงคบบุคคลนั้นผู้เป็นนักปราชญ์ มีปัญญา เป็นพหูสูต มีปกตินำธุระไปมีวัตร เป็นพระอริยะ เป็นสัปบุรุษ ผู้มีปัญญาดีเช่นนั้น เหมือนพระจันทร์คบครองแห่งนักษัตร ฉะนั้น ฯ 

หลักมนุษยธรรม ตอน 1

๑. ความหมายของคำว่า มนุษยธรรม คำว่า มนุษยธรรม หมายถึง "ธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์สมบูรณ์" คือเป็นมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งได้แก่ศีล ๕ หากสังคมมนุษย์ไม่มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองจิตใจแล้วมนุษย์ก็จะมีพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตไม่ต่างอะไรจากสัตว์ทั่ว ๆ ไป หาชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐไม่ เพราะเมื่อไม่มีศีลแล้วมนุษย์ย่อมก่อความเดือดร้อนให้กันและกันเสมอหาความสงบในชีวิตได้ยาก การที่ได้เกิดเป็นมนุษย์นี้ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากต้องอาศัยบุญเก่าคือบุพเพกตบุญญตาช่วยอุปถัมภ์และชาติที่เกิดเป็นมนุษย์นี้ถือว่าเป็นชาติที่สำคัญ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งการทำความดีทั้งหลายสามารถที่บำเพ็ญธรรมเพื่อให้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีตั้งแต่เบื้องต่ำไปจนถึงพระนิพพานได้

ในวิสุทธิมรรคพระพุทธโฆสาจารย์ได้กล่าวถึงศีลว่า ศีล คือความงามอันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นแห่งคุณธรรม และศีลเป็นเบื้องต้นแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าเพราะศีลเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งปวง ดังพุทธดำรัสในสังยุตตนิกายว่า ศีลที่หมดจดดีแล้ว ชื่อว่าเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย และในโอวาทปาติโมกข์ข้อต้นที่ว่าการไม่ทำบาปทั้งปวง และที่ว่าศีลชื่อว่างามนั้นก็เพราะเป็นเหตุนำมาซึ่งความไม่เดือดร้อนเป็นต้น

พระพุทธองค์ทรงประกาศว่า

ศีลเป็นความงามในเบื้องต้น
สมาธิเป็นความงามในท่ามกลาง
และปัญญาเป็นความงามในขั้นสุดท้าย


ศีล ๕ นี้ เป็นศีลขั้นต้นที่ถือว่าเป็นพื้นฐานแห่งศีลทั้งปวง

๒. มนุษยธรรม ๕ หรือศีล ๕ ศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาที่เป็นคฤหัสถ์คือเบญจศีลหรือศีล ๕ คือ

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติล่วงในกามารมณ์
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมาทุกชนิด


ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี
คือการตั้งใจงดเว้นการทำลายชีวิตสัตว์ ความมุ่งหมายในการที่ทรงบัญญัติศีลข้อนี้ ก็เพื่อให้มนุษย์อบรมจิตของตนเองให้คลายความเหี้ยมโหดมีความเมตตากรุณาต่อกันและเผื่อแผ่ความรักความเอื้ออาทรแก่สัตว์ทั้งปวงด้วย เห็นชีวิตของผู้อื่นเสมอกับชีวิตของตนและให้ปลูกไมตรีจิตในสัตว์ทุกจำพวก

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไว้ในหนังสือเบญจศีล เบญจธรรมว่า ขอบเขตของสิกขาบทนี้ มีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งผู้รักษาศีลจะต้องเว้น เพื่อรักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ คือ

๑. การฆ่า การทำให้ตายด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทำ หรือร่วมกับคนอื่น
๒. การทำร้ายร่างกาย การทำให้บาดเจ็บอย่างสาหัส
๓. การทรกรรม เช่น การใช้งานเกินกำลัง การกักขัง การนำสัตว์ไปโดยวิธีทรมาน การผลาญสัตว์ เช่น ยั่วให้ต่อสู่กันเพื่อความสนุกสนาน

ในอัฏฐสาลินี ได้กล่าวว่า ต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๕ ประการ คือ (องค์ประกอบของการฆ่า)

๑. สัตว์นั้นมีชีวิต
๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. มีเจตนาจะฆ่า
๔. พยายามฆ่า
๕. สัตว์นั้นตายเพราะถูกฆ่า

เมื่อครบองค์ ๕ ประการนี้ ศีลจึงขาด ถ้าไม่ครบเพียงแต่ด่างพร้อย ทำเองหรือใช้ให้คนอื่นทำศีลย่อมขาดได้เหมือนกัน

การทำปาณาติบาตจะมีโทษมากหรือน้อย มีหลักเกณฑ์พิจารณาดังนี้คือ

๑. กำหนดด้วยวัตถุ ถ้าเป็นมนุษย์ ฆ่าผู้มีคุณมาก มีโทษมาก ฆ่าผู้มีคุณน้อยมีโทษน้อย เช่น ฆ่าพระอรหันต์ บิดาและมารดามีโทษมาก เพราะพระพุทธเจ้าเพียงแต่ทำร้ายให้ห้อพระโลหิต มีโทษเท่ากับฆ่าบิดามารดา ส่วนคนที่ไม่มีคุณก็มีโทษน้อยลดหลั่นกันลงไป ถ้าเป็นสัตว์ ก็กำหนดด้วยคุณ ถ้าไม่มีคุณเหมือนกัน กำหนดด้วยรูปร่างใหญ่เล็ก กว่ากัน ถ้าใหญ่มีโทษมาก ถ้าเล็กมีโทษน้อย
๒. กำหนดด้วยเจตนา คือการตั้งใจฆ่า มีโทสะมากหรือน้อยกว่ากัน ถ้าโทสะมาก โทษมาก โทสะน้อย โทษน้อย
๓. กำหนดโดยประโยค คือความพยายามที่จะฆ่าให้ตายใช้ความพยายามมากมีโทษมาก ให้ความพยายามน้อย มีโทษน้อย

