Welcome to
ห้องโหรแว่นทิพย์
ศาสตร์แห่งปัญญาเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

รศ.น.พ.กริช โพธิสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาศัลย-ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ รศ. น.พ. อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลปะ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศีรษะ คอ เต้านม แถลงถึงความสำเร็จในการพิสูจน์การกระจายของมะเร็งเต้านมโดยไม่เลาะต่อมน้ำเหลือง สำเร็จเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งที่ 2 ของเอเชียรองจากญี่ปุ่น
ทั้งนี้ รศ.น.พ.กริชกล่าวว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ เนื่องจากคลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม ซึ่งกว่าจะถึงเวลานั้นก้อนเนื้อที่พบก็จะมีขนาดใหญ่มากแล้ว ซึ่งวิธีการรักษามะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดคือแพทย์ผ่าตัดเต้านมพร้อมกับ เลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกด้วยทุกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อพิสูจน์ การกระจายของเซลล์มะเร็งที่ไปยังต่อมน้ำเหลือง
แต่วิธีการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนจากการเลาะต่อมน้ำเหลืองตามมา โดยเฉพาะ อาการที่พบมากคือแขนบวม ซึ่งพบประมาณ 10-15% และเมื่อแขนบวมแล้ว ไม่สามารถรักษาให้หายบวมได้ อีกทั้งแพทย์ไม่สามารถทราบได้ว่ารายใดจะมีอาการแขนบวม
หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีวิธีการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมด้วย เครื่องแมมโมแกรม แม้ว่าจะคลำไม่พบก้อนเนื้อเลย เพื่อดูการกระจายของโรค หากกระจายไปแล้วก็จำเป็นต้องตัดต่อมน้ำเหลืองและเต้านมด้วย หากพบว่าเชื้อโรคไม่กระจาย
วิธีการรักษาต่อไปคือการตรวจส่วนที่เป็นมะเร็งพร้อมกับเนื้อเต้านมที่ดีออกมา และตามด้วยการฉายแสง ซึ่งผลการรักษาได้ผลดีกว่าผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้า และผลที่ดีที่สุดคือผู้ป่วยจะมีเต้านมที่สวยได้เหมือนเดิม โดยคณะแพทย์ของศิริราช ได้เริ่มใช้วิธีการดังกล่าวรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จนถึงเดือน ก.ค. 2545 มีผู้ป่วย 215 ราย ที่รักษาด้วยการเลาะต่อมน้ำเหลืองควบคู่ไปด้วย
พบว่าการตรวจสารไอโซซัลแฟน บลู กับเลาะต่อมน้ำเหลืองได้ผลตรงกันว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่ถึง 96% ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทำให้ทีมศัลยแพทย์ศิริราชใช้วิธีการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลกับผู้ป่วย ของโรงพยาบาลมาจนถึงปัจจุบัน รักษาผู้ป่วยไปแล้ว 207 คน ในจำนวนนี้ 80% มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วยการผ่าตัดโดยที่ไม่ต้องเลาะ ต่อมน้ำเหลือง นับว่าเป็นความสำเร็จครั้งแรกของประเทศไทยที่รักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการดังกล่าว และถือว่าเป็นที่ 2 ในเอเชียรองจากประเทศญี่ปุ่น
รศ.น.พ.กริชกล่าวต่อว่า จากการสำรวจของสถานวิทยามะเร็ง ของศิริราชพบว่ามีผู้เป็นมะเร็งเต้านมในปี 2546 จำนวน 545 ราย คิดเป็น 20% ของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในผู้หญิง และยังจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ.
ข้อมูลจาก

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