ศีลข้อที่ ๒ อทินนาทานา เวรมณี
คือ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยอาการขโมย ความมุ่งหมายในการบัญญัติสิกขาบทนี้ เพื่อให้ทุกคนเคารพในกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น เว้นจากการทำมาหากินในทางทุจริต ประกอบอาชีพในทางมิจฉาชีพ ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในทางเลี้ยงชีพ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายว่า ข้อห้ามหรือขอบเขตของสิกขาบทนี้ มีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งผู้รักษาศีลจะต้องเว้น เพื่อรักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ คือ
๑. โจรกรรม
๒. อนุโลมโจรกรรม
๓. ฉายาโจรกรรม

๑. โจรกรรมมี ๑๔ อย่าง คือ

๑. ลัก ถือเอาทรัพย์เมื่อเจ้าของไม่เห็น ที่เรียกว่า ขโมยและตัดช่องย่องเบา
๒. ฉก ชิงเอาทรัพย์ต่อหน้าเจ้าของ ที่เรียกว่า ตีชิง วิ่งราว
๓. กรรโชก ขู่ให้เขากลัวแล้วให้ทรัพย์ ที่เรียกว่า จี้ ในปัจจุบันนี้
๔. ปล้น รวมหัวกันหลายคน มีศรัตราอาวุธเข้าแย่งทรัพย์
๕. ตู่ อ้างหลักฐานพยานเท็จ หักล้างกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น ที่ดิน เป็นต้น ซึ่งไม่อยู่ใน ปกครองของตน
๖. ฉ้อ โกงเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่ตนปกครอง เช่น โกงของฝาก โกงที่ดินที่ตนอยู่อาศัยเป็นต้น
๗. หลอก ปั้นเรื่องให้เขาเชื่อแล้วให้ทรัพย์
๘. ลวง ใช้เล่ห์เอาทรัพย์เครื่องมือลวง เช่น โกงตาชั่ง เป็นต้น
๙. ปลอม ทำหรือใช้ของปลอม เช่น ธนบัตรปลอม ยาปลอม เป็นต้น
๑๐. ตระบัด ยืมของคนอื่นมาใช้แล้ว ยึดเอาเสีย กู้หนี้แล้วไม่ใช้ดอก เป็นต้น
๑๑. เบียดบัง กินเศษกินเลย เช่น เลี้ยงสัตว์ กินค่าอาหารสัตว์ เป็นต้น
๑๒. สับเปลี่ยน แอบสลับเอาของผู้อื่น ซึ่งมีค่าสูงกว่า
๑๓. ลักลอบ หลบหนีภาษีของหลวงหรือลอบนำสิ่งที่ต้องห้าม เช่น เหล้าเถื่อน เป็นต้น ๑๔. ยักยอก ยักเอาทรัพย์ของคนที่ถูกริบไว้ ยักยอกภาษี ยักยอกทรัพย์ที่ถูกฟ้องล้ม
ละลายไว้

๒. อนุโลมโจรกรรม
ทำโจรกรรม คือ กิริยาที่ไม่ทำให้โจรกรรม ๑๔ อย่าง แต่ทำงานคล้ายโจรกรรม พออนุโลมเข้ากับโจรกรรมได้ เรียกว่า อนุโลมโจรกรรมมี ๓ อย่าง คือ

๑. สมโจร สนับสนุนโจร เช่น ให้ที่พักและอาหารและรับซื้อของโจร เป็นต้น
๒. ปอกลอก คบหาเพื่อปลอกลอกเอาทรัพย์
๓. รับสินบน รับสินจ้างแล้วทำผิดหน้าที่ เพราะเกรงใจเขา

ทั้ง ๓ อย่างนี้ ศีลไม่ขาดแต่ด่างพร้อย เฉพาะการรับสินบนนี้ ถ้าผู้รับมีเจตนาร่วมกับผู้ให้ในการทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ก็เป็นการร่วมโจรกรรมโดยตรง ศีลขาด

๓. ฉายาโจรกรรม
คือ การกระทำที่ไม่ทำอนุโลมโจรกรรม แต่ทำพัสดุของผู้อื่นให้สูญเสียและเป็นสินใช้ตกอยู่แก่ตน เรียกว่าฉายาโจรกรรม มี ๒ อย่าง คือ

๑. ผลาญ ทำลายทรัพย์ของผู้อื่นให้เสียหาย (ไม่เอามาเป็นของตน) เช่น เผาบ้านเสียหาย เป็นต้น
๒. หยิบฉวย ถือวิสาสะเกินขอบเขต เช่น ลูกหลานเอาของพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือถือเอาของญาติมิตรมากกว่าที่เขาอนุญาตให้ เอาโดยไม่ต้องซื้อ ทั้ง ๒ อย่างนี้ ศีลไม่ขาดแต่ด่างพร้อย

ในอัฏฐสาลินี ได้แสดงถึงองค์ประกอบของอทินนาทานว่า ต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๕ ประการ คือ

๑. ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒. รู้ว่าของนั้นมีเข้าของหวงแหน
๓. ตั้งใจลักสิ่งของนั้น
๔. พยายามลักสิ่งของนั้น
๕. ได้สิ่งของนั้นมา ด้วยความพยายามนั้น

เมื่อพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๕ นี้ ศีลขาด ถ้าไม่ครบองค์ศีลไม่ขาดเป็นเพียงแต่ด่างพร้อยไม่บริสุทธิ์ ทำเอาหรือใช้ให้ผู้อื่นทำศีลขาด

ในการวินิจฉัยว่า การทำอทินนาทาน จะมีโทษมากหรือน้อยนั้น ในอัฏฐสาลินีได้อธิบายเกณฑ์ในการพิจารณาคือ

๑. กำหนดด้วยวัตถุ คือ ของมีค่ามากมีโทษมาก มีค่าน้อยมีโทษน้อย
๒. กำหนดด้วยเจตนา คือ ความตั้งใจที่เจือด้วยกิเลสมาก มีโทษมาก ที่เจือด้วยกิเลสน้อยมีโทษน้อย
๓. กำหนดด้วยประโยค คือความพยายามที่จะได้สิ่งของนั้น ถ้าพยายามมากมีโทษมาก พยายามน้อยมีโทษน้อย

ข้อยกเว้นการถือเอาของผู้อื่นโดยวิสาสะ คือ ของญาติหรือมิตรหรือคนที่คุ้นเคยกันเคยช่วยเหลือกัน เคยอนุญาตไว้ก่อน แม้จะถือเอาโดยไม่บอกก็ไม่เป็นอทินนาทาน แต่ประกอบด้วยลักษณะการถือวิสาสะในอัฏฐสาลินี ที่ท่านอธิบายว่าต้องประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

๑. เจ้าของเป็นผู้สนิทกับตน
๒. เจ้าของเคยอนุญาตไว้ก่อน
๓. เมื่อถือเอาแล้วไม่มีคนสนเท่ห์
๔. ของนั้นเป็นของที่เจ้าของไม่หวงแหนสำหรับเราหรือพอให้ได้
๕. เมื่อเจ้าของรู้แล้วก็พอใจไม่ว่าอะไร

ศีลข้อที่ ๓ กามเมสุมิจฉาจารา เวรมณี
คือ การงดเว้นจาการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ความมุ่งหมายในการบัญญัติสิกขาบทนี้คือ เพื่อให้มนุษย์สร้างความสามัคคีไม่แตกร้าวกัน รักษาสายโลหิตวงค์ตระกูลของตนไม่สำส่อนกันเยี่ยงสัตว์เดียรัจฉาน หรือเป็นผู้มักมากในกาม

ในอัฏฐสาลินีได้อธิบายถึงขอบเขตของข้อห้ามตามสิกขาบทนี้ว่า ทั้งหญิงและชายย่อมประพฤติผิดในกามได้ด้วยกันทั่งสองฝ่าย ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทได้ ดังนี้

ก. หญิงที่ต้องห้ามสำหรับชาย มี ๓ จำพวก คือ

๑. หญิงมีสามี โดยที่สุดแม้แต่ภรรยาชั่วคราวเช่าชั่วคืนก็ถือว่ามีเจ้าของ
๒. หญิงที่มีผู้พิทักษ์รักษา เช่น บิดามารดาหรือญาติเป็นต้นรักษา
๓. หญิงที่มีจารีตห้าม เช่น แม่ ย่า ยาย ทวด ลูก หลาน เหลน นักบวชเป็นต้น

หญิงทั้ง ๓ ประเภทนี้ เมื่อชายประพฤติล่วงเกิน จะโดยเขายินยอมหรือไม่ยินยอมก็ตาม ศีลย่อมขาด

ข. ชายที่ต้องห้ามสำหรับหญิงมี ๒ จำพวก คือ

๑. ชายอื่นทุกคนนอกจากสามีของตน สำหรับหญิงมีสามี
๒. ชายที่จารีตห้าม เช่น พ่อ ปู่ ตา ทวด ลูก หลาน เหลน นักบวช เป็นต้น

ชาย ๒ ประเภทนี้ เป็นวัตถุแห่งกาเมสุมิจฉาจารของหญิง คือผิดศีล เว้นไว้แต่ถูกข่มขืนไม่เต็มใจ ส่วนการเคล้าคลึงหรือพูดเกี้ยวแม้ศีลจะไม่ขาดย่อมทำให้ศีลด่างพร้อยได้

ในอัฏฐสาลินีได้กล่าวถึงองค์ประกอบของกาเมสุมิจฉาจารว่ามีองค์ ๔ ประการ

๑. หญิงหรือชายนั้นเป็นผู้ต้องห้าม
๒. ตั้งใจเสพกาม
๓. ประกอบกามกิจ
๔. อวัยวะเพศล่วงล้ำเข้าไปแม้เพียงเท่าเมล็ดงา

เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ นี้ ศีลขาด ถ้าไม่ครบองค์ไม่ขาด

ในการพิจารณาโทษว่ามีโทษมากมีโทษน้อย มีกฎเกณฑ์คล้ายกับ ๒ สิกขาบทข้างต้น คือ

๑. กำหนดด้วยบุคคล คือ ผู้มีคุณมากบาปมาก เช่น ประพฤติผิดต่อนักบวชบาปมากคนธรรมดาบาปน้อย พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายบาปมากคนอื่นบาปน้อย
๒. กำหนดเจตนา คือ มีเจตนาประกอบด้วยราคะแรงกล้ามีโทษมาก ไม่แรงกล้ามีโทษน้อย
๓. กำหนดด้วยประโยค คือ ความพยายามในการประกอบกามกิจ ถ้าข่มขืนไม่ยินยอมมีโทษมาก ยินยอมมีโทษน้อย

ศีลข้อที่ ๔ มุสาวาทา เวรมณี
คือ การงดเว้นจากการพูดเท็จ ความมุ่งหมายในการทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนี้ คือ เพื่อป้องกันการทำลายประโยชน์ของตนและผู้อื่นด้วยการพูดเท็จและให้เป็นคนมีสัจจวาจา

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายสิกขาบทข้อนี้ว่ามีข้อห้ามและขอบเขตทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งผู้รักษาศีลจะต้องเว้นเพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ คือ
๑. มุสาวาท ๗ วิธี (การแสดงเท็จ หรือลักษณะแห่งมุสาวาท) ท่านประมวลไว้มี ๗ วิธี คือ

๑. ปด ได้แก่การโกหกชัด ๆ ไม่รู้ว่ารู้ ไม่เห็นว่าเห็น ไม่มีว่ามี เป็นต้น
๒. ทนสาบาน คือ ทนสาบานเพื่อให้คนอื่นหลงเชื่อว่าตนไม่เป็นเช่นนั้น จะด้วยวิธีแช่งตัวเองหรือด้วยวิธีนั่งนิ่งเมื่อถูกถามก็จัดเป็นทนสาบาน
๓. ทำเล่ห์กะเท่ห์ ได้แก่การอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์เกินความจริง เช่น อวดวิเศษเรื่องใบ้หวยโดยไม่รู้จริงเห็นจริงเป็นต้น
๔. มายา แสดงอาการหลอกคนอื่น เช่น ไม่เจ็บทำเป็นเจ็บ เจ็บน้อยทำเป็นเจ็บมากเป็นต้น
๕. ทำเลศ คือไม่อยากจะพูดเท็จแต่พูดเล่นสำนวน พูดคลุมเครือให้ผู้ฝังคิดผิดไปเอง เช่น เห็นขโมยวิ่งผ่านหน้าไปไม่อยากบอกให้ผู้อื่นทราบว่าตนเห็น จึงย้ายที่ยืนหรือที่นั่งไป เมื่อถูกถามพูดเล่นสำนานว่าอยู่ที่นี่ไม่เห็น อย่างนี้เรียกว่าทำเลศ
๖. เสริมความ เรื่องเล็ก แต่พูดให้คนฟังเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ เช่นเห็นไฟไหม้หญ้าแห้งก็ตะโกนเสียงดังว่าไฟ ๆ เพื่อให้คนแตกตื่นตกใจหรือโฆษณาสินค้าพรรณนาสรรพคุณจนเกินความจริง
๗. อำความ ตรงกันข้ามกับเสริมความ คือเรื่องใหญ่แต่พูดให้เป็นเรื่องเล็ก หรือปิดบังอำพลางไว้ไม่พูดไม่รายงานต่อผู้มีหน้าที่ให้รับทราบ

ข้อห้ามหรือขอบเขตของสิกขาบทนี้ มีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งผู้รักษาศีลจะต้องเว้นเพื่อรักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ คือ

๑. มุสา
๒. อนุโลมมุสา
๓. ปฏิสสวะ

๑. มุสา แปลว่าเท็จ หรือไม่จริง การกล่าวคำเท็จหรือคำไม่จริง เรียกว่ามุสาวาทหรือพูดโกหก ส่วนมากใช้วาจา แต่การแสดงเท็จหรือโกหกอาจแสดงได้ทั้ง ๒ ทาง คือ ทางวาจากับทางกาย ทางวาจา คือ พูดคำเท็จออกมา

ทางกาย คือ แสดงทางกาย เช่น การเขียนจดหมายโกหก รายงานเท็จ ทำหลักฐานปลอม ตีพิมพ์ข่าวเท็จ เผยแผ่ทำเครื่องหมายให้คนอื่นหลงเชื่อตลอดจนการใช้ใบ้ให้คนอื่นเข้าใจผิดเช่น สั่นศีรษะหรือโบกมือปฏิเสธในเรื่องควรรับหรือพยักหน้ารับในเรื่องที่ควรปฏิเสธ เป็นต้น

๒. อนุโลมมุสา คือ การไม่แสดงเรื่องเท็จทั้ง ๗ อย่าง แต่พูดเรื่องไม่จริงซึ่งไม่มีเจตนาจะกล่าวเท็จ แต่เจตนาจะให้เขาเจ็บใจหรือแตกร้าวกัน เป็นต้น เรียกว่า อนุโลมมุสา เช่น

-พูดเสียดแทง กระทบกระแทก แดกดัน
-พูดประชด ยกให้เกินความจริง
-พูดด่ากดให้ต่ำกว่าความเป็นจริง
-พูดสับปลับ ด้วยความคะนองวาจา แต่ไม่ตั้งใจให้เข้าใจผิด
-พูดคำหยาบ คำต่ำทราม

ไม่จัดเป็นมุสาวาทแต่ศีลด่างพร้อย

๓. ปฏิสสวะ ได้แก่ การรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังกลับใจไม่ทำตามที่รับคำนั้นโดยที่ตนยังพอทำตามคำนั้นได้อยู่ มี ๓ อย่าง คือ

๑. ผิดสัญญา ว่าจะทำด้วยความสุจริตใจ แต่กลับไม่ทำในภายหลัง
๒. เสียสัตย์ ให้สัตย์ปฏิญาณไว้แล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตาม
๓. คืนคำ รับปากว่าจะไป แต่กลับใจภายหลังไม่ไป

ทั้ง ๓ อย่างนี้ ไม่เป็นมุสาวาท ศีลไม่ขาดแต่ทำให้ศีลด่างพร้อยได้

ในอัฏฐสาลีนี ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของมุสาวาท ว่าต้องพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ

๑. เรื่องไม่จริง
๒. เจตนาจะพูดเรื่องนั้น
๓. พูดหรือแสดงออกไป
๔. ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความนั้น

ในการพิจารณาว่ามุสาวาทอย่างไรมีโทษมากหรือมีโทษน้อยท่านได้อธิบายไว้ว่า...

มุสาวาทที่ทำลายประโยชน์ของผู้อื่นมาก คือเขาได้รับความเสียหายมากมีโทษมาก ได้รับความเสียหายน้อยก็มีโทษน้อย ส่วนการกำหนดโดยวัตถุเจตนาและประโยคเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

แต่ยังมีคำพูดอีกประเภทหนึ่งที่เป็นคำไม่จริงแต่พูดแล้วไม่เป็นมุสาวาท คือคำพูดที่พูดตามที่ได้ยินได้ฟังมาหรือเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริง เรียกว่า ยถาสัญญา คำพูดประเภทนี้มี ๔ อย่าง คือ

๑. โวหาร พูดตามสำนวนโลก ที่ใช้กันจนเป็นแบบธรรมเนียม เช่น คำลงท้ายจดหมายว่า ด้วยความเคารพอย่างสูงหรืออย่างยิ่ง เป็นต้น แม้ว่าจะไม่ตรงตามความเป็นจริงก็ไม่เป็นมุสาวาท
๒. นิยาม การเล่านิยายหรือแสดงลิเก ละคร เป็นต้น แม้จะเป็นเรื่องไม่จริงแต่ก็ไม่เป็นมุสาวาท
๓. สำคัญผิด พูดด้วยเข้าใจว่าถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่เรื่องนั้นไม่ถูกไม่เป็นความจริง เช่น จำวันผิดบอกไปโดยเข้าใจว่าถูก ไม่เป็นมุสาวาท
๔. พลั้ง พูดด้วยความพลั้งเผลอ โดยไม่ได้ตั้งใจให้ผิดพลาด ไม่เป็นมุสาวาท

ศีลข้อที่ ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี
คือ การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ได้แก่การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ความมุ่งหมายในการบัญญัติสิกขาบทข้อนี้ คือเพื่อให้คนมีสติไม่ประมาท รักษาสติของตนไว้ไม่ให้เผอเรอ พลาดพลั้งในการปฏิบัติงานประจำเพื่อดำรงชีวิตโดยราบรื่น

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายสิกขาบทข้อนี้ว่า มีข้อห้ามหรือขอบเขตทั้งโดยตรงและโดยอ้อมโดยตรง คือ น้ำเมา ได้แก่

๑. สุรา น้ำเมาที่กลั่น ที่เรียกกันว่า เหล้า
๒. เมรัย น้ำเมาที่ยังไม่ได้กลั่น ได้แก่ เบียร์ สาโท น้ำตาลเมา กระแช่ เป็นต้น

โดยทางอ้อม หมายถึง ยาเสพย์ติดให้โทษทุกชนิด เช่น ฝิ่น กัญชา สารไอระเหย เป็นต้นเป็นอันห้ามไว้ในศีลข้อนี้ กิริยาที่ทำไม่เฉพาะการดื่มอย่างเดียวแต่หมายถึงการสูบและการฉีดด้วย

การดื่มสุราและการเสพยาเสพย์ติดให้โทษที่ทำให้ศีลขาดนั้น ต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ

๑. ของนั้นเป็นของมึนเมา
๒. มีเจตนาจะเสพของมึนเมานั้น
๓. พยายามเสพ
๔. ให้ล่วงไหลผ่านลำคอลงไป

ในการพิจารณาโทษในการละเมิดสิกขาบทข้อนี้นั้น ในอัฏฐสาลินีได้กล่าวโทษไว้เฉพาะสุราอย่างเดียว ส่วนนอกนั้นก็อนุโลมตามข้อนี้เช่นเดียวกันว่ามีโทษ ๖ ประการ คือ

๑. ทำให้เสียทรัพย์
๒. เป็นเหตุก่อการทะเลาะวิวาท
๓. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
๔. ทำให้เสียชื่อเสียง
๕. ทำให้หมดความละอาย
๖. ทอนกำลังสติปัญญา

มีใครในโลกหล้าที่ไม่มีรอยมลทิน ตราบใดที่ยังมีกิเลสาอาสวะทั้งหลายอยู่ พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องมลทิน คือ มลทินของชีวิต ซึ่งมีตัวการสำคัญอันได้แก่ กิเลสและอกุศลกรรมซึ่งให้ผลความทุกข์ ท่านแสดงถึงสาเหตุให้เกิดพร้อมชี้ให้เห็นภัยและโทษ
ท่านแสดงมลทินของมนต์ได้แก่ การไม่ท่องบ่น
มลทินของบ้านเรือน ได้แก่ ความไม่ขยัน
มลทินของผิวพรรณ ได้แก่ ความเกียจคร้าน ชำระร่างกาย
มลทินของผู้รักษา ได้แก่ ความประมาท
มลทินของคู่สามีภรรยา ได้แก่ การนอกใจกัน
มลทินดังกล่าวมานี้ ย่อมทำลายชีวิตของผู้ที่มีมลทิน เหมือนสนิมที่เกิดจากเหล็กก็กัดกินเหล็กนั้นนั่นเอง ผู้มีปัญญา ควรกำจัดมลทินของตนทีละน้อยทุกขณะโดยลำดับ เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง

เรื่องมลทินนี้ได้มี พุทธวจนะที่แสดงไว้หลายแห่งที่

-บัดนี้ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง อนึ่ง แม้บุรุษของพระยายมก็ปรากฏแก่ท่านแล้ว ท่านตั้งอยู่ในปากแห่งความเสื่อม อนึ่งเสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี ท่านจงทำที่พึงแก่ตน จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต
-ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้วไม่มีกิเลส เครื่องเยียวนจักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์
-บัดนี้ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว เตรียมจะไปยังสำนัก ของพระยายม อนึ่ง ที่พักในระหว่างของท่านก็ยังไม่มี และเสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต
-ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก นักปราชญ์ทำกุศลทีละน้อยๆ ในขณะๆ พึงขจัดมลทินของตนออกได้โดยลำดับ เหมือนช่างทองขจัดมลทินของทอง ฉะนั้น
-สนิมเกิดขึ้นแต่เหล็กเอง ครั้นเกิดขึ้นแต่เหล็กนั้นแล้ว ย่อมกัดเหล็กนั้นแหละ ฉันใด กรรมของตนย่อมนำบุคคลผู้มักประพฤติล่วงปัญญาชื่อ โธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้น
-มนต์มีอันไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
-เรือนมีการไม่หมั่นเป็นมลทิน
-ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ
-ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา
-ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
-ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้
-ธรรมทั้งหลายที่ลามกเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า
-เราจะบอกมลทินกว่ามลทินนั้น คืออวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง
-ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละมลทินนี้เสียแล้ว จงเป็นผู้ไม่มีมลทินเถิด
-บุคคลผู้ไม่มีหิริกล้าเพียงดังกา มักขจัด มักแล่นไป ผู้คะนอง เป็นผู้เศร้าหมองเป็นอยู่ง่าย
-ส่วนบุคคลผู้มีหิริ มีปกติแสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์ ไม่หดหู่ ไม่คะนอง มีอาชีวะหมดจดเห็นอยู่เป็นอยู่ยาก
-นรชนใดย่อมล้างผลาญสัตว์มีชีวิต ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในโลก คบหาภริยาคนอื่น กล่าวคำเท็จ และประกอบการดื่มสุราเมรัยเนืองๆ นรชนนี้ย่อมขุดทรัพย์อันเป็นต้นทุนของตน ในโลกนี้แล
-ดูกรบุรุษผู้เจริญท่านจงรู้อย่างนี้ว่า บาปธรรมทั้งหลายอัน
-บุคคลไม่สำรวมแล้วความโลภและสภาวะมิใช่ธรรม
-อย่าพึงย่ำยีท่านเพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
-ชนย่อมให้ตามศรัทธาตามความเลื่อมใสโดยแท้บุคคล
-ใดย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำและข้าว ของชนเหล่าอื่นนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือกลางคืน
-ส่วนผู้ใดตัดความเป็นผู้ เก้อเขินนี้ได้ขาด ถอนขึ้นให้รากขาดแล้ว ผู้นั้นแลย่อมบรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือกลางคืน
-ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี
-ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่
-ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี
-แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี
-โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย
-ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก เพราะว่าบุคคลนั้น ย่อมโปรย
-โทษของคนอื่น ดุจบุคคลโปรยแกลบแต่ปกปิดโทษของตนไว้ เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพด้วยกิ่งไม้ ฉะนั้น
-อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ตามเพ่งโทษผู้อื่น มีความสำคัญในการยกโทษเป็นนิตย์
-บุคคล นั้นเป็นผู้ไกลจากความสิ้นอาสวะ สมณะภายนอกไม่มี ดังรอยเท้าไม่มี ในอากาศ ฉะนั้น -หมู่สัตว์ยินดีแล้วในธรรมเครื่องยังสัตว์ให้เนิ่นช้า
-พระตถาคตทั้งหลาย ไม่มีธรรมเครื่องยังสัตว์ให้เนิ่นช้า สมณะภายนอกไม่มี ดังรอยเท้าไม่มีในอากาศฉะนั้น
-สังขารทั้งหลายเที่ยงไม่มี
-กิเลสชาติเครื่องยังสัตว์ให้หวั่นไหวไม่มีแก่พระพุทธเจ้า ฯ

มีคำพูดว่า…
ค่าของสัตว์อยู่ที่ร่างกาย
ค่าของหญิงชายอยู่ที่คุณความดี

วัวควายช้างม้า เกิดมากินขี้ปี้นอน เหมือนมนุษย์ แม้จะไม่ทำกิจการงานอันใด แต่เวลาตาย กระดูกเขางาหนัง ยังเป็นประโยชน์ ทำเป็นเครื่องประดับก็ได้ ทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้ก็ได้ เนื้อนำมาบริโภคได้…แล้วคนเราเล่าถ้าไม่ทำคุณความดี มีอะไรเป็นประโยชน์บ้าง…ซ้ำคนยังกลัวว่าเป็นผี ต้องใส่เตาเผา หรือไปทิ้งไว้ในป่าช้า…อนิจจา ! มนุษย์เราเอ๋ย…

มีคำโคลงโลกนิติว่า (สำนวนเก่า)
อาหารการหลับแล.... เสพกาม
มีแก่ชายโคนาม....... นับผู้
ชายไววิทยางาม....... เห็นแปลกใดแฮ
แม้เสื่อมศิลปศาสตร์รู้.... เปรียบด้วยฝูงโค


สัตว์โลกทั้งมวลมีเหมือนกันอยู่ 3 อย่าง

1. การกิน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต มีกำลังต่อสู้อยู่ในโลกได้
2. การสืบพันธุ์ เพื่อขยายเผ่าพันธุ์
3. การนอน เพื่อพักผ่อนเอาแรงไว้ต่อสู้ในวันข้างหน้าต่อไป
(4) การขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ เพื่อขับถ่ายเทของเสียออก (เพิ่มมาให้สมบูรณ์)

ทั้งหมดนี้มีอยู่ในคนและสัตว์เดรัจฉาน….

….แต่สิ่งที่ทำให้คน หรือที่เรียกว่า "มนุษย์ " คือผู้มีจิตใจสูงแตกต่างจากสัตว์ คือ

1. รู้จักเหตุ รู้จักผลของความดี ความชั่ว เจริญ หรือเสื่อม
2. รู้จักแสวงหาความรู้ ทั้งทางโลก ทางธรรม
3. รู้จักตน คือ รู้เขารู้เรา
4. รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดี ในการใช้ปัจจัยสี่
5. รู้จักกาล คือ รู้จักเวลาไหนควรพูดควรทำอย่างไร
6. รู้จักเลือกคบบุคคล คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว- คบคนชั่วพาตัวอัปราชัย

...เกิดเป็นคนต้องทำที่พึ่งให้กับตัวเอง...

การพึ่งตน ก็คือ ทำตัวเองให้เป็นที่พึ่ง ทำตัวเองให้เป็นเกาะ ที่น้ำท่วมไม่ถึง ที่ป้องกันอันตรายได้ ผู้นั้นจะต้องมีหลักถึง 5 ประการ

1. การศึกษา เกิดเป็นคนต้องศึกษาหาความรู้อยู่ร่ำไป ดังคำกล่อนว่า…

คนจะดีนั้นต้องฝึกและศึกษา
กายวาจาต้องอบรมบ่มนิสัย
ต้องฝึกจิตให้แน่นหนักเป็นหลักชัย
ชนะภัยสารพัดสวัสดี

2. ต้องมีการงาน การงานคือ หน้าที่ที่ต้องทำ และรับผิดชอบ เพื่อความเจริญของชาติบ้านเมือง ดังคำกลอนว่า…

เงินงานการศึกษาควรหาก่อน
อย่ารีบร้อนเรียนรักจักเสียผล
ถ้าขาดงานก็ขาดเงินพลันอับจน
เกิดเป็นคนต้องทำงานจึงมีเงิน


3. การครองชีวิตที่ดี ต้องมี 4 ค.

3.1 ครองตน - ต้องมีความรู้ - ต้องขยันศึกษาหาความรู้ให้มาก " ต้องเรียนให้รู้ดีแต่อย่าเรียนให้รู้มาก" โบราณว่า…

มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน
จะตกฐานถิ่นใดไม่ขาดแคลน
ถึงยากแค้นก็พอยังประทังตน…

หรือว่า…

ถ้าไม่เรียน ก็ไม่รู้
ถ้าไม่ดู ก็ไม่เห็น
ถ้าไม่ทำ ก็ไม่เป็น
ถ้าไม่เย็น ก็เป็นภัย

3.2 ครองคน… จะครองจิตใจคนได้มันต้อง

(1) เสียสละโอบอ้อมอารี
(2) วจีไพเราะ
(3) สงเคราะห์ชุมชน
(4) วางตนเสมอต้นเสมอปลาย

3.3 ครองรัก… จะครองรักสลักใจ ไปเนิ่นนานต้องมี 6 ย.

(1) ยิ้มแย้ม
(2) ยกย่อง
(3) ยืนหยัด
(4) ยืดหยุ่น
(5) เยือกเย็น
(6) ยินยอม (รู้จักยอมแพ้ เสียบ้างแล้วก็จะชนะใจ)

3.4 ครองเรือน… จะครองเรือนให้จีรัง

(1) ขยันหา - ขยันทำการงาน
(2) รักษาดี - รู้จักประหยัด
(3) มีกัลยาณมิตร - คบคนดี
(4) เลี้ยงชีวิตชอบ - อย่าฟุ่มเฟือยเกินไปอย่าฝืดเคืองเกินไป

4. การประพฤติตน (การปฏิบัติตน)
ชีวิตที่ดีงาม ต้องตั้งตนไว้ชอบ ในทางที่ถูกที่ควร ขยันประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน เป็นคน กตัญญู เลิกละอบายมุข ดังคำกลอนว่า…

เมาเพศ หมดราคา
เมาสุรา หมดสำคัญ
เมาพนัน หมดตัว
เมาเพื่อนชั่ว หมดดี

5. การทำตนให้เป็นอิสระ
การดำเนินชีวิตอยู่ในโลก ต้องไม่ติดโลกธรรม คือ มีอะไรให้เป็น เป็นอะไรเป็นให้เป็น ได้
อะไรได้ให้เป็น แล้วชีวิตจะไม่เป็นทุกข์ ต้องรู้จักโลกธรรมโดยถ่องแท้ด้วยว่า….

มีลาภ - เสื่อมลาภ
มียศ - เสื่อมยศ
มีสรรเสริญ - มีนินทา
มีสุข - มีทุกข์

ต้องนึกอยู่เสมอว่า…

วันนี้รุ่ง พรุ่งนี้ร่วง ดวงไม่แน่
วันนี้แย่ พรุ่งนี้ยัง กลับดังได้
วันนี้ดัง พรุ่งนี้ดับ กลับเปลี่ยนไป
โปรดจำไว้ ทุกชีวิต อนิจจัง…


ชีวิตจะเป็นอิสระได้จะต้องไม่ยึดติด ไม่ฝืนโลก แต่ฝืนใจ..เมื่อประสบกับทุกสิ่งทั้งดี และร้าย ต้องทำใจให้นิ่ง…ผู้นิ่งเป็นผู้ชนะ ผู้ละเป็นผู้บรรลุ ไม่นิ่งก็ไม่ชนะ ไม่ละก็ไม่บรรลุ..และตรงนี้ก็มีคำกลอนสอนใจไว้น่าฟังว่า…

อันสุขทุกข์ อยู่ที่ใจ มิใช่หรือ
ถ้าใจถือ ก็เป็นทุกข์ ไม่สุขใส
ถ้าไม่ถือ ก็เป็นสุข ไม่ทุกข์ใจ
เราอยากได้ ความสุข หรือทุกข์กัน.

ดังนั้น คนจะมีค่า มีราคา เป็นเกียรติยศ บริวาร และอิสริยศได้ ก็ต้องดำเนินชีวิตดังกล่าวข้างต้นมาโดยลำดับ และจะต้องทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ดังคำพูดว่า…

หน้าที่คือ ชีวิต
แม้น้อยนิดควรรักษา
หน้าที่นั้นสำคัญกว่าหน้าตา
หน้าที่พาชีวิตรอดและปลอดภัย


อีกบทหนึ่งว่า..

หน้าที่ดี ก็มีหน้า ชูราศรี
หน้าตาดี แต่ขี้เกียจ คนเหยียดหยาม
หน้าที่นั้น สำคัญกว่า คนหน้างาม
หน้าตาดี หน้าที่ทราม ไม่งามเลย


อีกบทหนึ่งว่า…

หน้าสวยสม คมสัน หมั่นสอดส่อง
หน้าที่สอง ต้องรักษา คือหน้าที่
หน้าทั้งสอง ต้องรักษา อย่าราคี
สองหน้านี้ ต้องรักษา อย่ารู้คลาย


ดังนั้น คนทุกคน…" ต้องรักษาหน้าที่ให้ดีกว่ารักษาที่หน้า "

ค่าของคน จะเกิดความสำเร็จได้ดังใจปอง จะต้องปฏิบัติ ดังนี้.

1. พอใจในหน้าที่
2. ทำดีไม่ย่อท้อ
3. เอาใจใส่จดจ่อ
4. พิจารณาความพอดี

แสดงธรรมโดย ดร.พระมหาไพเราะ ฐิตสีโล
[บูชาธรรมโดย อ.ธเนศ อุ่นศิริ กรรมการบริหารพุทธธรรมสภา สภาผู้แทนราษฎร)


โดย : nuster  




วิถีแห่งปัญญา

เข้าสู่บทนำ ความเป็นจริงของวิชาโหราศาสตร์ article
พระคาถาชินบัญชร article
คาถาประกาศชุมนุมเทวดา article
การบูชาเทวดานพเคราะห์ article
วิธีติดตั้งโปรแกรม Astrolog32
ชีวิตโหรเก่าที่ผมรู้จัก
บุตรสุดที่รัก
ทนายโหราศาสตร์
นามนี้ ดีไฉน
ดาวแฝงแสง อ.หมอเถา (วัลย์)
พระเคราะห์ถ่ายเรือน อ.หมอเถา (วัลย์)
ยามอัฏฐกาล อ.หมอเถา (วัลย์)
ดวงชาวเกาะ อ.หมอเถา (วัลย์)
ดาวสองชั้น อ.หมอเถา (วัลย์)
ดาวลอย อ.หมอเถา (วัลย์)
อ่านดาว อ.หมอเถา (วัลย์)
ดวงพระ อ.หมอเถา (วัลย์)
ฤกษ์งามยามดี อ.หมอเถา (วัลย์)
ดาวบุพกรรม อ.หมอเถา (วัลย์)
รถแคมเพอร์แวนของลุงแว่น
แบบฟอร์มดวงฤกษ์พิธีมงคลต่างๆ
เรื่องเล่าพระฤาษี article
พิธีบายศรีสู่ขวัญ article
พระฤาษีกับวิชาไสยศาสตร์ article
Tip การจัดโต๊ะหมู่บูชาพระ article
ดูดวงโหราศาสตร์กับลุงแว่น article
ว่าด้วย....เรื่องของทาน article
ว่าด้วย....เรื่องของศีล article
ดวงจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ article
คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) article
พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด พร้อมคาถาบูชา article
วิธีบูชาพระราหู article
คึกคักเป็นพิเศษไหว้'ราหู'หวังหนีราศีซวย article
ตาทิพย์ การฝึกกสิณ 10 article
กายทิพย์ article
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง 9 องค์ พร้อมคาถาบูชา article
คาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก article
สัมผัสที่ 6 และโทรจิต article
จุดคราสในดวงชะตา อ.หมอเถา (วัลย์) article
ทักษาสมเด็จ อ.หมอเถา (วัลย์) article
ลัคเน อ.หมอเถา (วัลย์) article
พินทุบาทว์ อ.หมอเถา (วัลย์) article
ทักษาประสมเรือน อ.หมอเถา (วัลย์) article
จับโจร อ.หมอเถา (วัลย์) article
ห้ามฤกษ์ อ.หมอเถา (วัลย์) article
ดาวคู่มิตร-คู่ธาตุ อ.หมอเถา (วัลย์) article
ยามกาลชะตา อ.หมอเถา (วัลย์) article
ตั้งชื่อเด็ก อ.หมอเถา (วัลย์) article
เรียนโหราศาสตร์ อ.หมอเถา(วัลย์) article
บุพพกรรมแห่งดาว article
กฎแห่งกรรม อ.หมอเถา(วัลย์) article
โหราศาสตร์นอกคอก แต่ไม่นอกครู "บุษบามีคู่" อ.หมอเถา article
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช article
พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.